HOME vwthailink ที่มาของชมรมเป็นหนึ่งเดียวที่ vwthai

ประวัติและความเป็นมารถโฟร์คเต่า

Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!
" โฟล์คเต่า " แม้รูปแบบของรถประชาชน จากแนวคิดของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ กับดร. เฟอร์ดินันท์ ปอร์เช่ จะคงรูปแบบตัวถังเป็นเต่า จนได้รับขนานนามเป็นเต่าอมตะ นับจาากปีเริ่มต้นผลิตจวบจนปัจจุบันนี้ที่ยังคงผลิตต่ออยู่ในแม็กซิโกและบราซิล แต่ถึงจะเป็นเต่าก็มีความแตกต่าง ต่อไปนี้เป็นวิธีการสังเกตความแตกต่างที่ผมสรุปจากข้อเขียนอมตะชิ้นหนึ่ง ของผู้รักเต่าคนหนึ่งนาม วิรุฬห์ ไพทีสกุล ปรมาจารย์ทางด้านโฟล์คสวาเก้นเต่าอมตะคนหนึ่ง
กันชน กันชนของรถเต่านั้นแข็งแรงและทนทานจริงๆ ทั้งเหล็กและการชุบโครเมี่ยม ถ้าได้รับการดูแลรักษาพอควร ก็จะอยู่กับรถได้ตลอดไป กันชนเต่ารุ่นเก่าจะมีขนาดเล็กมนยาาวตลอดครอบคลุมความกว้างของรถเอาไว้ได้ทั้งหน้า และหลัง มีหงอนเล็กที่แข็งแรงอยู่หนึ่งคู่ ถ้าเป็นรุ่นพิเศษก็จะะมีเหล็กกลมเสริมสูงขึ้นมาอีกชั้นด้านบนมีขาช่วยพยุงเจาะทะลุเข้าไปในบังโคลนทั้งหน้า และหลังที่เรียก " กันชน 2 ชั้น " หรือ " กันชนรั้ว " นั่นเอง กันชนดังกล่าวจะมีมาถึงรุ่นปี 1967 ถึงปี 1971 บริษัทประชายนต์ จำกัด ได้นำเข้ารถเต่ารุ่นประหยัด 1200 ซีซี จะใช้กันชนเล็กมนเพียงชั้นเดียว ปี 1968 กันชนได้รับการออกแบบให้ใหญ่เป็นเหลี่ยมอยู่สูงกว่ารุ่นเก่าเรียกว่า"กันชนใหญ่" เรื่อยมาจนถึงปี 1975 ได้นำสัญญาณไฟเลี้ยวไปติดตั้งไว้ที่กันชนแทนบนบังโคลนหน้า รุ่นสุดท้ายนี้มีรถน้อยคัน ส่วนใหญ่เป็นรถนำเข้ามาเอง เพราะบริษัทประชายนต์ ได้เลิกประกอบรุ่นเต่าตั้งแต่ปี 1974
ไฟหน้า ดวงตาเป็นหน้าต่างของดวงใจฉันใด ไฟหน้าก็เปรียบเสมือนดวงตาของรถเต่าฉันนั้น รุ่นดั้งเดิมจนถึงปี 1967 จะมีลักษณะกลมรีเล็กน้อย มองจากด้านข้างจะเห็นลาดเอียงลงไปตามบังโคลน รุ่นนี้เรียกรุ่น "ตาเอียง" "ตานอน" และ "ตาหวาน" ภายในจะมีหลอดกลมพร้อมไฟหรี่เล็กน้อยอยู่ภายใน ปี 1965 เป็นต้นไป ภายในจะมีหลอดซีลบีม ซึ่งให้แสงสว่างที่ดีกว่าถึงแม้จะเป็นระบบ 6 โวล์ตอยู่ ส่วนไฟหรี่จะออกมาอยู่หน้าสุดมองเห็นได้ชัดเจน ปลายปี 1967 มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไฟหน้าใหม่ คือ มีลักษณะกลมการติดตั้งอยู่ในแนวดิ่ง รุ่นนี้เรียกว่า "ตาตั้ง" ระบบไฟเปลี่ยนเป็น 12 โวล์ตแล้ว สำหรับรุ่น "ตาหวาน" เป็นต้นมาจนถึงรุ่น "ตาตั้ง" แรกต้นปี 1967 นั้น ใต้ไฟหน้าลงมาจะเห็นช่องกลมรีเป็นโครเมี่ยมเจาะอยู่ที่บังโคลน เพื่อให้เสียงแตรผ่านออกมาได้ ช่องนี้จะหายไปเมื่อเป็นรุ่น 1968 เป็นต้นไป แต่ถ้าเป็นรุ่น 1200 ซีซี ประหยัดก็จะมีช่องดังกล่าวแล้วคงอยู่ต่อไปแม้จะเป็นรุ่นเกิน 1968 ขึ้นไป
ไฟท้าย
ในบ้านเรารุ่นเก่าจะเป็นไฟเล็กกลม ด้านบนของฐานเหล็กจะมีช่องเจาะใส่เลนส์เป็นรูปหัวใจสำหรับไฟเบรคจนถึงปี 1953
ปี 1954 - 1962 ดวงไฟจะใหญ่ขึ้นอีกหน่อยเป็นรูปกลมรี เป็นกระจกสะท้อนแสงสีแดงสดใส ฐานเล็กเต็ม ไม่มีช่องเจาะ
ปี 1963 เปลี่ยนขนาดใหญ่ขึ้นเป็นรูปกลมรียาวทำด้วยพลาสติกแบ่งเป็น 3 ช่องบนเหลืองไฟเลี้ยว กลางแดง ไฟเบรค ล่างเป็นแถบสะท้อนแสง
ปี 1965 - 1966 รูปร่างคงเดิมแต่เป็นสีแดงหมดทั้งดวง
ปี 1968 - 1972 ขยายขนาดใหญ่อีกด้านล่างตรงเรียกรุ่น "เตารีด"
ปี 1973 เปลี่ยนเป็นรุ่นกลมใหญ่มากขึ้นเรียกรุ่น "ไฟท้ายกลม" เป็นรุ่น "Superstar" และรุ่นธรรมดาของปี 1973 และ 1974 ไฟเลี้ยว รถเต่ารุ่นเก่าจนถึงปี 1956 จะมีก้านยกเลี้ยวกระดกได้เรียก "Semaphore" อยู่ที่เสากลางของรถ
ปี 1957 - 1963 ก็เปลี่ยนเป็นไฟกระพริบขนาดเล็กอยู่บังโคลนหน้า
ปี 1964 - 1974 ขนาดไฟกระพริบขนาดใหญ่กว้างขึ้น
ปี 1975 สัญญาณไฟกระพริบย้ายไปอยู่ที่กันชนหน้าแทนที่อยู่บนบังโคลน
ฝากระโปรงหน้า ฝากระโปรงหน้ารถเต่าเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่มีใครเหมือน และไม่เหมือนใคร ให้อารมณ์ และความรู้สึกยากที่จะอธิบาย รุ่นเก่าถึง 1967 จะยาวลาดแหลมรี ตรงกลางจะมีคิ้วโครเมียมใหญ่ มาสุดเหนือมือเปิด จะมีป้ายสัญลักษณ์ "Wolfburg" หมาป่ายืนอยู่บนกำแพงลงยา ลวดลายละเอียดชัดเจนหลายสี
ปี 1959 - 1962 ป้ายสัญลักษณ์ "Wolfburg" จะเป็นรูปประยุกต์เป็นลายเส้น และป้ายนี้จะหายไปในปี 1963 คิ้วโครเมี่ยมกลางจะยาวลงมาจนมือเปิดกระโปรงหน้า
ปี 1967 คิ้วโครเมี่ยมกลางมีขนาดเล็กลง
ปี 1968 มีการเปลี่ยนแปลง โดยขนาดสั้นขึ้นมา และป้ายด้านล่างตรงมือเปิดมีปุ่มสีดำกดปลดล็อกจังหวะที่ 2 ขอบด้านบนเจาะช่องให้ลมผ่านเข้าไปในห้องโดยสารได้
ปี 1971 ฝากระโปรงหน้าโค้งนูนออกมาเรียกรุ่น "หน้าโหนกกระจกยังไม่โค้ง" หรือรุ่น 1302 เปลี่ยนระบบกันสะเทือนหน้าจาก Torsion bar เป็นระบบคอยล์สปริง Mac-Pherson Strut
ปี 1973 ฝากระโปรงหน้าโค้งโหนกนูนสั้นกว่ารุ่น 1302 เพื่อให้รับกับกระจกหน้าโค้งกว้างเรียกรุ่น "หน้าโหนกกระจกโค้ง" หรือรุ่น 1303 Superstar รุ่น 1302 หรือ 1303 ถ้ามีอักษร S ตามหลังจะเป็นเครื่อง 1600 ซีซี ล้อหน้าเป็น disc break
ฝากระโปรงท้าย
คำพังเพยที่ว่าดูช้างให้ดูหางถ้าจะดูเต่าให้ดูที่บั้นท้าย ไปกันได้ดี เพราะฝากระโปรงท้ายมีการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างชัดเจนไปตามรุ่นปีต่างๆ แลไฟส่องป้ายทะเบียนก็ออกแบบให้รับกับฝากระโปรงท้ายด้วย ตั้งแต่รุ่นเก่าจนถึงปี 1957 ฝาท้ายจะเป็นเหล็กปั๊มนูน เป็นรูปตัว W ไฟส่อง ป้ายเป็นกระเปาะคล้ายจมูกมีสันอยู่ด้านบนด้วย
ปี 1958 - 1964 ฝากระโปรงท้ายยังคงแบน เหล็กปั้มนูนเหลือแต่สันดั้งจมูกไม่เชื่อมกับสันสองข้าง ไฟส่องป้ายยังเป็นรูปกระเปาะคล้ายจมูกกลมมน ไม่มีสันด้านบนแล้วมือจับเป็นเขาควาย เปิดปิดใช้วิธีบิดหมุนซ้ายขวา
ปี 1965 - 1966 เหล็กปั๊มนูนยังคงมีคล้ายสันดั้งจมูก ไฟส่องป้ายขยายบานใหญ่กว้างออก ที่เปิดปิดฝาเป็นปุ่มกด มีตะขอให้นิ้วเกี่ยวได้ รุ่นที่กล่าวมาทั้งหมดฝากระโปรงท้ายยังแบนราบ และแหลมยาวจึงเรียกว่ารุ่น "ตูดหางแมลงสาบ"
ปี 1967 สันดั้งจมูกหายไป ฝากระโปรงท้ายสั้นขึ้นและโป่งออก ด้านล่างป้านตัดไม่แหลมรีเหมือนรุ่นเก่า
ปี 1971 ทุกอย่างเหมือนเดิม แต่เจาะรูระบายอากาศเป็นช่องยาวๆ 2 ช่อง
ปี 1972 เป็นต้นไปคล้ายรุ่นปีที่ผ่านมา แต่ช่องระบายอากาศเป็น 4 ช่อง
มือเปิดปิดประตู
รุ่นเก่าจนถึงรุ่นปี 1959 ใช้มือเปิดชนิดง้างดึงออก
ปี 1960 - 1965 เปลี่ยนเป็นมือเปิดติดตายแต่กดปุ่มเปิด ปุ่มเปิดเป็นรูปสี่เหลี่ยม
ปี 1966 - 1967 ปุ่มเปิดเป็นปุ่มกลม
ปี 1968 รุ่นสุดท้ายเป็นแบบไก่บินซ่อนอยู่ด้านในของมือจับ แทนปุ่มกด
ที่เติมน้ำมันเบนซิน
รุ่นเก่ามาจนถึงปี 1967 ที่เติมน้ำมันจะอยู่ใต้กระโปรงหน้า ต้องเปิดฝากระโปรงหน้าขึ้นก่อน เวลาเปิดแล้วจะต้องใช้ขาค้ำ จนถึง 1961 พอปี 1962 เป็นต้นไปใส่สปริงเข้าไปเพื่อไปช่วยให้เปิดง่ายเบาแรง และไม่ต้องใช้ขาค้ำอีก
ปี 1968 ย้ายฝาเติมน้ำมันไปอยู่เหนือบังโคลนหน้าด้านขวามีแผ่นเหล็กปิดไว้ มีปุ่มดึงปลดล็อกอยู่ภายใน บางรุ่นใช้ล็อกด้วยกุญแจคือรุ่น 1303
กระจกกันลมหน้า
ตั้งแต่รุ่นแรกๆ จนถึงปี 1957 ยังคงเป็นแผ่นเหล็กและแบน
ปี 1950 - 1964 ขยายใหญ่ขึ้นเล็กน้อย แต่ยังคงแบนอยู่ สังเกตจากใบปัดน้ำฝนเป็นแผ่นแข็งตรง
ปี 1965 - 1972 ขยายใหญ่ขึ้นอีกตรงกลางโค้งเล็กน้อย (ต้องมองจากด้านข้าง) สังเกตจากใบปัดน้ำฝนเป็นยางยืดหยุ่นได้
ปี 1973 กระจกหน้าขยายกว้าง และโค้งมากเป็นพิเศษเรียกว่ารุ่น "หน้ากระจกโค้ง Superstar 1303"
กระจกกันลมหลัง
รุ่นเริ่มผลิตกระจกกลมรีรูปไข่ตั้งผ่าตรงกลางเรียกว่า "จอไข่ผ่า" (Split Window)
ปี 1952 - 1957 เป็นกระจกกลมรีรูปไข่เรียก "จอแคบ" หรือ "จอไข่" (Oval Window)
ปี 1958 - 1970 ขยายจอกว้างออกมาเรียกรุ่น "จอกว้าง"
ปี 1971 เป็นต้นไป ขยายด้านสูงขึ้นไปอีกเล็กน้อย
กระจกด้านข้างรถ รุ่นผลิตแรกๆ กระจกประตูเป็นแผ่นเดียว ONE PIECE WINDOW
ปี 1952 มีกระจกหูข้างหน้าเพื่อดักลมเข้าห้องโดยสาร สังเกตเสาหูข้างหน้า จะตั้งตรงกระจกหูข้างบานใหญ่ ตัวล็อกหูข้างต้องกดปุ่มปลดล็อกเวลาเปิดกระจกหูข้างหลังก็เล็กแคบปิดตาย
ปี 1963 กระจกหูข้างหลังจะมีบานพับเพื่อเปิดแง้มระบายอากาศได้
ปี 1965 กระจกบานประตูใหญ่ขึ้น กระจกหูข้างแคบลง เสากระจกข้างเอียงเล็กน้อย สังเกตได้ชัด ล็อกกระจกหูข้างไม่ต้องกดปุ่มเปิด กระจกหูข้างหลังกว้างขึ้นเปิดแง้มได้
ปี 1971 กระจกหูข้างหลังเปิดตาย เพราะมีเสี้ยวพระจันทร์ระบายอากาศออกได้ ถ้าเป็นรุ่น 1200 ประหยัดจะเป็นเหล็กปั๊มเสี้ยวพระจันทร์แต่ไม่เจาะรู
กระทะล้อและฝาครอบล้อ
รุ่นแรกๆ จนถึง 1965 (เครื่อง 1200 รุ่นสุดท้าย) กระทะล้อไม่มีรู มีเหล็กสปริงสำหรับยึดฝาครอบล้อที่กลมนูน นอตยึดกระทะล้อกับดุมล้อมี 5 ตัว
ปี 1966 (เครื่อง 1300 รุ่นแรก) กระทะล้อมีรูยาวมีฝาครอบล้อแบน
ปี 1967 เครื่อง 1500 ล้อหน้า DISC BREAK นอตยึดมี 4 รู ฝาครอบแบน
ปี 1968 เป็นต้นไป กระทะล้อมีรูกลมค่อนข้างรี มีนอตยึดกระทะล้อ 4 ตัว ระยะกึ่งกลางระหว่างรูนอตล้อวัดได้ 130 มม. ฝาครอบล้อแบน

อภินันทนาการจาก คุณ กัลยานี