ละหุ่ง (Castor bean) | |||||
ละหุ่ง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า castor bean ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Ricinus communis เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กทรงพุ่มเตี้ย พบมีปลูกมากในประเทศบราซิล และบริเวณประเทศในแถบเส้นศูนย์สูตรเช่นประเทศไทยขนาดความสูงของต้นละหุ่งประมาณ 3-5 เมตร มีใบเดี่ยวขนาดใหญ่คล้ายใบปาล์มขอบใบหยัก ก้านยาว ผลมีหนามโดยรอบมี 3 พู รวม 3 เมล็ด เมล็ดแบนรี ด้านนอกโค้งด้านในแบน เมล็ดมีสีชมพูเป็นลายพล้อยปนสีเทาเมล็ดที่แก่จัดจะนำ ไปใช้ประโยชน์มากมายทางด้านอุตสาหกรรม ความเป็นพิษ : ความเป็นพิษของละหุ่งเกิดจาก ไรซิน (ricin) ซึ่งเป็นสารที่มีพิษสูงมากชนิดหนึ่งในบรรดาอาณาจักรของพืช เนื้อเยื่อในของเมล็ดละหุ่งประกอบด้วยไกลโคโปรตีน (glycoprotein) เป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผิวหนังอักเสบ เยื่อจมูกอักเสบ หอบหืดในหมู่คนงาน นอกจากนี้ส่วนของใบ ลำต้น เมล็ดละหุ่งประกอบด้วย โปแตสเซียม ไนเตรท (Potassium nitrate) และกรดไฮโดรไซยานิค ( Hydrocyanic acid) ขนาดของพิษ ricin ที่ทำให้คนถึงแก่ชีวิตประมาณ 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือประมาณละหุ่ง 8 เมล็ด การกินเมล็ดละหุ่งโดยการเคี้ยวและกลืนเข้าไปจะเป็นอันตรายมากโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในเด็ก ซึ่งมีโอกาสที่จะแพ้สารพิษได้ง่าย แม้จะเป็นเพียงแค่เคี้ยวและกลืนเข้าไปเพียง 1 เมล็ดเท่านั้น ก็อาจ เสียชีวิตได้ ลักษณะอาการ : จากการกลืนกิน การแพ้พิษไรซิน (ricin) ตามปรกติจะใช้เวลานานหลายชั่วโมงจึงแสดงอาการ ปฏิกิริยาการแพ้พิษในรายที่มีความไวอาจเกิดขึ้นทันทีหลังจากได้รับสารพิษ อาการเบื้องต้นที่พบบ่อยคืออาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งเกิดแผล พุ พอง ในระบบทางเดินหายใจ ต่อมามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง และปวดท้องจนตัวงอ(colicky abdominal pain) ในรายที่มีอาการรุนแรงกระเพาะอาหารจะอักเสบและมีเลือดไหลออก ในกระเพาะอาหาร ซึ่งพิษของไรซินจะมีผลต่ออวัยวะต่าง ๆ เช่น ไต ตับ และตับอ่อน เขียนและเรียบเรียงโดย: | |||||