ตามรอยพระอรหันต์
(พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๘๔)
ความมุ่งมั่นตั้งใจของพระลูกชายและคณะธรรมทาน
ที่จะส่งเสริมการปฏิบัติธรรมในด้านวิปัสสนาธุระให้รุ่งเรือง
ทำให้นางเคลื่อนผู้มารดา
ได้ทำพินัยกรรม
มอบเงินจำนวน
๖,๓๗๘ บาท
ตั้งเป็นทุนต้นตระกูลพานิช
เพื่อให้นำดอกผลมาใช้ในกิจการของสวนโมกข์และคณะธรรมทาน
ซึ่งได้เปิด
"ห้องธรรมทาน"
ขึ้นใกล้ทางรถไฟ
จัดให้มีการทำบุญเลี้ยงพระในวันอุโบสถ
และนิมนต์ "พุทธทาสภิกขุ"
มาแสดงพระธรรมเทศนา
นอกจากนี้
กองทุนดังกล่าวยังช่วยให้เกิดหนังสือพิมพ์ราย
๓ เดือน ชื่อ "พุทธสาสนา"
ในเดือน
พฤษภาคม ๒๔๗๖
ซึ่งถือเป็นสื่อสำคัญที่สุดที่ช่วยเผยแพร่ให้สาธารณชนได้รับทราบว่า
บัดนี้ที่เมืองไชยา
ซึ่งสมัยหนึ่งเคยเป็นที่ตั้งเดิมของอาณาจักรศรีวิชัย
อันรุ่งเรืองด้วยพุทธศาสนาในอดีต
ได้เกิดคณะบุคคล
ซึ่งประกอบด้วยพระและฆราวาส
ที่พร้อมใจกันจะพิสูจน์ให้โลกสมัยใหม่ตระหนักว่า
พระพุทธศาสนาคือปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งยวดของการดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้
และแก่นแท้แห่งพระพุทธศาสนามิใช่พิธีกรรม
ไสยศาสตร์
หรือการเรียนปริยัติธรรม
เพื่อสอบเอาเปรียญธรรมสูงๆ
หากแต่เป็นการศึกษาควบคู่ไปพร้อมๆ
กับการปฏิบัติ
และผู้ที่ปฏิบัติได้ถูกต้อง
ก็จะสามารถก้าวไปสู่ทางแห่งพระนิพพานได้ตามลำดับอย่างแน่นอนด้วย
พระมหาเงื่อมได้เริ่มงานเผยแพร่ความคิดนี้ไปพร้อมๆ
กับการศึกษาพระไตรปิฎก
แล้วนำมาปฏิบัติทดลอง
มีชีวิต
ตามแบบสงฆ์
ในสมัยพุทธกาลด้วยตนเอง
คือดำรงชีวิตอยู่ในสวนโมกข์อย่างสมถะ
และใกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด
ศึกษาและทดลองฝึกกรรมฐาน
และวัตรปฏิบัติต่างๆ
อย่างเอาจริงเอาจัง
แล้วจดบันทึกไว้เป็นข้อมูล
เพื่อศึกษาว่าพระพุทธองค์ทรงสอนอะไร
และให้ผลอย่างไร
ในช่วงเข้าพรรษา
จะเป็นช่วงเวลาของการฝึกฝนตนเองอย่างเข้มข้นพิเศษ
โดยท่านได้จัดทำสมุดบันทึก
"ปฏิบัติธรรมรายวัน
แบบพุทธทาส"
ขึ้น
เพื่อศึกษาไตร่ตรองและทบทวนผลจากการทดลองปฏิบัติ
จากบันทึกในช่วงเข้าพรรษาประจำปี
๒๔๗๗
แสดงให้เห็นว่า
การศึกษาทดลองของท่านนั้น
เป็นไปอย่างชนิดต้องอาศัยความทรหดและจิตใจอันเข้มแข็งเป็นอย่างยิ่ง
ดังเช่นเมื่อตั้งใจไว้ว่าจะต่อสู้กับกิเลสต่างๆ
ที่มารบกวนล่อหลอกให้หลงตาม
ท่านก็จะบังคับใจตนเองให้ทำตรงกันข้าม
ดังที่มีบันทึกไว้ว่า
"หากสับเพร่าทำยุงตาย
หรือบอบช้ำไปหนึ่งตัว
จะให้ยุงกัดคราวหนึ่งไม่ต่ำกว่า
๒๐๐ ตัว
และไม่ต่ำกว่า
๒๐
นาทีในป่ารก
หรือ
ถ้าขี้เกียจ
จะรบมันด้วยการนั่งให้สว่างคาที่
ถ้าหิว
รบมันด้วยการกวาดลานให้มาก
จนไม่หิว
ถ้าเพลียโหย
จงเดินจงกรมอย่างแรง
๔-๕
ร้อยเที่ยว
ถ้าขลาดมาท่าไหน
จะอยู่ในท่านั้นให้หนักขึ้น
จนกว่าจะไม่ขลาด
ถ้ารักชอบ
เทหรือทุบต่อยสิ่งนั้นทันที
หรือเพ่งให้เห็นความเลวของมัน
ถ้าอร่อย
จะเจือน้ำหรือทิ้งส่วนนั้นเสีย
ถ้าไม่อร่อย
จงกินจนรู้สึกว่าเฉย
หรืออร่อยโดยสันโดษ
ถ้าเพลินในอารมณ์
จนคิดจนเห็นอนัตตา
มิฉะนั้นอย่าลุก"
ในบางช่วงแห่งการทดลองนี้
ท่านจะงดการพูดโดยเด็ดขาดเป็นเวลา
๓ เดือน
หรือฉันแต่อาหารธรรมชาติตลอดพรรษา
เช่น
กล้วยน้ำว้า
ข้าวโพด
มะพร้าว แตง
ฯลฯ
และเคยแม้กระทั่งทำการทดลองแปลกๆ
ในบางครั้ง
ซึ่งทำให้ท่านได้พบข้อคิดใหม่ๆ
เช่น
เมื่อทดลองสละเลือดให้ยุงกินพร้อมกันคราวเดียว
๑๐๐ ตัวเศษ
ในป่ารก
ท่านได้บันทึกไว้ว่า
ผลทางจิตใจคือ
"ได้หลักในใจแปลกๆ
ว่า
ปีติเกิดได้ทุกอย่างในการเสียสละเพื่อสัตว์อื่นๆ"
การศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก
และการทดลองปฏิบัติอย่างแน่วแน่เช่นนี้
ได้ก่อให้เกิดปัญญาที่จะรู้แจ้งในพระธรรมคำสอนมากขึ้นๆ
เป็นลำดับ
กระทั่งแยกแยะได้ถูกว่า
พระพุทธเจ้าทรงสอนอะไรและหัวใจของคำสอนคืออะไร
ฯลฯ
แล้ววันหนึ่งแห่งการตามรอยพระอรหันต์
ท่านก็บันทึกการตัดสินใจอันสำคัญไว้ว่า
"รู้สึกว่าต่อไปจะเปลี่ยนเข็มมุ่งหมายในใจบางอย่าง
ให้หมุนตรงเฉพาะต่อความสุขอย่างแท้จริง
คือ
ละวางทุกๆ
อย่างแล้วมีใจสดชื่นเย็นฉ่ำยิ่งขึ้นเสมอ
จะประกาศแต่ความสุขนี้เท่านั้น
จะไม่ยอมให้อะไรครอบงำใจได้อีกต่อไป
ชีวิตของข้าพเจ้าสละทุกอย่างๆ
มุ่งหมายต่อความสุขนี้
และประกาศเผยแผ่ความสุขนี้เท่านั้น
ไม่มีอะไรดีไปกว่านี้ในบรรดามีอยู่ในพุทธศาสนา"
เวลา ๑๕.๐๐
น.
ถึงที่สุดแห่งความตกลงใจ
(บันทึกเมื่อ
๒๐ กันยายน
๒๔๗๗)
ความคิดและผลอันเกิดจากการศึกษาทดลองของพระมหาเงื่อมนี้
ได้รับการเผยแผ่ผ่านทางหนังสือพิมพ์
"พุทธสาสนา"
อยู่อย่างต่อเนื่อง
ส่งผลให้ผู้คนจำนวนไม่น้อย
เริ่มสนใจกับหลักธรรมต่างๆ
ซึ่งไม่เคยมีใครพูดมาก่อน
และปรารถนาที่จะให้ความสนับสนุน
ก่อนเข้าพรรษาปี
๒๔๗๗
พระดุลยพากย์สุวมัณฑ์
ได้นิมนต์ "พระพุทธทาส
ภิกขุ"
เดินทางไปแสดงธรรม
ณ
นครศรีธรรมราช
ในโอกาสเปิดสวนปันตาราม
ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามแนวของสวนโมกข์
และในปี ๒๔๘๐
เหตุการณ์ซึ่งคณะผู้ก่อตั้งสวนโมกข์ไม่ได้คาดฝันก็บังเกิดขึ้น
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
(เจริญ
ญาณวรเถระ)
วัดเทพศิรินทร์
องค์ประธานกรรมการ
มหาเถรสมาคม
เดินทางมาเยี่ยมและพักแรมที่สวนโมกข์
๑ คืน
แล้วในปีถัดมา
พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์
(วงศ์ ลัดพลี)
พระยาภรตราชสุพิช
นายสัญญา
ธรรมศักดิ์
เดินทางมาเยี่ยมสวนโมกข์
บุคคลชั้นนำทั้งบรรพชิตและฆราวาสเหล่านี้
ได้เป็นกัลยาณมิตรที่สำคัญยิ่งของสวนโมกข์ในเวลาต่อมา
ช่วยส่งเสริมให้กิจการเพื่อการตามรอยพระอรหันต์แผ่ขยายจากสำนักปฏิบัติธรรมเล็กๆ
ในหัวเมือง
ไปสู่สาธารณชนทุกทิศทุกทางในเวลาต่อมา
....
|
บทความ
โดย อรศรี
งามวิทยาพงศ์
จากหนังสืออนุทินภาพ
๖๐ ปี
สวนโมกข์ :
พฤษภาคม
๒๕๓๕
ลงตีพิมพ์ใหม่ในหนังสือ พุทธสาสนา
ปีที่ ๖๘ เล่ม ๒ พุทธศักราช
๒๕๔๓ |