ธรรมานุกรมธรรมโฆษณ์
ฉบับประมวลธรรม เล่มที่ ๒
คำปรารภของคณะธรรมทาน
ในนามแห่งธรรมทานมูลนิธิ
(ในการพิมพ์ครั้งแรก)
หนังสือธรรมานุกรม
ฉบับประมวลธรรมเล่ม ๒ นี้
คุณพินิจ รักทองหล่อ
ได้รวบรวมเก็บคำศัพท์ธรรมะ
และข้อความ ความหมาย
ของธรรมะนั้นๆ
จากหนังสือธรรมโฆษณ์
ของพุทธทาส จำนวน ๖๑ เล่ม
ตามสติปัญญา สามารถ
จะรวบรวมมาได้ นำมาจัดทำ
เป็นหมวดหมู่
เรียงตามลำดับ อักษรไทย
ทำนองเดียวกับ พจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
กำลังตรวจปร๊ฟ หรือ
พิสูจน์อักษร จากที่โรงพิมพ์
ส่งให้ตรวจอยู่
ยังไม่ทันเสร็จเรียบร้อย
สังขารร่างกาย
ได้แตกดับเสียก่อน พระภิกษุ
หลายท่าน ในสวนโมกข์
ได้ช่วยกันตรวจแทน
จนเสร็จเรียบร้อย
พิมพ์เป็นเล่ม ดังที่ท่าน
เห็นอยู่นี้
ธรรมทานมูลนิธิ ขอกราบ
ขอบพระคุณ ท่านเหล่านั้นไว้
ณ ที่นี้
คุณพินิจ รักทองหล่อ
เป็นผู้ดำเนินชีวิต
ตามทางธรรมะ
ทั้งระดับศีลธรรม และ
ระดับโลกุตตรธรรม
มาตลอดอายุขัย
เป็นผู้มีชีวิตดี ที่มีชีวิต
เกิดมาพบ พระพุทธศาสนา
อันเป็นศาสนา ส่องทางสว่าง
อย่างสูงสุด ของมวลชีวิต
แล้วยังเอา หลักธรรมะ
ของพระพุทธศาสนา
มาเป็นแนวทางชีวิตด้วย
ชีวิตจึงมี ความสงบ เยือกเย็น
มีสติปัญญา รู้เท่าทันโลก
มีชีวิตเหนือโลก
เมื่อโลกยุ่ง วุ่นวาย อย่างไร
ก็ไม่ยุ่งวุ่นวาย ตามกำลัง
สติปัญญา ของตน จะสามารถ
ทำได้ ทั้งไม่ทำ ความวุ่นวาย
เดือดร้อน แก่โลก มีสติปัญญา
เมตตา ช่วยโลกได้ด้วย
นี้เป็นธรรมดา
ของผู้ที่อาศัย โลกุตตรธรรม
เป็นแนวทาง ดำเนินชีวิต
นอกจากนี้ ยังเป็นผู้
ไม่ประมาท ในชีวิต รู้ว่า
ตนเอง สุขภาพ ไม่ค่อย
จะสมบูรณ์พร้อม ที่ขณะแห่ง
ความตาย จะมาถึงได้ ทุกขณะ
จึงได้ทำ พินัยกรรม
ไว้ก่อนตาย เพื่อให้ผู้รับ
พินัยกรรม ดำเนินการต่อไป
ให้ตามประสงค์ ในหลายข้อ
ของพินัยกรรมนั้น มี ข้อหนึ่ง
ที่ ระบุใน พินัยกรรม มอบให้
ธรรมทานมูลนิธิ
เป็นผู้ดำเนินการ จัดพิมพ์
หนังสือ ที่ทำ เสร็จแล้ว แทน (คือหนังสือธรรมานุกรม
ฉบับประมวลศัพท์ และ
หนังสือธรรมานุกรม
ฉบับประมวลธรรม เล่ม ๓
และเล่ม ๒
ที่ดำเนินการพิมพ์อยู่ขณะป่วยหนัก)
พร้อมกับมอบ ลิขสิทธิ์
หนังสือ ที่จัดทำไว้ ทั้งหมด
รวม ๔ เล่ม ให้แก่
ธรรมทานมูลนิธิ
โดยทำพินัยกรรม ระบุให้ใช้
เงินจำนวนหนึ่ง เป็นค่า
พิมพ์หนังสือ เล่มนี้
และเล่มอื่น ที่ค้างอยู่
ตั้งเป็นกองทุน ไว้ที่
ธรรมทานมูลนิธิ ชื่อทุนว่า "ทุน
พินิจ รักทองหล่อ"
ในจำนวนเงิน ๑ ล้านบาทเศษ (เศษคือ
เงินดอก จาก สมุดฝาก
ที่ยังมิได้นับรวม)
เพื่อใช้ดอกผล ในการจัดพิมพ์
หนังสือธรรมะ ที่
ธรรมทานมูลนิธิ พิจารณาว่า
ควรจัดพิมพ์ขึ้น
ธรรมทานมูลนิธิได้ ดำเนินการ
ให้เป็นไป ตามประสงค์แล้ว
และจะดำเนินการอีกต่อไป
คุณพินิจ รักทองหล่อ
จัดว่า เป็นศิษย์ของ
ท่านพุทธทาส ค่อนไปทาง
ระยะสมัยต้นๆ แห่งการมี
สวนโมกข์ในปัจจุบัน ปรากฏว่า
เลื่อมใส ในคำสอน
แนวดำเนินการของ สวนโมกข์
มองเห็นประโยชน์ ของสวนโมกข์
และประโยชน์ ของการอุทิศตน
เข้ามาอยู่ในสวนโมกข์
กับท่านพุทธทาส เช่นเดียวกับ
ศิษย์อื่นๆ ได้อยู่ช่วยงาน
มาตลอด โดยอยู่ใน เพศอุบาสก
ผู้อนาคาริก มีการเป็นอยู่
เรียบง่าย เป็นอยู่อย่างต่ำ
มุ่งกระทำอย่างสูง
ไม่คำนึงว่า จะได้รับการ
อุปสมบท เป็นภิกษุ
หรือไม่ก็ตาม ใช้ชีวิตทำงาน
กิจการของ สวนโมกข์ เสมอมา
มีความรู้ ทางช่างก่อสร้าง
จึงเป็นกำลังของสวนโมกข์
ในการก่อสร้าง ถาวรวัตถุ
หลายอย่าง อาทิ กุฎิสงฆ์
บ้านพักอุบาสิกา
เป็นผู้ทำอะไร ทำจริง จะศึกษา
ปฏิบัติธรรม
ก็ศึกษาปฏิบัติจริง
จึงมีชีวิตอยู่ใน "ร่มเงา"
แห่งสวนโมกข์ ด้วยดี มาตลอด
พร้อมกับช่วยแก้ปัญหา
สอนธรรมะ ให้แก่ผู้สนใจ
เข้าไปคบหา บั้นปลายชีวิต
ก็เป็นที่ปรากฏว่า ได้ทุ่มเท
กำลังกาย สติปัญญา
ช่วยพระศาสนา ช่วยสวนโมกข์
ไม่น้อย ลืมความเป็นพระ
เป็นฆราวาส ทั้งที่ เลิกชีวิต
ฆราวาส นานแล้วก็ตาม คือ
มีชีวิตอยู่เหนือที่จะไป
นึกถึงเรื่อง ชีวิตพระ
ชีวิตฆราวาส กระทั่ง
เหนือความตาย
อันจะมาคร่าชีวิต อยู่บ่อยๆ
มีแต่ กายใจล้วนๆ พร้อมกับ
สติปัญญา ที่จะอุทิศ ทำงาน
เป็นพุทธบูชา อาจาริยบูชา
เสียสละ ทรัพย์สมบัติ
ที่ตนมีอยู่ (ตามหลักธรรมชั้นสูง
พระ หรือ ฆราวาส ผู้มี
ีสติปัญญา ลึกซึ้ง ทำการงาน
จะลืมความเป็นพระ เป็นฆราวาส
ทั้งที่ตนอยู่ใน เพศพระ หรือ
เพศฆราวาส ปฏิบัติ ตามหน้าที่
ของตนๆ นั้นๆ อยู่เป็น
พื้นฐาน แล้วก็ตาม แต่ขณะ
ปฏิบัติหน้าที่ การงานนั้นๆ
จะมี ชีวิตจิตใจอยู่
เหนือความเป็นพระ
ความเป็นฆราวาส หรือ อะไรอื่น
มีแต่กายใจ สติปัญญา
ทำงานนั้น ถูกต้อง
ตรงตามธรรมะ ตาม กฏของ การงาน
นั้นๆ งานเป็นต้น จึงมีแต่
ดีและดี มีประโยชน์ ที่สำคัญ
คือไม่มีทุกข์เลย สนุกกับงาน
จิตว่าง เบากาย-ใจ ทุกกรณี) คือ
ทุ่มเทกำลังกาย ทรัพย์
ความคิด ทำ หนังสือธรรมานุกรม
ฉบับประมวลศัพท์
กับหนังสือธรรมานุกรม
ฉบับประมวลธรรมเล่ม ๑. เล่ม ๒ (คือ
เล่มที่ท่านถืออยู่นี้),
และเล่ม ๓ , รวมเป็นหนังสือ ๔
เล่ม (ดังมีความแจ้งอยู่ใน
คำนำ คำปรารภ ของคุณพินิจ
รักทองหล่อ
ผู้จัดทำหนังสือเล่มนั้นๆ
แล้ว) โดยนำเอา
หนังสือธรรมโฆษณ์ ของพุทธทาส
จำนวน ๖๑ เล่ม มาค้นคว้า
เก็บข้อความธรรมะต่างๆ
ตามกำลังสามารถ จะทำได้
ด้วยศรัทธา ปัญญา แล้ว
แยกจัดทำเป็น ธรรมานุกรม
ฉบับประมวลศัพท์บ้าง
ธรรมานุกรม ฉบับประมวลธรรม
อีก ๓ เล่มบ้าง ดังกล่าว
นับว่า เป็นกำลัง
สนองความประสงค์
ของท่านพุทธทาส
ที่ท่านเคยดำริ จะทำหนังสือ
เหล่านี้ขึ้น
แต่ยังไม่มีโอกาส ได้ทำเอง
และยังไม่มีผู้ใด
ดำเนินการทำขึ้น ก็พอดี
คุณพินิจ รักทองหล่อนี้
มารวบรวม จัดทำขึ้น ถือได้ว่า
คุณพินิจ รักทองหล่อ
เป็นศิษย์ที่สนองคุณ ต่อ
อาจารย์ได้ ส่วนหนึ่ง
และท่านหนึ่ง คณะธรรมทาน
จึงขอประกาศ เกียรติคุณ ไว้ ณ
โอกาสนี้ฯ
|
คัดจาก
หนังสือ
ธรรมานุกรมธรรมโฆษณ์
ฉบับประมวลธรรม เล่ม ๒
เรียบเรียงโดย นาย พินิจ
รักทองหล่อ พิมพ์ ครั้งแรก พ.ศ.
๒๕๔๐
โดย ธรรมทานมูลนิธิ |