อันความอยาก จะระงับ ดับลงได้
นั้นมิใช่ เพราะเรา ตามสนอง
สิ่งที่อยาก ให้ทัน ดั่งมันปอง
แต่เพราะต้อง ฆ่ามัน ให้บรรลัย
ให้ปัญญา บงการ แทนร่านอยาก
ความร้อนไม่ มีมาก อย่าสงสัย
ทั้งอาจผลิต กิจการ งานใดๆ
ให้ล่วงไป ด้วยดี มีสุขเย็นฯ
นิทานเรื่องสั้นของท่านพุทธทาส เรื่อง พ่อ-ลูก พ่อ รู้สึกขบขัน แกมสงสาร อย่างไม่น้อย ที่เห็น ลูกชายคนโต ดีใจ จนเนื้อเต้น ในการที่ ได้รับ "ป็ากเก้อร ๕๑" ด้ามหนึ่ง เป็น ของขวัญ วันเกิด และ เห็น ลูกชายคนเล็ก ดีใจ มากไปกว่านั้น อีกหลายเท่า ในการได้รับ ลูกกวาด ของนอก กระป๋องเล็กๆ กระป๋องหนึ่ง เป็นของขวัญ ในโอกาส เดียวกัน แต่พ่อ ไม่รู้สึก ขบขัน หรือ สมเพชตนเอง ในการที่ ตนเอง ตื่นเต้น ยิ่งไปกว่า ลูกทั้งสองอีก ในการที่ได้รับ บัตรเชิญ ไปในงาน มีเกียรติ ชั้นพิเศษ ของเจ้านาย รายหนึ่ง ซึ่งตน ไม่เคยนึกฝัน ว่าจะได้รับ ด้วยอาการ มือสั่น ใจรัว แทบไม่เชื่อตา ตนเอง ว่า บัตรนั้น ส่งมาเชิญตนนิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า: มันเป็นการ เหลือวิสัย ในการที่จะให้ พ่อดีใจ จนเนื้อเต้น ในเมื่อ ได้รับปากกา ชนิดนั้น ด้ามหนึ่ง หรือ เมื่อได้ลูกกวาด กระป๋องหนึ่ง แต่ในที่สุด พ่อก็ไม่พ้น จากการที่ต้อง มีใจเต้นรัว มือสั่น ด้วยได้ กระดาษแผ่นเล็กๆ อันหมายความถึง เกียรติ อันหรูหรา จริงอยู่ รูปธรรม เช่น ด้ามปากกา หรือ ลูกกวาด มันไม่เหมือนกับ นามธรรม เช่น เกียรติ หรือ ไม่มีค่าสูง เท่าเทียมกัน แต่เราต้อง ไม่ลืมว่า มันสามารถ เขย่า ตัณหา (ภวตัณหา) ของคนได้โดยทำนองเดียวกัน โดยไม่มีผิด ในฐานะ ที่เป็นวัตถุ อันเป็นที่ตั้ง แห่งความพอใจ จนลืมตัว ได้เท่ากัน แล้วแต่ว่า ความใคร่ ของใครผู้ใด มีอยู่อย่างไร ส่วนความที่ ต้องใจเต้น มือสั่น เหล่านั้น ฯลฯ มันไม่มีผิด กันที่ตรงไหน เพราะฉะนั้น ใครเล่า ที่ควร สมเพชใคร ในระหว่าง พ่อ-ลูก รายนี้ คัดจากหนังสือ นิทานเซ็น มหรสพทางวิญญาณเพื่อจริยธรรม เล่าโดย.. ท่านพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม ณ หอประชุมคุรุสภา พุทธศักราช ๒๕๐๕ พิมพ์โดย ธรรมสภา
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า: มันเป็นการ เหลือวิสัย ในการที่จะให้ พ่อดีใจ จนเนื้อเต้น ในเมื่อ ได้รับปากกา ชนิดนั้น ด้ามหนึ่ง หรือ เมื่อได้ลูกกวาด กระป๋องหนึ่ง แต่ในที่สุด พ่อก็ไม่พ้น จากการที่ต้อง มีใจเต้นรัว มือสั่น ด้วยได้ กระดาษแผ่นเล็กๆ อันหมายความถึง เกียรติ อันหรูหรา จริงอยู่ รูปธรรม เช่น ด้ามปากกา หรือ ลูกกวาด มันไม่เหมือนกับ นามธรรม เช่น เกียรติ หรือ ไม่มีค่าสูง เท่าเทียมกัน แต่เราต้อง ไม่ลืมว่า มันสามารถ เขย่า ตัณหา (ภวตัณหา) ของคนได้โดยทำนองเดียวกัน โดยไม่มีผิด ในฐานะ ที่เป็นวัตถุ อันเป็นที่ตั้ง แห่งความพอใจ จนลืมตัว ได้เท่ากัน แล้วแต่ว่า ความใคร่ ของใครผู้ใด มีอยู่อย่างไร ส่วนความที่ ต้องใจเต้น มือสั่น เหล่านั้น ฯลฯ มันไม่มีผิด กันที่ตรงไหน เพราะฉะนั้น ใครเล่า ที่ควร สมเพชใคร ในระหว่าง พ่อ-ลูก รายนี้
คัดจากหนังสือ นิทานเซ็น มหรสพทางวิญญาณเพื่อจริยธรรม เล่าโดย.. ท่านพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม ณ หอประชุมคุรุสภา พุทธศักราช ๒๕๐๕ พิมพ์โดย ธรรมสภา