ธรรม
ทั้งโดยปริยัติ
ปฏิบัติ
ปฏิเวธ
ทีนี้
ถ้าจะศึกษากันในแง่ของที่มา
หรือประวัติศาสตร์ของคำๆ
นี้
เชื่อได้ว่า
เมื่อมนุษย์พ้นจากความเป็นคนป่า
มาเป็นคนตั้งหลักแหล่ง
มีความเจริญขึ้นมาแล้ว
มนุษย์ชุดแรกยุคแรก
ได้สังเกตเห็นสิ่งสิ่งหนึ่งซึ่งมีความสำคัญมาก
ก็คือสิ่งที่เราเรียกกันในบัดนี้ว่า
"หน้าที่"
นั่นเอง.
มนุษย์เริ่มสำนึกขึ้นมาได้ว่า
โอ!
มันมีสิ่งที่ต้องทำ
ไม่ทำไม่ได้
มองเห็นสิ่งเหล่านี้ชัดเจนแล้ว
เสียงมันก็หลุดออกมาจากปากว่า
ธรรมม ธรรม
ธรรม คือ
หน้าที่
หน้าที่
หน้าที่;
เขาบอกเพื่อนฝูงให้รู้จักสิ่งที่เป็นหน้าที่
โดยชื่อว่า
"ธรรม"
ดังนั้น
ธรรมก็คือหน้าที่
ดังนั้น
โดย
ปริยัติ
ก็คือ
ความรู้เรื่องหน้าที่,
โดยการปฏิบัติ
ก็คือการปฏิบัติหน้าที่,
โดยปฏิเวธ
ก็คือได้รับผลของการทำหน้าที่.
ทีนี้
มองดูไปที่หน้าที่ชั้นสูง
ว่าจะมีอะไรบ้าง?
ต่อมาครูบาอาจารย์แต่ละสำนักๆ
ก็แสดงหน้าที่ชั้นสูง
เพราะรู้จักกิจกรรมในชีวิตสูงขึ้นไป
ก็รู้หน้าที่ทางจิต
ทางวิญญาณ
ที่จะกำจัดกิเลสและความทุกข์
สูงขึ้นไปเป็นพวกๆ
เป็นนิกายๆ
ล้วนแต่สอนธรรมะ
คือหน้าที่
ที่ปฏิบัติแล้วจะดับความทุกข์
ทางจิตทางวิญญาณ
จึงเกิดมีหน้าที่เป็นสองฝ่าย
คือฝ่ายโลกและฝ่ายโลกุตตระ.
หน้าที่ที่จะทำมาหากิน
บำบัดโรคภัยไข้เจ็บ
บริหารกายให้เป็นสุขได้อย่างไร
นี้จัดเป็นธรรม
หรือหน้าที่ฝ่ายโลกิยะ;
ส่วนหน้าที่ทางจิตที่สูงขึ้นไป
เพื่อทำจิตให้หมดกิเลส
บรรลุมรรคผลนิพพาน
ก็เป็นธรรมะหรือหน้าที่ฝ่ายโลกุตตระ.
แม้หน้าที่จะเกิดเป็น
๒ ซีก หรือ ๒
ฝ่าย
ขึ้นมาอย่างนี้
แต่ก็เรียกว่า
ธรรม
โดยเสมอกัน
เรียกเต็มๆ
ว่า
โลกิยธรรม
และโลกุตตรธรรม.
สิ่งที่เรียกว่า
ธรรม ธรรม
นี้
ได้รับการสั่งสอน
และปรับปรุงกันเรื่อยมา
จนสมบูรณ์เป็นลัทธิศาสนา
เป็นนิกายของศาสนา.
บัดนี้
มองกันในวงแคบ
หรือพูดกันอย่างลวกๆ
ว่า
ธรรมะคือคำสั่งสอนในทางศาสนาลืมไป
หรือมองข้ามไปว่า
ตัวธรรมหรือตัวแท้ของธรรม
นั่นคือตัวหน้าที่
ความรู้เรื่องหน้าที่นั้น
คือความรู้เรื่องธรรม
นี้คือปริยัติธรรม,
การปฏิบัติหน้าที่ก็คือ
การปฏิบัติธรรม
นี้คือ
ปฏิปัตติธรรม,
การได้รับผลจากการปฏิบัติหน้าที่
หรือ
ผลที่เราต้องการ
นี้คือ
ปฏิเวธธรรม.
สิ่งที่ท่านกำลังมองข้าม
ทีนี้
ตรงนี้แหละคือความลับ
ที่ท่านทั้งหลายจะไม่เคยนึกเคยฝัน
หรือไม่เคยรู้ว่า
ตัวธรรมะคือตัวหน้าที่
อาตมาจึงขอร้องเป็นข้อแรก
ในเบื้องต้นนี้ว่า
จงรู้จักกันเสียเดี๋ยวนี้เถิด
ว่าธรรมะนั่นคือหน้าที่ๆ
หรือหน้าที่นั่นแหละคือตัวธรรมะ.
เรามีการทำหน้าที่กันอยู่แล้วโดยไม่รู้สึกว่า
นันคือการปฏิบัติธรรม.
ข้อนี้จริงหรือไม่จริงล่ะ!
ท่านทั้งหลายทุกคน
ทำหน้าที่ทุกอย่าง
ตามหน้าที่ของตนๆ
อยู่ตั้งแต่เกิดจนตาย
แต่ก็ไม่เคยสำนึกเลยว่า
"หน้าที่นั่นแหละคือธรรมะ";
มันก็เลยไม่บูชาหน้าที่
ไม่ชื่นใจในการทำหน้าที่
มันก็กลายเป็นฝืนใจทำ
ทนทำหน้าที่
มันก็เหมือนกับตกนรกอยู่ทุกอิริยาบถ,
สมน้ำหน้ามัน.
แต่ถ้ารู้ว่า
ธรรมนั่นแหละคือหน้าที่
พอได้ปฏิบัติหน้าที่
ก็คือปฏิบัติธรรม,
มันก็จะพอใจ
พอใจ พอใจ
อิ่มอกอิ่มใจ
พอใจตัวเองเมื่อทำหน้าที่
มันก็เลยเป็นสวรรค์
อยู่ทุกอิริยาบถ,
ทั้งนี้โดยการเปลี่ยนความรู้สึกในจิตใจ
อย่างตรงกันข้ามเสียนิดหนึ่งเท่านั้นเอง
ถ้ายังโง่อยู่ไม่รู้ว่า
หน้าที่คือธรรม
มันก็จะรู้สึกว่า
หน้าที่เป็นของเหน็ดเหนื่อย
ต้องจำใจทำ
ไม่ทำไม่ได้
เพราะมันไม่มีอะไรจะกิน
ดังนี้แล้วมันจะเป็นการถูกทรมานโดยหน้าที่
มันก็เลยได้
นรกทุกอิริยาบถ
กันที่นี่และเดี๋ยวนี้
อย่างสมน้ำหน้ามันอีกเหมือนกัน
บัดนี้มารู้ความจริงว่า
หน้าที่นั่นแหละคือธรรม
หน้าที่นั่นแหละคือพระธรรม
ที่จะช่วยเราได้
อย่างกะว่าเป็นพระเจ้า
แล้วก็พอใจยินดีปรีดาปราโมทย์
สนุกสนานในการทำหน้าที่
หน้าที่ก็จะไม่เบียดเบียนให้เกิดความทุกข์
แต่กลับส่งเสริมให้เกิดความพอใจ
เย็นอกเย็นใจ
ปรีดาปราโมทย์เป็นความสุข
เลยมีความสุขตลอดเวลา
ที่ทำหน้าที่
นี้คือ
สวรรค์ทุกอิริยาบถ
ตรงกันข้ามจากนรกทุกอิริยาบถ
ท่านผู้ใดต้องทำหน้าที่ของตนอยู่
ด้วยความจำเป็นจำใจ
เหมือนที่กระทำกันอยู่โดยมาก
ซึ่งไม่จำเป็นแล้วก็ไม่กระทำพอจำเป็นต้องทำ
ก็รู้สึกทนทรมานและเป็นทุกข์
นั่นแหละเป็นการเอานรกเข้าไปไว้ในทุกอิริยาบถ
แลกเปลี่ยนกันเสียเถอะ!
ให้มีความรู้สึกที่ถูกต้องว่า
หน้าที่คือธรรมะ
ธรรมะคือหน้าที่
พอได้ทำหน้าที่ก็พอใจ
ชื่นใจ
สุขใจ
เมื่อทำหน้าที่.
ที่ไหนมีหน้าที่
ที่นั่นมีธรรมะ
หลักสำคัญมีอยู่ว่า
"ที่ไหนมีการทำหน้าที่
ที่นั่นมีธรรมะ,
ที่ไหนไม่มีการทำหน้าที่
ที่นั่นไม่มีธรรมะ"
ต่อให้ในโบสถ์
ที่มีอะไรๆ
สำหรับจะมีในโบสถ์
เต็มไปหมด
แล้วไม่มีการทำหน้าที่ของธรรมะ
มีแต่สั่นเซียมซี
พิธีบวงสรวง
ขอร้องอ้อนวอน
เจิมหรือทากันไม่มีที่สิ้นสุด
ในโบสถ์นั้นไม่มีธรรมะสักนิดเดียว
ขอยืนยันว่า
ในโบสถ์นั้นไม่มีธรรมะสักนิดเดียว;
แต่ธรรมะไปมีอยู่ที่กลางนา
ที่ชาวนาคนหนึ่งรู้จักหน้าที่ของตน
แล้วไถนาอยู่ด้วยความพอใจ
ด้วยความสุขใจ
ไถนาอยู่โครมๆ
ในนานั่นแหละกลับจะมีธรรมะ;
ในโบสถ์กลับไม่มีธรรมะ
เพราะไม่มีการทำหน้าที่;
หรือแม้จะมีการทำหน้าที่
ก็ไม่รู้สึกว่าหน้าที่คือธรรมะ
ก็มาทนทำอะไรอย่างคับอกคับใจ
อยู่กลางโบสถ์นั่นเอง
มันก็เลยไม่มีธรรมะ.
ฉะนั้น
อย่าไปเอาสถานที่เป็นหลัก
แต่เอาธรรมะเป็นหลัก
เอาของจริงเป็นหลัก
ว่าที่ไหนมีการทำหน้าที่อันถูกต้อง
ที่นั้นมีตัวธรรมะอันแท้จริง.
เอ้า,
ทีนี้มันน่าหัว
ในข้อที่ว่า
พวกเราก็ทำหน้าที่กันอยู่ตลอดเวลา
แต่ไม่รู้จักความจริง
ที่ว่า
หน้าที่คือธรรมะ
มันก็เลยกลายเป็นนรกในการทำหน้าที่
มันบีบบังคับความรู้สึก
ให้รู้สึกเป็นการต้องทน
ต้องอดกลั้น
และทนทรมาน
ไม่มีความชื่นอกชื่นใจในการทำหน้าที่
ทำให้เกิดการว่างงานกันเสียก็มาก.
เดี๋ยวนี้มารู้กันเสียใหม่
คือรู้ความลับข้อนี้ว่า
ธรรมะคือหน้าที่
หน้าที่คือธรรมะ
ปฏิบัติหน้าที่นั่นแหละคือการปฏิบัติธรรมะ
ก็เลยเป็นการปฏิบัติธรรมะ
อยู่ตลอดเวลา.
สิ่งที่เคยทำอยู่
จะเป็นการทำไร่
ทำนา
ค้าขาย
ถีบสามล้อ
แจวเรือจ้าง
อะไรก็ตามเถิด
มันก็จะกลายเป็นธรรมะไปหมด
ถ้ารู้สึกว่าการงานในหน้าที่
คือธรรมะแล้ว
ก็จะพอใจอย่างยิ่ง
ที่ได้ทำการงาน,
เมื่อพอใจ
มันก็เป็นสุข
ในการขุดดิน
ทำสวน ทำนา
ค้าขาย
ทำราชการ
ทำกรรมกร
ทำขอทาน
เรียกว่า
มีความพอใจ
จนมีความสุข
เมื่อได้ทำหน้าที่.
นี่เรียกว่า
หลักเกณฑ์ที่เราจะทำให้มันมีสวรรค์อยู่ในทุกอิริยาบถ
เมื่อทำหน้าที่ของตน
มีความพอใจชื่นใจตัวเอง
อยู่ทุกอิริยาบถ.
ขอระบุไปตั้งแต่ว่า
พอตื่นนอนขึ้นมา
เอ้า,
ตามธรรมดามันก็ต้องล้างหน้า
ถ้าทำความรู้สึกเป็นธรรมานุสสติว่า
หน้าที่ล้างหน้านั้น
ก็คือการปฏิบัติธรรม
อย่างนี้แล้ว
ก็พอใจ
ก็ล้างหน้าเป็นสุข
ล้างหน้าอย่างดีที่สุดก็พอใจๆ
จนเป็นสวรรค์เมื่อล้างหน้า.
เดี๋ยวนี้มันไม่เป็นอย่างนี้
มันไม่ได้ล้างหน้าด้วยความรู้สึกอย่างนี้
ล้างหน้าด้วยความไม่รู้สึกอยากจะล้างหน้าด้วยซ้ำไป
จิตใจไม่อยู่กับตัว
ก็ล้างหน้าเหมือนกับล้างก้น
แล้วก็ไม่ได้ผลในข้อที่ว่ามันจะเป็นธรรมะอยู่ที่นั่น
ดังนั้น
ขอร้องว่า
พอตื่นนอนขึ้นมา
หน้าที่แรก
จะล้างหน้า
หน้าที่การล้างหน้าก็คือ
หน้าที่บริหารร่างกาย
บริหารชีวิต
เป็นธรรมะอยู่แล้ว
ก็ให้รู้สึกพอใจในการกระทำชื่นอกชื่นใจในการกระทำ
ถ้าพอใจแล้ว
มันก็ชื่นใจมันก็ต้องเป็นความสุขเป็นแน่นอน.
ขอให้มีความพอใจเถอะ
ความพอใจนั่นแหละ
เป็นตัวการสำคัญ
เรียกว่า
ปิติ
ถ้ามีปิติอย่างชนิดที่กล่าวแล้วนี้
ก็เรียกว่า
ธรรมปิติ
ปิติในธรรม
มีปิติโดยความเป็นธรรม
อยู่ในการล้างหน้านั้น
มันก็เลยเป็นสุขอยู่ตลอดเวลาที่ล้างหน้า
เป็นการปฏิบัติธรรม
ตลอดเวลาที่ล้างหน้า
มันจะเสียเวลาอะไรนักเล่า
ที่จะมาคิดนึกอย่างนี้กันบ้าง
เพราะเมื่อล้างหน้าอยู่นั่นเอง
มันก็คิดนึกได้.
ถ้าไม่มีการปฏิบัติอย่างนี้
ใจก็จะลอยไปอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้
ล้างหน้าอย่างใจลอย
จิตใจก็ไปอยู่ในเรื่องโมโหโทโสอะไรก็ไม่รู้
อย่างนั้นแหละมันเป็นนรกไปตลอดเวลาที่ล้างหน้า.
ขอให้ทำอย่างถูกต้องและพอใจ
รู้สึกว่าถูกต้องแล้ว
ถูกต้องตามธรรมแล้ว
ถูกต้องตามหน้าที่แล้ว
ทั้งตามกฏของศีลธรรม
และกฏของธรรมชาติ
ดังนี้แล้วก็พอใจ
พอใจแล้ว
ก็ไม่ต้องกลัว
จะเป็นสุขขึ้นมาโดยอัตโนมัติ
ความสุขทุกชนิดเกิดมาจากความพอใจ
ว่าถูกต้องแล้ว
ปลอดภัยแล้วไม่ได้เกิดมาจากสิ่งอื่น:
พอใจมากก็สุขมาก
พอใจน้อยก็สุขน้อย
พอใจแล้วมันก็เป็นสุข,
ถ้าพอใจอย่างอันธพาล
มันก็เป็นสุขของอันธพาล
ความพอใจของพวกอันธพาล
ก็เป็นความสุขของพวกอันธพาล:
ข้อนี้เราไม่ต้องการ
ไม่ปรารถนา
เพราะเราถือเอาความพอใจที่เป็นธรรม
เป็นของวิญญูชนที่มีธรรม.
เอ้า,
ล้างหน้าแล้วจะทำอะไรอีกล่ะ?
ก็ไปถ่ายอุจจาระเข้าห้องน้ำ
ก็ทำความรู้สึกอยู่ในใจว่า
การถ่ายอุจจาระก็คือการปฏิบัติธรรม
แต่ดูเหมือนไม่มีใครนึกว่าเป็นการปฏิบัติธรรม
แต่โดยแท้จริงเป็นการปฏิบัติธรรม
เพื่อบริหารร่างกายหรือชีวิต
อย่างถูกต้อง
เป็นธรรมอยู่ในตัวการถ่ายอุจจาระ
ถ่ายปัสสาวะ
นี้เรียกว่ามีธรรมานุสสติ
ในขณะแห่งการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ
เกิดความพอใจ
เป็นสุขอยู่
ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะนั่นเอง
ไม่ได้ทำอย่างลวกๆ
มีจิตใจอยู่ที่อื่น
ทำผิดๆ
ถูกๆ
เกิดโรคภัยไข้เจ็บ
เพราะการถ่ายอุจจาระปัสสาวะขึ้นมาอีก
ดังนั้น
ขอให้มองเห็นว่า
มีการปฏิบัติหน้าที่ที่ไหน
ก็มีการปฏิบัติธรรมที่นั่น
แม้ในเรื่องของการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ.
เอ้า,
ทีนี้
สมมติว่า
จะอาบน้ำก็ขอให้พอใจยินดีที่จะเข้าไปในห้องอาบน้ำ
ยินดีว่าเป็นการปฏิบัติธรรมจับขันมาตักน้ำอาบ
หรือจะเปิดก๊อกน้ำให้ซู่ลงมา
ก็มีธรรมานุสสติว่าเป็นการทำหน้าที่ที่ถูกต้องตามธรรมชาติ
ตามธรรม
แล้วก็พอใจและเป็นสุข;
อาบน้ำรดอยู่แม้แต่ว่าถูขี้ไคล
ก็เป็นธรรมะอยู่ในการถูขี้ไคล
พอใจและเป็นสุขอยู่ในการถูขี้ไคลนั้น
ถ้าจะต้องทำอะไรอีกบ้างในเวลานั้น
ก็มีธรรมานุสสติเช่นเดียวกัน
มันก็เป็นสุขไปทุกอิริยาบถ
ในห้องน้ำนั้นเอง.
เอ้า,
ทีนี้จะมาแต่งตัว
ออกมาจากห้องน้ำจะมาแต่งตัว
หยิบผ้ามานุ่ง
มาห่ม
มาใส่มาสวม
อะไรก็ตามเถอะ
ทุกอิริยาบถรู้สึกอยู่ว่า
โอ้
หน้าที่ที่ถูกต้องคือธรรมะ
ก็รู้สึกพอใจและเป็นสุข
ตลอดเวลาที่สวมเสื้อผ้า.
นี่
สวรรค์ทุกอิริยาบถ
มันเป็นได้มากถึงอย่างนี้
มันไม่ต้องเสียเวลาอะไรเพิ่มขึ้นเลย.
เอ้า,
ทีนี้จะไปไหนล่ะ!
จะไปกินอาหารในห้องอาหาร
เดินไปห้องอาหาร
ก็พอใจว่าเป็นการทำหน้าที่ที่ถูกต้อง
พอจะหยิบจานหยิบช้อน
จะตักอาหาร
จะหยิบอะไรก็ดี
รู้สึกว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง
เป็นธรรมานุสสติในการหยิบจานอาหาร
ตักอาหาร
กินอาหาร
เคี้ยวอาหาร
และในการกระทำทุกอย่าง
จนกว่าจะกินอาหารเสร็จ
มันก็เป็นธรรมะไปหมด
มันถูกต้องแล้ว
มันก็พอใจว่าข้าพเจ้าเป็นอยู่ในภาวะที่ถูกต้องแล้ว
มันก็พอใจและเป็นสุข
มันก็เป็นสวรรค์
หรืออยู่ในความหมายของสวรรค์ตลอดเวลาที่กินอาหาร
แม้แต่เวลาที่จะช่วยเขาล้างจาน
ก็มีความรู้สึกอย่างเดียวกัน
จะช่วยเช็ดจาน
จะถูพื้น
จะปัดกวาดอะไรๆ
ก็มีความรู้สึกว่าถูกต้องแล้วพอใจ,
นี่
มันเป็นสวรรค์อยู่ทุกอิริยาบถ
ในลักษณะอย่างนี้
โดยไม่ต้องเสียเวลาอะไรเพิ่มขึ้นเลย
แต่ที่แล้วมา
มันไม่เป็นอย่างนั้น
แต่กลับจะเป็นนรก
เพราะทำด้วยความอึดอัดใจ
ไม่อยากจะทำแม้แต่จะกินข้าว
จิตใจก็เลื่อนลอยไปไม่อยู่กับตัว
บางทีก็มีโรคปวดหัว
โรคประสาท
โรคกระเพาะ
รบกวน
เพราะไม่สามารถทำหน้าที่ให้เป็นธรรมะนั่นเอง.
การทำให้มีธรรมะ
ชนิดเล็กน้อย
อยู่เป็นประจำเช่นนี้
ในที่สุดก็เปลี่ยนเป็นมีนิสัยเป็นธรรมะ
มีธรรมะเป็นเนื้อเป็นตัวไปเสียเลย
ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามหาศาล.
คัดจากหนังสือ
อสีติสังวัจฉรายุศมานุสรณ์
จาก ท่านพุทธทาสภิกขุ
ในหัวข้อ ฟ้าสางทางสวรรค์ในทุกอิริยาบถ
พิมพ์โดย
ธรรมทานมูลนิธิ และ สนพ.
สุขภาพใจ พิมพ์ครั้งที่
๙ พฤษภาคม ๒๕๔๐