Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!


สีน้ำเงินที่เกิดขึ้นเวลาทำ iodine test ของแป้งมาจากไหน ?
(20 ธ.ค. 47)


คำถามโดย คุณ สถานะ-ว่างงาน

เวลาที่ทำ iodine test กับพวก starch จะได้สีน้ำเงิน ซึ่งอธิบายว่าเกิดขึ้นเพราะไอโอดีนเข้าไปอยู่ภายในโครงสร้าง helix ของ starch ทำให้เห็นผลเป็นสารสีน้ำเงิน

สงสัยว่าทำไมถึงเห็นเป็นสีน้ำเงินค่ะ ทำไมไม่เห็นเป็นสีเหลืองของไอโอดีน หรือว่าสีอื่นๆ ?


Practical x 2

สีน้ำเงินเข้มที่เกิดจาก การเติมสารแขวนลอยแป้งลงในสารละลายไอโอดีนนั้น คาดว่าเกิดจากการซึมซับ โมเลกุลของไอโอดีนเข้าไปในแป้งครับ ซึ่งแป้งเป็นโพลีเมอร์ชนิดหนึ่งประกอบไปด้วยโครงสร้างแบบ บันไดเกลียว (helical chain) ของ เบต้า-อะไมโลส (แต่ถ้ามี อัลฟ่า-อะไมโลส เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย จะทำปฏิกิริยากับไอโอดีนได้สีแดง ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่ย้อนกลับไม่ได้ องค์ประกอบอัลฟ่า-อะไมโลสจึง ไม่เป็นที่พึงประสงค์ สำหรับแป้งที่เราจะใช้เป็นอินดิเคเตอร์สำหรับไอโอดีนครับ) นอกจากนี้แป้งยังสลาย ตัวได้ง่ายในกรณีที่มีความเข้มข้นของไอโอดีนสูง ๆ ปฏิกิริยาบางอย่างเช่นการไตเตรตไอโอดีนด้วย โซเดียมไทโอซัลเฟต (Sodium Thiosulfate, NaS2O3) จึงมักนิยมเติมแป้ง ลงไปในตอนท้าย ๆ ก่อนที่จะถึงจุดสมมูล เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีความเข้มข้นของไอโอดีนสูงเกินไปครับ

ภาพแสดงการแทรกตัวของไอโอดีนเข้าไปในโมเลกุลของแป้งครับ

เอกสารอ้างอิง

Skoog DA, West DM, Holler FJ. (1996) Fundamentals of Analytical Chemistry, 7th edn. Saunders College Publishing, New York, pp. 364 - 365.

จากการวิเคราะห์การดูดกลืนแสง ในช่วงความยาวคลื่น 400 - 900 nm เปรียบเทียบกันระหว่างสารละลายไอโอดีน กับสารละลายไอโอดีนที่ใส่แป้งลงไป จะเห็นความแตกต่างดังภาพข้างล่างครับ ซึ่งจะเห็นว่าช่วงที่ดูดกลืนแสงได้ มากที่สุดคือที่ 563 nm (maximum absorption) จึงทำให้เห็นสารละลายเป็นสีน้ำเงินครับ ดูเอกสารอ้างอิงได้ ที่นี่ ครับ


หากมีข้อแนะนำกรุณาติดต่อที่อีเมลล์ : Practical_x_2@hotmail.com