๑.
กำเนิดแห่งชีวิต
๒. อุดมคติแห่งชีวิต
๓. ปณิธานแห่งชีวิต
๔. ผลงานแห่งชีวิต
พุทธทาสรำลึก
โดย
อรศรี
งามวิทยาพงศ์
ก่อนกำเนิดสวนโมกข์
(๒๔๔๙-๒๔๗๔)
ตามรอยพระอรหันต์
(๒๔๗๕-๒๔๘๔)
ประกาศธรรมทุกทิศ
(๒๔๘๕-๒๕๐๔)
ประยุกต์ธรรมนำยุคสมัย
(๒๕๐๕-๒๕๒๔)
ธรรมะเพื่อสังคมและโลก(๒๕๒๕-๒๕๓๔)
สวนโมกข์วันนี้
สวนโมกข์ในอนาคต
พุทธทาสจักไม่ตาย
พุทธทาส จักอยู่ไป
ไม่มีตาย
แม้ร่างกายจะดับไปไม่ฟังเสียง
ร่างกายเป็น
ร่างกายไป ไม่ลำเอียง
นั่นเป็นเพียงสิ่งเปลี่ยนไปในเวลา
พุทธทาส คงอยู่ไป
ไม่มีตาย
ถึงดีร้ายก็จะอยู่คู่ศาสนา
สมกับมอบ กายใจ
รับใช้มา
ตามบัญชาองค์พระพุทธไม่หยุดเลย
พุทธทาส ยังอยู่ไป
ไม่มีตาย
อยู่รับใช้
เพื่อนมนุษย์ไม่หยุดเฉย
ด้วยธรรมโฆษณ์ตามที่วางไว้อย่างเคย
โอ้เพื่อนเอ๋ยมองเห็นไหมอะไรตายฯ
แม้ฉันตาย กายลับ
ไปหมดแล้ว
แต่เสียงสั่ง
ยังแจ้ว แว่วหูสหาย
ว่าเคยพลอดกันอย่างไรไม่เสื่อมคลาย
ก็เหมือนฉันไม่ตาย
กายธรรมยัง
ทำกับฉัน
อย่างกะฉัน นั้นไม่ตาย
ยังอยู่กับ
ท่านทั้งหลายอย่างหนหลัง
มีอะไรมาเขี่ยไค้
ให้กันฟัง
เหมือนฉันนั่ง
ร่วมด้วย ช่วยชี้แจง
ทำกับฉัน
อย่างกะฉัน ไม่ตายเถิด
ย่อมจะเกิด ผลสนอง
หลายแขนง
ทุกวันนัด สนทนา
อย่าเลิกแล้ง
ทำให้แจ้ง
ที่สุดได้ เลิกตายกันฯ
|
ประกาศธรรมทุกทิศ
(พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๕๐๕)
ความสามารถของ
"พุทธทาสภิกขุ"
ในด้านการเขียนอธิบายข้อธรรมะต่างๆ
ใน "พุทธสาสนา"
โดยใช้ภาษาที่สละสลวย
เข้าใจง่าย
แต่ให้ข้อคิดที่ลึกซึ้งได้ส่งผลให้ธรรมะจากสวนโมกข์
แผ่กระจายสู่ผู้อ่านในที่ต่างๆ
โดยง่าย
จากฉบับแรกเริ่ม
ซึ่งต้องประกาศแจกให้เปล่าในหนังสือพิมพ์
"ไทยเขษม"
รายสัปดาห์
ก้าวหน้าจนมีผู้สนใจบอกรับเป็นสมาชิกเองนับร้อย
จนถึงพันในเวลาต่อมา
ความสำเร็จนี้แม้แต่คณะผู้จัดทำเองก็คาดไม่ถึง
ส่งเสริมให้เกิดกำลังใจที่จะเผยแพร่และแจกจ่ายธรรมทานนี้แก่สาธารณชนมากยิ่งขึ้น
ไม่นานนักการประกาศธรรมก็ก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง
ด้วยความสามารถที่มีอยู่แต่แรกบวชของพุทธทาสภิกขุนั่นคือ
การเผยแผ่ธรรมะโดยการเทศน์
ท่านได้ริเริ่มการเทศน์ในรูปของปาฐกถาธรรมที่ประยุกต์ทั้งรูปแบบ
และเนื้อหาของธรรมะที่แสดงให้สมสมัย
โดยเปิดฉากครั้งแรกที่พุทธธรรมสมาคม
กรุงเทพฯ
ตามคำอาราธนาของ
นายสัญญา
ธรรมศักดิ์
เมื่อวันที่
๑๓ กรกฏาคม
๒๔๘๓
โดยแสดงธรรมเรื่อง
"วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม"
ซึ่งใช้เวลานานถึง
๒ ชั่วโมง ๑๕
นาที
การแสดงปาฐกถาธรรมของพุทธทาสภิกขุ
แต่ละครั้งนั้น
สามารถตรึงผู้ฟังจำนวนนับร้อยหรือพัน
ให้สนใจติดตามอย่างสนใจได้โดยอาศัยการพูดที่กระชับ
ชัดเจน
และเรียงร้อยความไว้อย่างดี
จนผู้ฟังเกิดความเข้าใจที่แจ่มแจ้งได้ว่า
ธรรมะขั้นโลกุตระ
อันคนทั่วไปมักคิดว่า
พ้นโลกหรือไม่มีจริงนั้น
แท้จริงคือ
หัวใจของพุทธศาสนา
เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและเป็นวิทยาศาสตร์
สามารถจะพิสูจน์และนำไปปฏิบัติให้เกิดผล
และเห็นชัดได้โดยตนเองทุกเวลา
ความสามารถดังกล่าวนี้
ทำให้นาม "พุทธทาสภิกขุ"
ร่ำระบือกลายเป็นพระนักเทศน์สนับสนุนให้การเผยแผ่ธรรมเป็นไปอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้นอีก
โดยเฉพาะเมื่อสื่อมวลชนให้ความสนใจมาฟังธรรม
และนำไปเขียนเชิญชวนให้ผู้อ่าน
ร่วมกันติดตามผลงานเขียนและพูดของพุทธทาสภิกขุ
แล้วกองทัพธรรมซึ่งตั้งหลักอยู่ที่ไชยาก็เริ่มยาตราออกสู่ทิศานุทิศเป็นลำดับ
พุทธทาสภิกขุ
ได้รับการอาราธนาให้เดินทางไปแสดงธรรมยังที่ต่างๆ
บ่อยครั้ง
เช่น
ที่กรุงเทพฯ
แสดงธรรมที่โรงพยาบาลสงฆ์
โรงพยาบาลศิริราช
ธรรมศาสตร์-จุฬา
กรมสรรพากร
กระทรวงยุติธรรม
สมาคมจีนตงฮั้ว
ฯลฯ
และเดินทางไปยังจังหวัดอื่นๆ
เช่น
เพชรบุรี
ราชบุรี
พิษณุโลก
สุโขทัย
เชียงใหม่
ฯลฯ
รวมไปถึงการแสดงธรรมตามวิทยาลัยเทคนิค
และวิทยาลัยครู
ในจังหวัดต่างๆ
ด้วย
เฉพาะที่เชียงใหม่นั้น
ได้เดินทางไปหลายครั้ง
เพื่อให้คำแนะนำแก่กิจการของคณะพุทธนิคม
และการจัดตั้งวัดแบบสวนโมกข์ที่วัดอุโมงค์
การเผยแผ่ธรรมะที่เชียงใหม่นี้
ก้าวหน้ายิ่งขึ้นอีก
เมื่อท่านได้ขอร้องให้
ปัญญานันทภิกขุ
สหธรรมิกผู้น้อง
ซึ่งถูกอัธยาศัยกันมาตั้งแต่ครั้งเคยจำพรรษาที่สวนโมกข์เก่าด้วยกันในปี
๒๔๗๙
มาเป็นผู้สานต่อกิจกรรมประกาศธรรมในภาคเหนือนี้
|
บทความ
โดย อรศรี
งามวิทยาพงศ์
จากหนังสืออนุทินภาพ
๖๐ ปี
สวนโมกข์ :
พฤษภาคม
๒๕๓๕
ลงตีพิมพ์ใหม่ในหนังสือ พุทธสาสนา
ปีที่ ๖๘ เล่ม ๒ พุทธศักราช
๒๕๔๓ |
|