ตามรอยพระอรหันต์
(พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๘๔)
เมื่อพระมหาเงื่อมตัดสินใจแน่วแน่แล้วที่จะกลับบ้าน
ก็ได้มีจดหมายถึงนายยี่เกยผู้น้องชาย
ความตอนหนึ่งว่า
"เราตกลงใจกันแน่นอนแล้วว่า
กรุงเทพฯ
ไม่ใช่เป็นที่ที่จะค้นพบความบริสุทธิ์
การถลำเข้าเรียนปริยัติธรรมทางเจือด้วยยศศักดิ์
เป็นผลดีให้เรารู้สึกตัวว่า
เป็นการก้าวผิดไปก้าวหนึ่ง
หากรู้ไม่ทันก็จะต้องก้าวไปอีกหลายก้าว
และยากที่จะถอนออกได้เหมือนบางคน
จากการรู้สึกว่าก้าวผิดนั่นเอง
ทำให้พบเงื่อนว่า
ทำอย่างไรเราจะก้าวถูกด้วย
เราเดินตามโลกตั้งแต่นาทีที่เกิดมา
จนถึงนาทีที่มีความรู้สึกนี้
ต่อนี้ไป
เราจะไม่เดินตามโลก
และลาโลกไปค้นหาสิ่งที่บริสุทธิ์
ตามรอยพระอริยะที่ค้นแล้วจนพบ..."
และ "ฉันมืดแปดด้าน
ไม่รู้ว่าจะไปขออาศัยสถานที่ที่ไหน
เพื่อการศึกษาของเราจึงจะเหมาะนอกจากบ้านเราเอง
และไม่มีที่ไหนนอกจากบ้านเรา
คือที่พุมเรียง
ก่อนที่อื่น
จึงจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือรบกวนในบางอย่าง
คือต้องมีผู้ช่วยให้ได้โอกาสเรียนมากที่สุด
และใครๆ
จงถือเสียว่า
ฉันไม่ได้กลับออกมาพักอยู่ที่พุมเรียงเลย
การกินอยู่ขอรบกวนให้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมสักเล็กน้อย
คือถ้าไม่อยากทำอย่างอื่น
ข้าวที่ใส่บาตรจะคลุกน้ำปลาเสียสักนิดก็จะดี
ลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าจะไม่รบกวนอย่างอื่นอีกเลย
ฉันจะเป็นผู้พิสูจน์ให้เพื่อนกันเห็นว่า
พระอรหันต์แทบทั้งหมด
มีชีวิตอยู่ด้วยข้าวสุกที่หุงด้วยปลายข้าวสารหัก
และราดน้ำส้มหรือน้ำผักดองนิดหน่อยเท่านั้น
เราลองกินข้าวสุกของข้าวสารที่เป็นตัว
และน้ำปลา
ก็ยังดีกว่าน้ำส้ม
และเราลองกินอยู่เดี๋ยวนี้
รู้สึกว่าไม่มีการขัดข้องเลย
ที่จะกินต่อไป.."
แล้วในวันที่
๖ เมษายน ๒๔๗๕
พระมหาเงื่อมก็เดินทางกลับถึงบ้านเกิดที่พุมเรียง
และเข้าพักชั่วคราวในโบสถ์วัดใหม่พุมเรียง
การกลับมาครั้งนี้
มีเพียงโยมน้องชายและเพื่อนในคณะธรรมานประมาณ
๔-๕
คนเท่านั้น
ที่ร่วมรับรู้ถึงปณิธานอันมุ่งมั่นของพระมหาเงื่อม
ทุกคนเต็มอกเต็มใจที่จะหนุนช่วยด้วยความศรัทธา
โดยพากันออกเสาะหาสถานที่
ซึ่งคิดว่ามีความวิเวกและเหมาะสมจะเป็นสถานที่
เพื่อการทดลองปฏิบัติธรรมตามรอยพระอรหันต์
สำรวจกันอยู่ประมาณเดือนเศษ
ก็พบวัดร้างเนื้อที่ประมาณ
๖๐ ไร่ ชื่อ ตระพังจิก
ซึ่งรกร้างมานาน
บริเวณเป็นป่ารกครื้ม
มีสระน้ำใหญ่ซึ่งร่ำลือกันว่า
มีผีดุอาศัยอยู่
เมื่อเป็นที่พอใจแล้ว
คณะอุบาสกดังกล่าวก็จัดทำเพิงที่พัก
อยู่หลังพระพุทธรูปเก่าซึ่งเป็นพระประธานในวัดร้างนั้น
แล้วพระมหาเงื่อมก็เข้าอยู่ในวัดร้างตระพังจิก
เมื่อวันที่ ๑๒
พฤษภาคม ๒๔๗๕
อันตรงกับวันวิสาขบูชา
โดยมีเพียงอัฐบริขาร
ตะเกียง
และหนังสืออีกเพียง
๒-๓
เล่มติดตัวไปเท่านั้น
เข้าไปอยู่ได้ไม่กี่วัน
วัดร้างนามตระพังจิกนี้
ก็ได้รับการตั้งนามขึ้นใหม่โดยพระมหาเงื่อม
ซึ่งเห็นว่า
บริเวณใกล้ที่พักนั้น
มีต้นโมกและต้นพลาขึ้นอยู่โดยทั่วไป
จึงคิดนำคำทั้งสองมาต่อเติมขึ้นใหม่
ให้มีความหมายในทางธรรม
จึงเกิดคำว่า
"สวนโมกขพลาราม"
อันหมายถึง "สวนป่าอันเป็นกำลังแห่งความหลุดพ้นจากทุกข์"
ขึ้นในโลกตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
พร้อมๆ
กับการเริ่มภารกิจตามที่ใจมุ่งมั่น
โดยเริ่มการขบคิดเรื่องต่างๆ
และลงมือค้นคว้าพระไตรปิฎกต่ออีกด้วยตนเอง
เมื่อถึงเดือนสิงหาคม
๒๔๗๕
ก็เริ่มถ่ายทอดอุดมคติอันตนศรัทธาเชื่อมั่น
ออกเป็นงานเขียนเรื่อง
"ตามรอยพระอรหันต์"
หัวใจของพระมหาหนุ่มในเวลานั้น
เต็มเปี่ยมด้วยรู้สึกที่จะมอบกายถวายชีวิตให้กับงานของพระศาสดา
จึงตั้งนามตนเองขึ้นใหม่ว่า
"พุทธทาส"
ตามบทสวดตอนหนึ่งในภาษาบาลี
นาม"พุทธทาส"
จึงเริ่มเป็นที่รู้จักกันเรื่อยมาจนบัดนี้
บทความ
โดย อรศรี
งามวิทยาพงศ์
จากหนังสืออนุทินภาพ
๖๐ ปี
สวนโมกข์ :
พฤษภาคม
๒๕๓๕
ลงตีพิมพ์ใหม่ในหนังสือ พุทธสาสนา
ปีที่ ๖๘ เล่ม ๒ พุทธศักราช
๒๕๔๓ |