Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!


โปรแกรมไตเตรชั่นและไฟล์ประกอบ (ตอนที่ 4)


สวัสดีครับเพื่อน ๆ เมื่อสามกระทู้ที่แล้ว

เราได้พัฒนาโปรแกรม Titration ด้วย Visual Basic for Applications (VBA) ใน EXCEL2000 มาจนถึงเวอร์ชั่น สาม ซึ่งเราสามารถนำไปใช้ศึกษาเส้นโค้งไตเตรชั่นระหว่างกรดและเบสหลายชนิด จะมีประโยชน์ในการเตรียม ปฏิบัติการเคมีที่โรงเรียนหรือห้องแล็บ เพื่อเปรียบเทียบผลการทดลองจริง และผลการคำนวณทางทฤษฎีครับ

ในกระทู้นี้ผมอัพเกรดเวอร์ชั่นสาม ขึ้นไปอีกเป็นเวอร์ชั่นสี่ มีชื่อว่า “TitrationV4.xls” และไฟล์ประกอบ (เพื่อเอนิเมชั่น -animation โดยเฉพาะ) มีชื่อว่า “IndicatorV1.xls”

เพื่อการทำงานที่สมบูรณ์ไฟล์ “TitrationV4.xls” และ “IndicatorV1.xls” ควรจะถูกบันทึกไว้ในไดเรคทอรี่เดียวกัน ครับ แต่โปรแกรม “TitrationV4.xls” สามารถตรวจสอบได้เองว่า ไฟล์ประกอบมีอยู่ในไดเรคทอรี่หรือไม่ ถ้าไม่มี ก็ยังทำงานได้อยู่ ความแตกต่างจะอยู่ที่ dialog “Calculated Titration Curve” ข้างล่างครับ จะเห็นว่ามีปุ่ม “Check Indicator” เพิ่มเข้ามา


จุดประสงค์ของ “IndicatorV1.xls” เพื่อแสดงให้เห็นกระบวนการไตเตรชั่นด้วยภาพเคลื่อนไหวครับ หลังจากกดปุ่ม “Check indicator” จากภาพข้างบน เพื่อน ๆ ควรจะเห็น dialog box ข้างล่าง แสดงบิวเรตและขวดรูปชมพู่เปล่า ๆ ต่อไปกดปุ่ม Animation…


ตัวโปรแกรมจะทำการเติมบิวเรตให้เต็ม เพื่อน ๆ จะเห็นภาพเคลื่อนไหว ตอนบิวเรตค่อย ๆ เต็ม…


จนเต็ม ก่อนที่…


ขวดรูปชมพู่จะถูกเติมให้เต็มต่อมา…


หลังจากที่บิวเรตและขวดรูปชมพู่พร้อมแล้ว เราก็สามารถเลือกชนิดของอินดิเคเตอร์ได้จากบัญชีรายชื่อทางขวามือ ในภาพข้างล่าง เราเลือก Bromothymol blue ซึ่งมีช่วงเปลี่ยน pH ตั้งแต่ 6.2 – 7.6 โดยเปลี่ยนจากสีเหลืองไปเป็น สีน้ำเงิน ขอให้สังเกต Pasteur pipette ที่ปรากฎขึ้นมา เพื่อใส่ลงในขวดรูปชมพู่ เพื่อน ๆ สามารถตัดสินใจได้ว่า ควรจะเลือกอินดิเคเตอร์ตัวใดลงไป จากข้อมูลของสารเคมีที่อยู่ในบิวเรต, ขวดรูปชมพู่ และค่า pH เริ่มต้น ซึ่ง ในกรณีนี้เรามี เบสอ่อนเปอร์ไอโอเดตความเข้มข้น 0.1 M และค่า pH เริ่มต้น 10.650….


เช่นเดียวกับความคิดเห็นข้างบน แต่เราเลือก Methyl Yellow เป็นอินดิเคเตอร์แทน, ขอให้สังเกตสีของ ของเหลวที่อยู่ใน Pasteur Pipette ที่เปลี่ยนไปครับ…


จากความคิดเห็นข้างบน เรากดปุ่ม Add.. เพื่อเติมอินดิเคเตอร์ลงไปในขวดรูปชมพู่ ซึ่งเพื่อน ๆ จะเห็นอินดิเคเตอร์ค่อย ๆ ถูกเติมลงไปในขวดรูปชมพู่ครับ…


หลังเติมอินดิเคเตอร์แล้ว สารละลายในขวดรูปชมพู่ก็จะเปลี่ยนไปตามสีของอินเคเตอร์และระดับ pH อย่างในภาพ ข้างล่างนั้น เมื่อ pH ของสารละลายในขวดรูปชมพู่สูงกว่าสี่ เราจะได้สีเหลือง ขั้นต่อไปคือการเลือกความเร็วของ การไตเตรต (การเติมสารละลายจากบิวเรตแต่ละครั้งจะใช้เวลา 1 วินาที) ว่าเพื่อน ๆ ต้องการเร็วหรือช้า ถ้าเร็ว การ ไตเตรตจะเสร็จในเวลาประมาณ 2 – 5 นาที ถ้าช้า การไตเตรตจะเสร็จในเวลา 4 – 10 นาที


ในระหว่างที่ไตเตรตนั้น ขอให้เพื่อน ๆ สังเกตหน้าต่าง “Progress of Titration…” ครับ ว่าจะถูกอัพเดทไปเรื่อย ๆ เหมือนกับตอนที่เรา log ข้อมูลไตเตรตจาก autotitrator และเพื่อน ๆ จะเห็นเอนิเมชั่นของสารละลายในบิวเรต ที่ค่อย ๆ หยดลงไปในขวดรูปชมพู่ด้วย…


นอกจากจะเห็นการหยดของสารละลายในบิวเรตแล้ว สีของสารละลายในขวดรูปชมพู่ก็จะเปลี่ยนไป ตามระดับ pH ที่เปลี่ยนไปด้วยครับ เหมือนกับการไตเตรตในห้องทดลองจริง ๆ


เราลองใช้อินดิเคเตอร์ Thymol blue บ้างครับ คราวนี้เมื่อ pH อยู่ที่ 8.371 สารละลายในขวดรูปชมพู่ก็จะเปลี่ยน เป็นสีเขียว


อินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมคือ อันที่ sensitive กับปริมาตรของสารละลายในบิวเรตครับ เช่นถ้าอินดิเคเตอร์มีช่วง pH ระหว่าง 3 – 6 จากแดงเป็นเหลือง ถ้าเพื่อน ๆ เห็นการเปลี่ยนสีจากแดงเป็นส้มเป็นเหลือง ในช่วงเวลาสั้นมาก ๆ (ตั้ง speed ที่ slow) แสดงว่าอินดิเคเตอร์นั้นเหมาะสมในการใช้ทดลองครับ (แน่นอนว่าดูง่ายที่สุดจาก เส้นโค้งไตเตรชั่นครับ)

การพัฒนาโปรแกรมในขั้นต่อไปก็เพียงแต่การเพิ่มชนิดของกรดอ่อนและเบสอ่อน และชนิดของอินดิเคเตอร์อื่น ๆ ลงในบัญชีรายชื่อครับ เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้นไปอีก…. ขอให้สนุกกับการใช้โปรแกรมครับ


หากมีข้อแนะนำกรุณาติดต่อที่อีเมลล์ : Practical_x_2@hotmail.com