เมื่อกิเลสยึดครองโลก
เมื่อกิเลส
ไหลนอง ยึดครองโลก
มันสุดแสน
โสโครก ที่โกรกไหล
เมื่อกระแส
ไฟตัณหา ไหม้พาไป
ทิ้งซากไว้
ระเกะระกะ อนิจจัง
กลับยกย่อง
ว่านั่นสิ่ง ศิวิไลซ์
ยั่วความใคร่
เพิ่มเหยื่อ แก่เนื้อหนัง
เป็นเครื่องล่อ
กามา บ้าติดตัง
ทั่วโลกคลั่ง
ก็ยิ่งคล้าย อบายภพ
ทั้งแก่เฒ่า
สาวหนุ่ม ล้วนจมกาม
เกลียดศีลธรรม
เห็นเป็นหนาม ระคายขบ
อาชญากรรม
ลุกลาม สงครามครบ
ร้อนตลบ
โลกกิเลส สังเวชจริงฯ
เผาตัวเอง
ร้ายอะไร
ไม่ร้ายเท่า จะเอาดี
เป็นธุลี
จับจิต เกิดริษยา
ชิงดีแล้ว
อวดเด่น เห็นออกมา
ตัวกูจ้า
บ้าคลั่ง สังเวชใจ
สร้างนรก
เป็นที่อยู่ เพราะเหตุนี้
“ตัวกูดี,
ตัวกูเด่น” เห็นหรือไม่?
กลัวหมดดี
จุดจี้ ให้เกิดไฟ
“เผาตัวเอง”
ต่อไป เศร้าใจเอยฯ
|
กิเลส
คำว่า กิเลส
แปลว่า สิ่งที่เศร้าหมอง
หรือ
เครื่องทำให้เกิดความเศร้าหมอง
มีความหมาย ๓ อย่าง คือ
ให้เกิดความสกปรก หรือ
เศร้าหมองอย่างหนึ่ง
ให้เกิดความมืดมิดไม่สว่างไสวอย่างหนึ่ง
ให้เกิดความกระวนกระวายไม่มีความสงบอีกอย่างหนึ่ง
เพื่อให้เข้าใจง่าย
ท่านแบ่งชั้นกิเลสเป็น ๓
ชั้น คือ
ชั้นละเอียดหรือชั้นใน
อย่างหนึ่ง,
ชั้นกลางอย่างหนึ่ง,
ชั้นหยาบหรือชั้นนอก
อย่างหนึ่ง
ที่เป็นชั้นใน หมายถึง
ชั้นที่นอนนิ่งอยู่ในสันดานอย่างเงียบๆ
จนกว่าจะมีอารมณ์มากระทบ
จึงจะปรุงขึ้นเป็นกิเลสชั้นกลาง
ที่เกิดขึ้นกลุ้มรุมจิต หรือ
เป็นกิเลสชั้นหยาบ
ที่ทะลุออกมาปรากฏเป็นกิริยาต่างๆ
ที่ชั่วร้ายภายนอก
ตัวอย่างกิเลสชั้นละเอียดที่เป็นภายใน
มีชื่อเรียกว่า อกุศลมูล มี ๓
อย่าง คือ โลภะ-ความโลภ, โทสะ-ความโกรธ
ประทุษร้าย, โมหะ-ความหลง หรือ
ที่มีชื่อเป็นอย่างอื่นอีกมากชื่อ
แต่โดยใจความแล้ว ได้แก่
กิเลสที่ยังสงบอยู่ภายใน
จนกว่า
ได้อารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง
จนเกิดความรู้สึกอยากได้รุนแรง
รบกวนอยู่ในใจ
พลุ่งพล่านอยู่ด้วยความอยาก
หรือ
พลุ่งพล่านอยู่ด้วยความโกรธแค้นเกลียดชัง
หรือ
พลุ่งพล่านอยู่ด้วยความโง่สงสัย
กระวนกระวายอยู่ในใจ
เป็นกิเลสชั้นกลาง
เรียกชื่อว่า นิวรณ์ มี ๕
อย่าง คือ กามฉันทะ พยาบาท
ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ
วิจิกิจฉา.
ถ้าความปรุงแต่งไม่หยุดอยู่แต่เพียงเท่านั้น
ก็จะทะลุออกมา ทางกาย ทางวาจา
เป็นการกระทำด้วยเจตนา เช่น
การล่วงละเมิดในทางกาม
การฆ่าเขา เบียดเบียนเขา
การพูดเท็จ
ตลอดจนการดื่มน้ำเมา เป็นต้น
ซึ่งเรียกว่า กิเลสหยาบ
ถ้าพิจารณากันอีกทางหนึ่งจะเห็นได้ว่า
ตัวกิเลสที่แท้นั้น คือ
กิเลสชั้นใน หรือ
ชั้นละเอียดนั่นเอง ส่วนอีก ๒
ชั้นที่เหลือ
เป็นเพียงกิริยาอาการของกิเลสชั้นในที่แสดงออกมา
มากกว่าที่จะเป็นตัวกิเลสเอง
แต่โดยเหตุที่ท่านเพี่งเล็งถึงตัวความเศร้าหมองมืดมัว
และไม่สงบ
ท่านจึงจัดกิริยาอาการของกิเลสอย่างนั้นทั้ง
๒ ชั้น
ว่าเป็นตัวกิเลสโดยตรงอีกด้วย
เช่นกิริยาอาการที่เรียกว่า
กามฉันทะ หรือ พยาบาทนั้น
ทำให้มโนทวาร หรือ
ใจเศร้าหมอง และ
กิเลสในการล่วงละเมิดในกาม
และการพูดเท็จ เป็นต้นนั้น
ทำให้กายและวาจาเศร้าหมอง
ในทำนองเดียวกันกับที่กิเลสชั้นละเอียดได้ทำให้สันดานพื้นฐานส่วนลึกของใจเศร้าหมอง
ในที่สุดเราก็จะได้เป็นคู่ๆ
กันดังนี้
๑. กิเลสชั้นละเอียด
ทำให้สันดานเศร้าหมอง
๒. กิเลสชั้นกลาง
ทำให้มโนทวารเศร้าหมอง
๓. กิเลสชั้นหยาบ
ทำให้วจีทวารและกายทวารเศร้าหมอง
กิเลสชั้นละเอียด
ซึ่งได้กล่าวแล้วเรียกว่า
อกุศลมูล ในที่นี้ มีเพียง ๓
อย่าง
แต่ในที่อื่นมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น
และจำแนกออกไปมากกว่า ๓ อย่าง
ตัวอย่างเช่น
แทนที่จะจำแนกเป็น โลภะ โทสะ
โมหะ ก็จำแนกเป็น กามราคะ
ปฏิฆะ ทิฎฐิ วิจิกิจฉา มานะ
ภวราคะ อวิชชา รวมเป็น ๗ อย่าง
และเรียกว่า อนุสัย
แต่ในที่สุด เราก็เห็นได้ว่า
กามราคะ ความกำหนัดในกาม และ
ภวราคะ
ความกำหนัดในความมีความเป็น
ในที่นี้ ได้แก่ โลภะ หรือ
ราคะ นั่นเอง ปฏิฆะ ในที่นี้
ก็คือ โทสะนั่นเอง ส่วน ทิฎฐิ
วิจิกิจฉา มานะ อวิชชา ทั้ง ๔
อย่างนี้ สรุปลงรวมได้ในโมหะ
จึงยังคงเหลือเพียง โลภะ โทสะ
โมหะ อยู่นั่นเอง
แม้จะจำแนกให้มากออกไปกว่านี้
เช่น เป็น สังโยชน์ ๑๐
ก็ทำนองเดียวกัน คือ
อาจจะย่นให้เหลือ เพียง ๓
ได้ดังกล่าว หากแต่ว่า
เป็นเรื่องละเอียดเกินภูมิ
ของผู้เริ่มศึกษา จะงด
ไม่กล่าวถึง
|
คัดจาก
หนังสือ
ศึกษาธรรมะอย่างถูกวิธี
หรือ ธรรมวิภาค นวกภูมิ
คำบรรยายธรรมะ ของ
พุทธทาสภิกขุ ในพรรษา
ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ พิมพ์โดย
สำนักพิมพ์สุขภาพใจ |
|