ทฤษฎีของเรื่องไตเตรชั่นนั้นเป็นเรื่องยาวพอสมควรครับ ครอบคลุมถึงเรื่อง สารละลายมาตรฐาน, การเลือก
อินดิเคเตอร์, ประเภทของเส้นโค้งไตเตรชั่น ซึ่งแบ่งได้เป็นหลายประเภท เช่น ระหว่างกรดแก่กับเบสแก่, ระหว่าง
กรดอ่อนกับเบสแก่, ระหว่างกรดแก่กับเบสอ่อน, ระหว่างกรดอ่อนกับเบสอ่อน การคำนวณยากขึ้นสำหรับกรด
อ่อน (หรือเบสอ่อน) ที่มีค่าคงที่การแตกตัวหลายค่า ผมจะเน้นในเรื่องของการสร้างเส้นโค้งไตเตรชั่น ซึ่งเรา
สามารถทำให้เป็นอัตโนมัติด้วย VBA ใน EXCEL ได้ และใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาเคมี เพื่อทำความเข้าใจ
กระบวนการคำนวณครับ
นิยาม
เส้นโค้งไตเตรชั่น เป็นกราฟที่แสดงปริมาตรของสารละลายในบิวเรตที่เติมลงไปในขวดรูปชมพู่ในแกน-x และตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความเข้มข้น [ในกรณีนี้คือค่า pH ซึ่งเท่ากับ log(ความเข้มข้นของโปรตอน ในสารละลาย)] ในแกน-y
เราเริ่มจากกรณีของการไตเตรทด้วยเบสแก่กับกรดแก่กันก่อนครับ
แหล่งของโปรตอน (ไฮโดรเนียมไอออน, H3O+) และไฮดรอกไซด์ในสารละลายนั้นมีได้
2 แหล่ง คือจากกรดแก่ (หรือเบสแก่) และจากการแตกตัวของน้ำ (ซึ่งมีความเข้มข้นประมาณ 1 x 10-7
M) ในกรณีที่กรดแก่หรือเบสแก่นั้น ๆ มีความเข้มข้นมากกว่า 1 x 10-6 M เราสามารถประมาณได้ว่า
ความเข้มข้นของโปรตอน หรือไฮดรอกไซด์ในสารละลายมีค่าเท่ากับความเข้มข้นของกรดแก่ หรือเบสแก่ ในตัว
โปรแกรมผมกำหนดค่าความเข้มข้นต่ำสุดของกรดแก่หรือเบสแก่ไว้ที่ 1 x 10-4 M ครับ.
โจทย์
สมมุติว่าเรามีกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ความเข้มข้น 0.0500 M ปริมาตร 50 ml อยู่ในขวดรูปชมพู่ และต้องการหาจุด
สมมูล (end point) และเส้นโค้งไตเตรชั่น จากการไตเตรตด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ความเข้มข้น 0.1000 M
ขั้นที่สอง : หลังจากเติม NaOH ลงไปได้ 10 ml
ปริมาณของโปรตอนตั้งต้น = 0.05 M * 0.05 L = 0.0025 mol
ปริมาณของโปรตอนที่ถูกทำให้เป็นกลาง (neutralised) = 0.1 M * 0.01 L = 0.0010 mol
ปริมาณของโปรตอนที่เหลืออยู่ = 0.0025 0.0010 = 0.0015 mol
ความเข้มข้นของโปรตอนที่เหลืออยู่ = 0.0015 mol / [(50 + 10) x 1e-3] L = 0.025 M
ค่า pH = -log(0.025) = 1.602
ขั้นที่สาม : ที่จุดสมมูล
เนื่องจากกรดแก่ทำปฏิกิริยา neutralisation กับเบสแก่ ย่อมได้ค่า pH = 7 ณ จุดสมมูล หลังจากเติม NaOH
ลงไปได้ = 0.05 x 0.05 / 0.1 = 0.025 L หรือ 25 ml
ขั้นที่สี่ : หลังจากเติม NaOH ลงไปได้ 25.10 ml
ปริมาณของไฮดรอกไซด์ตั้งต้น = 0.1 M * 0.0251 L = 0.00251 mol
ปริมาณของไฮดรอกไซด์ที่ถูกทำให้เป็นกลาง (neutralised) = 0.0025 mol
ปริมาณของไฮดรอกไซด์ที่เหลืออยู่ = 0.00251 0.0025 = 0.00001 mol
ความเข้มข้นของไฮดรอกไซด์ที่เหลืออยู่ = 0.00001 mol / [(50 + 25.1) x 1E-3] L = 1.33E-4 M
ค่า pOH = -log(1.33E-4) = 3.88 ดังนั้นค่า pH = 14 3.88 = 10.12
จะเห็นได้ว่ากว่าที่เราจะได้เส้นโค้งไตเตรชั่นออกมา ต้องมีการคำนวณที่ประกอบไปด้วยสี่ขั้นตอนนี้ และเพื่อ ที่จะให้สร้างกราฟได้ต้องมีการคำนวณหลาย ๆ จุด ในขั้นตอนที่สองและสี่ ซึ่งเป็นการคำนวณที่ซ้ำไปมา เรา อาจให้คอมพิวเตอร์คำนวณให้เราได้ครับ โดยเฉพาะถ้าเราต้องการเปรียบเทียบว่า เส้นโค้งจะแตกต่างกัน อย่างไร ในอีกกรณีที่ เรามีกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ความเข้มข้น 0.000500 M ปริมาตร 50 ml อยู่ในขวดรูป ชมพู่ และต้องการหาจุดสมมูล (end point) และเส้นโค้งไตเตรชั่น จากการไตเตรตด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอก ไซด์ (NaOH) ความเข้มข้น 0.001000 M ถ้าต้องคำนวณซ้ำอีกก็ยุ่งยากแน่นอนครับ