นิทานเซ็น
เล่าโดย .. ท่านพุทธทาสภิกขุ
เรื่อง ช่างไม่เมตตาเสียเลย
เรื่องที่ ๖
เขาให้ชื่อเรื่องว่า "ช่างไม่เมตตาเสียเลย"
อาตมา แปลออกมา ตามตัว ว่า "ช่างไม่เมตตาเสียเลย"
เขาเล่าว่า ในประเทศจีน
ในสมัยที่ นิกายเซ็น
กำลังรุ่งเรืองมาก
อีกเหมือนกัน ใครๆ
ก็นิยมนับถือภิกษุ
ในนิกายเซ็นนี้ มียายแก่
คนหนึ่ง เป็นอุปัฎฐาก
ของภิกษุองค์หนึ่ง
ซึ่งปฏิบัติเซ็น
ด้วยความศรัทธา อย่างยิ่ง
มาเป็นเวลาถึง ยี่สิบปี;
แกได้ สร้างกุฏิน้อยๆ
ที่เหมาะสม อย่างยิ่งให้
และส่งอาหารทุกวัน นับว่า
พระภิกษุองค์นี้ ไม่ลำบาก
ในการจะปฏิบัติ
สมาธิภาวนาอะไรเลย
แต่ในที่สุด ล่วงมาถึง ๒๐ ปี
ยายแก่ เกิดความสงสัย
ขึ้นมาว่า พระรูปนี้
จะได้อะไร เป็นผลสำเร็จ
ของการปฏิบัติ บ้างไหม ที่มัน
จะคุ้มกันกับ ข้าวปลาอาหาร
ของเรา ที่ส่งเสียมาถึง ๒๐
ปี
เพื่อให้รู้ความจริงข้อนี้
แกก็คิดหาหนทาง ในที่สุด
พบหนทางของแก คือ แกขอร้อง
หญิงสาวคนหนึ่ง
ที่มีหน้าตาท่าทางอะไรๆ
ยั่วยวน ไปหมด ให้ไปหา
พระองค์นั้น โดยบอกว่า
ให้ไปที่นั่น แล้วไปกอด
พระองค์นั้น แล้วถามว่า
เดี๋ยวนี้ เป็นอย่างไรบ้าง
ผู้หญิงคนนั้น ก็ทำอย่างนั้น
พระองค์นั้นตอบ
ด้วยถ้อยคำเป็น กาพย์กลอน
poetically; ซึ่งค่อนข้างเป็น
คำประพันธ์ ตามธรรมดา
ของบุคคลบางคน ที่มีนิสัย
ทางคำประพันธ์
ตรงนี้เขาเขียน
เป็นคำประพันธ์ ซึ่งแปลเป็น
ตัวหนังสือ ก็จะเท่ากับว่า
"ต้นไม้แก่
ใบโกร๋น บนยอดผา
ฤดูหนาวทั้งคราวลม ระดมมา
อย่ามัวหาไออุ่น แม่คุณเอย"
ว่าอย่างนี้ เท่านั้น
แล้วไม่ว่าอะไรอีก ไม่มีอะไร
ที่จะพูดกันรู้เรื่องอีก
หญิงสาว คนนั้น
ก็กลับมาบอก ยายแก่
อย่างที่ว่านั้น
ยายแก่ก็ขึ้นเสียง
ตะบึงขึ้นมาว่า คิดดูทีซิ
ฉันเลี้ยงไอ้หมอนี่ that fellow
ซึ่งตรงกับ ภาษาไทยว่า
อ้ายหมอนั่น มาตั้ง ๒๐
ปีเต็มๆ มันไม่มีอะไรเลย
แม้จะเพียง แสดงความเมตตา
ออกมาสักนิดหนึ่ง ก็ไม่มี
ถึงแม้จะไม่สนอง ความต้องการ
ทางกิเลส ของเขา ก็ควรจะ
เอ่ยปาก เป็นการแสดง
ความเมตตา กรุณา หรือ ขอบคุณ
บ้าง นี่มันแสดงว่า เขาไม่มี
คุณธรรม อะไรเลย ฉะนั้น
ยายแก่ ก็ไปที่นั่น เอาไฟเผา
กุฎิ นั้นเสีย และ
ไม่ส่งอาหาร ต่อไป
แล้วนิทานของเขาก็จบ
นิทานนี้
สอนว่าอย่างไร
จะเห็นว่าอย่างไร ก็ลองคิดดู
คนบางคน เขาย่อมต้องการอะไร
อย่างที่ตรงกันข้าม
กับที่เราจะนึก
จะฝันก็เป็นได้
นี่จงดูสติปัญญา ของคนแก่ ซิ
แกมี แบบแห่งความ ยึดมั่น
ถือมั่น ของแกเอง
เป็นแบบหนึ่ง ยิ่งแก่
ยิ่งหนังเหนียว คือ
หมายความว่า มันยิ่ง
ยึดมั่นถือมั่นมาก ฉะนั้น
ถ้าเราจะไปโกรธ
คนที่มีความคิด อย่างอื่น
มีหลักเกณฑ์ อย่างอื่น
มีความเคยชิน เป็นนิสัย
อย่างอื่น นั้นไม่ได้
เราต้องให้อภัย
เราไม่โกรธใครเร็วเกินไป
หรือเราไม่โกรธใครเลย
นั่นแหละดีที่สุด และจะเป็น
ครูบาอาจารย์
ที่มีความสุขที่สุด
แล้วจะเป็น ครูบาอาจารย์
ที่ทำหน้าที่
ได้ดีที่สุดด้วย
และสนุกที่สุดด้วย ฉะนั้น
ขอให้จำไว้ว่า คนเรานั้น
มีอะไรที่ ไม่เหมือนกัน
มีอะไรที่ ไม่นึกไม่ฝัน
กันมาก ถึงอย่างนี้
นิทานเซ็น
มหรสพทางวิญญาณเพื่อจริยธรรม
เล่าโดย.. ท่านพุทธทาสภิกขุ
แห่งสวนโมกขพลาราม ณ
หอประชุมคุรุสภา
พุทธศักราช ๒๕๐๕ พิมพ์โดย
ธรรมสภา