This counter was started on Nov.18,1999
สมนึก ลิมกุล
somnuklimkool@hotmail.com

มนุษย์ทุกชาติ ทุกภาษา ต่างก็เป็นนักประดิษฐ์อยู่แล้ว โดยไม่รู้ตัว . . . . อยากจะให้พวกเรา ได้รู้ถึงความเป็นไปได้ กับน่าจะเป็น ในสิ่งประดิษฐ์ ดังที่จะสมมุติ พอเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ . . . . . ๑. เริ่มจากธรรมชาติดั้งเดิม ที่ไม่เคยมีใครบันทึกไว้ก่อน ว่าใครเป็นต้นคิด แต่ก็ใช้กันมาตั้งแต่บรรพชน มาจนปัจจุบัน เช่นเอาไม้มาเหลาให้แหลม เพื่อจิ้มอาหารใส่ปากได้โดยไม่ต้องใช้มือหยิบ ขั้นนี้เป็นระดับภูมิปัญญาชาวบ้านโดยทั่วไป ใครทำขายก็ได้ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่มีใครหวงห้าม เดี๋ยวนี้ยังเห็นทำขายเป็นไม้เสียบลูกชิ้นปิ้ง ไม้เสียบหมูสะเต๊ะเป็นต้น. . . . . . ๒. ต่อมา ก็มีคนทำเป็นโลหะปลายแหลมมีด้ามถือมาใช้แทนได้ดี จึงนำไปขอจดสิทธิบัตรได้ เป็นสิ่งประดิษฐ์ มีข้อถือสิทธิ์ว่าสิ่งประดิษฐ์ เป็นโลหะ ที่มีด้ามถือ มีปลายแหลมที่สามารถจิ้มอาหารใส่ปากได้ นี้ก็เป็นระดับค้นพบที่ว่าเอาโลหะมาทำได้ . . . . . . . . ๓. ต่อมาก็มีการพัฒนาให้ มีสองง่าม ทำให้จิ้มอาหารมั่นคงดียิ่งขึ้น จึงนำไปขอจดสิทธิบัตรได้ว่า ได้พัฒนามาจากผู้ค้นพบ ที่มีสิทธิบัตรอยู่ก่อนแล้ว (ต้องได้รับอนุญาตการถือสิทธิ์จากเจ้าของสิทธิบัตรเดิมเป็นลายลักษณ์อักษรเรียบร้อยแล้ว) ส่วนการที่จะได้มาซึ่งการอนุญาตนี้ย่อมต้องมีข้อตกลงเรื่องผลประโยชน์กันเป็นธรรมดาของธุระกิจที่ หลีกเลี่ยงไม่ได้ . . . . . . . ๔. ต่อมามีผู้คิดพัฒนาเพิ่มเติมให้มีเป็น ๓ ง่าม ๔ ง่าม ในความมุ่งหมายที่นอกจากใช้จิ้มอาหารแล้ว ยังจะใช้ตักอาหารใส่ปากได้อีกด้วย จึงนำไปขอจดสิทธิบัตรต่อยอดจากผู้ถือสิทธิบัตรเดิมได้อีก เป็นการจดสิทธิบัตรที่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ที่จดสิทธิไว้ในข้อ ๓ และลามไปถึงผู้จดข้อ ๒ อีกด้วย (ถ้ายังไม่หมดอายุการคุ้มครอง) แน่ละจะต้องตกลงกับทั้ง ๒ เจ้าของให้เรียบร้อยเสียก่อน . . . . . . ในที่สุดจึงกลายมาเป็นซ่อมที่ใช้กันในปัจจุบัน ที่มีข้อถือสิทธิ์ว่า เป็นโลหะที่มีด้ามถือ มีปลายแหลม มากกว่า ๒ ง่าม สำหรับจิ้มอาหารและตักอาการอาหารใส่ปากได้ . . . . . . ๕. กว่าจะถึงวันนี้ ใครๆก็ทำออกขายได้โดยไม่ถือว่าละเมิดสิทธิ ทรัพย์สินทางบัญญามาตั้งนานแล้ว . . . . เพราะเหตุว่า . . . . อะไรเอ่ย. . . . . . ๑. เจ้าของสิทธิบัตรเสียชีวิตไปนานแล้ว . . . . . ๒. เจ้าของสิทธิบัตรยกให้เป็นสาธารณะ . . . . . ๓. ละเมิดสิทธิ์กันจนเป็นเรื่องธรรมดา . . . . . . ๔. หมดอายุในการคุ้มครองสิทธิ์ตามกฏหมาย . . . . . เพื่อนที่รัก ก่อนจะประดิษฐ์อะไรมาตั้งโรงงานผลิตให้เป็นล่ำเป็นสันในปัจจุบัน ให้หาทางค้นสิทธิบัตรเก่าๆ ดูก่อนว่า มีใครค้นพบไว้ก่อนหรือเปล่า ระยะเมื่อเขาได้รับสิทธิบัตรมานานมากหรือยัง ถ้ายังไม่นานนัก แต่เราเห็นช่อง ทำอุตสาหกรรมได้มากมายมหาสาร ก็ลองติดต่อเจ้าของเขาดูก่อน เพราะอยู่ระหว่างการคุมครองสิทธิตามกฏหมาย ถ้าเป็นของดีมีประโยชน์ ส่วนมากเขาจะไม่หยุดไว้เพียงเท่าที่จดไว้เท่านนั้น เขาจะพัฒนาไปไกลกว่าที่เราเห็น แต่ยังไม่นำไปจดต่อยอดอีก จนกว่าอายุการคุ้มครองใกล้จะครบจึงจะจดต่อยอดของตนเองไว้ เพื่อจะได้รับความคุ้มครองต่อไปอีกตลอดช่วง ตามกฏหมาย ถ้าเกิดไปค้นพบว่าเขาจดสิทธบัตรไว้นานตั้งยี่สิบกว่าปีที่แล้ว ไม่มีการจดเพิ่มเติมต่อยอดไว้ (สืบให้แน่นอนเสียก่อน) ก็ถือว่าเป็นโชคของคุณ เอามาปัดฝุ่นปรับปรุงใหม่ในกรณีย์ที่ตลาดยังพอรองรับได้ อนาคตสดใส ก็ขอจดสิทธิบัตรต่อยอด โดยอ้างสิทธิบัตรเดิมที่ขาดอายุนั้นๆ มาขอจดต่อยอด เป็นอย่างนี้แล้ว ท่านก็ตั้งหน้าตั้งตาสร้างโรงงานผลิตให้ทันขายก็แล้วกัน ถ้าการตลาดไม่ค่อยจะมั่นใจ ก็ลองปรึกษา บริษัท ไทยส่งเสริมการประดิษฐ์ จำกัด ดูซิ เป็นบริษัทของนักประดิษฐ์ เพื่อนักประดิษฐ์ ในอุปถัมภ์ของ สมาคมการประดิษฐ์ไทยของเราเอง / สมนึก ลิมกุล / 13 กุมภาพันธ์ 2543 /


การเข้าเป็นสมาชิกสมาคมการประดิษฐ์ไทย
ค่าลงทะเบียนฉะเพาะสมาชิกใหม่ 20.-
ค่าบำรุงสมาคมปีละ 100.- หรือตลอดชีพ 1,000 บาท
นักเรียน นักศีกษามีสิทธิ์เป็นสมาชิกสมทบ ปีละ 50 บาทไปจนพ้นสภาพนักศึกษา
สนใจเป็นสมาชิกสมาคมการประดิษฐ์ไทย ติดต่อสอบถาม โทร. + Fax. 940 5305
แบบฟอร์มใบสมัครเป็นสมาชิก
กรอกข้อความ ส่ง ทางไปรษณีย์ พร้อมธนานัติ ไปที่ สมาคมการประดิษฐ์ไทย
196 ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900


[บริการฟรีสำหรับเพื่อนสมาชิกสมาคมการประดิษฐ์ไทย]
ทุกคลิ๊กที่นี่ มีประโยชน์

[ อะไร ที่ท่านอยากจะถาม ]   -   [ ผมก็ตอบไปตาม เท่าที่รู้ ]
[ GuestBook by TheGuestBook.com ]

[ รายชื่อสมาชิกพร้อมสิ่งประดิษฐ์ที่พากภูมิใจ ]

Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!