Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!


แรงเสียดทานขึ้นกับพื้นที่ผิวสัมผัสหรือไม่ ?
(27 ม.ค. 47)


คำถามโดยคุณน้าพร

ไม้ตันทรงสี่เหลี่ยม มุมฉากทุกด้านหนัก 10 ตัน
วางกับพื้นโดยด้านล่างมีพื้นที่ผิว สัมผัส = 1.0 ตารางเมตร แล้วลากด้วยแรง F1 ไม้จึงเริ่มเคลื่อนที่
พลิกไม้ท่อนนี้วางโดยเอาด้านข้าง ที่มีผิวสัมผัส = 0.5 ตารางเมตร และลากด้วยแรง F2 ไม้จึงเริ่มเคลื่อนที่

ถามว่า F1 = F2 หรือไม่ เพราะเหตุใด?
ค่า มิวครั้งแรก = m1 ครั้งที่สอง = m2
แต่ไม่บอกว่า m1 = m2 หรือไม่
ผมจำไม่ได้แล้วครับ แต่ เชื่อว่า m2 > m1 เพราะ พท. ต่อแรงปฎิกิริยาน้อยกว่า
เพราะฉนั้น F2 > F1 ใช่หรือไม่ครับ


Practical x 2

ถ้าพื้นผิวของไม้ทุกด้านมีลักษณะไม่แตกต่างกัน ค่า F1 = F2 ครับ
เพราะแรงเสียดทานไม่ขึ้นกับพื้นที่ผิวสัมผัส และค่าสัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทาน เรา คำนวณได้จากอัตราส่วนของแรงที่ต้องใช้ในการทำให้วัตถุเคลื่อนที่ บนพื้นผิวด้วย ความเร็วคงที่กับ น้ำหนักของวัตถุ

ถ้าพิจารณาในแง่ของแรงเสียดทาน พื้นที่ผิวไม่มีผลใด ๆ ครับ แต่แรงเสียดทานอย่างเดียวไม่เพียงพอในการ อธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุมวลมาก ที่มีพื้นที่ผิวน้อย ๆ เพราะเมื่อมีแรงกดลงบนพื้นผิวมากอาจทำให้พื้นที่ ผิวสัมผัสนั้น ๆ เปลี่ยนแปลงไป แต่ถ้าในกรณีข้อสอบคงต้องการเพียงทดสอบความเข้าใจเรื่องของแรงเสียดทาน ว่าไม่ขึ้นกับพื้นที่ผิวสัมผัสครับ (ทดลองโดยใช้ตาชั่งสปริงก็ได้ครับ สำหรับวัตถุที่ไม่หนักมากเกินไป)


หากมีข้อแนะนำกรุณาติดต่อที่อีเมลล์ : Practical_x_2@hotmail.com