Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!
 

๑. กำเนิดแห่งชีวิต
๒. อุดมคติแห่งชีวิต
๓. ปณิธานแห่งชีวิต
๔. ผลงานแห่งชีวิต

 

พุทธทาสจักไม่ตาย

พุทธทาส จักอยู่ไป ไม่มีตาย
แม้ร่างกายจะดับไปไม่ฟังเสียง
ร่างกายเป็น ร่างกายไป ไม่ลำเอียง
นั่นเป็นเพียงสิ่งเปลี่ยนไปในเวลา

พุทธทาส คงอยู่ไป ไม่มีตาย
ถึงดีร้ายก็จะอยู่คู่ศาสนา
สมกับมอบ กายใจ รับใช้มา
ตามบัญชาองค์พระพุทธไม่หยุดเลย

พุทธทาส ยังอยู่ไป ไม่มีตาย
อยู่รับใช้ เพื่อนมนุษย์ไม่หยุดเฉย
ด้วยธรรมโฆษณ์ตามที่วางไว้อย่างเคย
โอ้เพื่อนเอ๋ยมองเห็นไหมอะไรตายฯ

แม้ฉันตาย กายลับ ไปหมดแล้ว
แต่เสียงสั่ง ยังแจ้ว แว่วหูสหาย
ว่าเคยพลอดกันอย่างไรไม่เสื่อมคลาย
ก็เหมือนฉันไม่ตาย กายธรรมยัง

ทำกับฉัน อย่างกะฉัน นั้นไม่ตาย
ยังอยู่กับ ท่านทั้งหลายอย่างหนหลัง
มีอะไรมาเขี่ยไค้ ให้กันฟัง
เหมือนฉันนั่ง ร่วมด้วย ช่วยชี้แจง

ทำกับฉัน อย่างกะฉัน ไม่ตายเถิด
ย่อมจะเกิด ผลสนอง หลายแขนง
ทุกวันนัด สนทนา อย่าเลิกแล้ง
ทำให้แจ้ง ที่สุดได้ เลิกตายกันฯ

 

 

 

หนังสือชุดธรรมโฆษณ์

 

ปาฐกถาเรื่องศาสนาเปรียบเทียบ

 

ตัวอย่างหนังสือที่พิมพ์เป็นภาษาจีน

 

ตัวอย่างหนังสือที่พิมพ์เป็นภาษาเยอรมัน

 ตัวอย่างหนังสือที่พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ

 

๓. ปณิธานแห่งชีวิต

อุดมคติ ที่หยั่งรากลึกลงแล้วนี้ ทำให้ท่านสนใจใฝ่หา ความรู้ทางธรรมะ ตลอดเวลา ไม่เฉพาะแต่ พระพุทธศาสนา ฝ่ายเถรวาท หรือ หินยาน แต่ครอบคลุม ไปถึงพระพุทธศาสนา แบบ มหายาน และ ศาสนาอื่น เช่น คริสต์ อิสลาม ฮินดู สิกข์ เป็นต้น จากความรอบรู้ ที่กว้างขวาง และลึกซึ้ง นี้เอง ทำให้ท่านสามารถ ประยุกต์ วิธีการสอน และปฏิบัติธรรมะ ได้อย่างหลากหลาย ให้คนได้เลือกปฏิบัติ ให้สอดคล้อง กับพื้นความรู้ และอุปนิสัยของตนได้ โดยไม่จำกัด ชนชั้น เชื้อชาติ และศาสนา เพราะท่านเชื่อว่า มนุษย์ ทุกคน ก็คือ เพื่อน ร่วม เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันหมด ทั้งสิ้น และหัวใจ ของทุกศาสนา ก็เหมือนกันหมด คือ ต้องการ ให้คน พ้นจากความทุกข์ ท่านจึง ได้ตั้ง ปณิธานในชีวิตไว้ ๓ ข้อ คือ

๑. ให้พุทธศาสนิกชน หรือ ศาสนิกแห่งศาสนาใดก็ตาม เข้าถึง ความหมายอันลึกซึ้ง ที่สุดแห่งศาสนาของตน
๒. ทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา
๓. ดึงเพื่อนมนุษย์ให้ออกมาเสียจากวัตถุนิยม

แม้ในความพยายามที่จะทำตามปณิธานนี้ จะทำให้ บางคน ไม่เข้าใจท่าน ไม่ชอบท่าน ด่าว่าท่าน หาว่า ท่านจ้วงจาบ พระพุทธศาสนา เป็นเดียรถีย์ เป็นคอมมิวนิสต์ หรือ รับจ้าง คนคริสต์ มาทำลายล้าง พระพุทธศาสนา ก็ตาม แต่ท่านกลับรับฟัง คำวิจารณ์ เหล่านี้ด้วยใจเป็นกลาง ถือเป็นการแลกเปลี่ยน ทางความคิด ในเรื่อง เนื้อหา และ หลักการ มากกว่า ที่จะก่อความ ขัดแย้ง ส่วนตัว เพราะท่านมีหลัก ในการทำงานว่า " พุทธบุตร ทุกคน ไม่มี กังวล ในการ รักษา ชื่อเสียง มีกังวล แต่การ ทำความบริสุทธิ์ เท่านั้น เมื่อได้ทำความ บริสุทธิ์ มองเห็นชัดเจนใจ อยู่แล้วว่า นี่มันบริสุทธิ์ เป็นธรรมแท้ ใครจะชอบ หรือ ไม่ชอบก็ตาม เราต้องทำ ด้วยความ พยายาม อย่างสุดชีวิต จะมีชื่อเสียง หรือไม่นั้น อย่า นึกถึง เลย เป็นอันขาด จะกลายเป็น เศร้าหมอง และ หลอกลวง ไปไม่มาก ก็น้อย" 

ในที่สุด ท่านก็ได้รับการยอมรับ จากวงการ คณะสงฆ์ไทย วงการศึกษา ของไทย  และวงการศึกษาธรรมะของโลก ได้รับการยอมรับให้เป็นเสนาบดีแห่งกองทัพธรรมในยุคหลัง กึ่งพุทธกาล เยี่ยง พระมหากัสสป ในครั้งพุทธกาล 

สมณศักดิ์ที่ท่านได้รับ
๑. เป็นพระครูอินทปัญญาจารย์ พ.ศ. ๒๔๘๙
๒. เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระอริยนันทมุนี พ.ศ. ๒๔๙๓
๓. เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชชัยกวี พ.ศ. ๒๕๐๐
๔. เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพวิสุทธิเมธี พ.ศ. ๒๕๑๔
๕. เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมโกศาจารย์ พ.ศ. ๒๕๒๐

แม้ท่านจะมีชื่อ สมณศักดิ์ ตามลำดับ หลายชื่อ แต่ท่านจะใช้ ก็ต่อเมื่อมีความจำเป็น ต้องติดต่อ ทางราชการ เท่านั้น ถ้าเป็นเรื่องอื่นแล้ว ท่านจะใช้ ชื่อว่า "พุทธทาส อินทปัญโญ" เสมอ แสดงให้เห็นถึงความอ่อนน้อม ถ่อมตัว ของท่าน ประการหนึ่ง ชื่อ พุทธทาสนี้ เป็นที่มา แห่งอุดมคติ ของท่านนั่นเอง

ปริญญาทางโลก ที่ท่านได้รับ
๑. พุทธศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ จาก มหาจุฬา ลงกรณ ราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๒
๒. อักษรศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขา ปรัชญา และ ศาสนา จาก มหาวิทยาลัย ศิลปากร พ.ศ. ๒๕๒๘
๓. ปรัชญา ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขา วิชา ศึกษาศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัย รามคำแหง พ.ศ. ๒๕๒๘
๔. ศิลปศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขา ปรัชญา จาก มหาวิทยาลัย สงขลา นครินทร์ พ.ศ. ๒๕๒๙
๕. อักษรศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขา ปรัชญา จาก จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๐
๖. การศึกษา ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขา พัฒนศึกษาศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๓๒
๗. ศิลปศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๓๖

ในระดับนานาชาติ ปัจจุบัน ทุกมหาวิทยาลัย ที่มีแผนก สอนวิชา ศาสนาสากล ทั้งในยุโรป และ อเมริกาเหนือ ล้วน ศึกษางานของท่าน หนังสือ ของท่าน กว่า ๑๔๐ เล่ม ได้รับการแปลเป็น ภาษาอังกฤษ, กว่า ๑๕ เล่ม เป็นภาษาฝรั่งเศส, และ อีก ๘ เล่ม เป็น ภาษาเยอรมัน นอกจากนั้น ยังแปลเป็นภาษา จีน อินโดนีเซีย ลาว และ ตากาล็อค อีกด้วย กล่าวได้ว่า ในประวัติศาสตร์ไทย ท่านอาจารย์พุทธทาส มีผลงาน ที่เป็น หนังสือแปล สู่ต่างประเทศ มากที่สุด

BACK NEXT
ประวัติท่านพุทธทาส คัดจากหนังสือ พุทธสาสนา ปีที่ ๖๗ เล่ม ๒ พุทธศักราช ๒๕๔๒