(1) สนามแม่เหล็กมี ความยาวคลื่น,ความถี่ของมันไม๊ครับ
ในเมื่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เสียง ต่างก็เป็นพลังงงานที่เป็นคลื่น แล้วสนามแม่เหล็กก็เป็นพลังงานเหมือนกัน แต่มันเป็นคลื่นรึเปล่าครับ ถ้าเป็นจะมีความยาวคลื่น ความถี่เท่าไหร่ แสงเป็นคลื่น ถี่ความยาวคลื่นสั้น จึงเกิดการสะท้อนได้ง่าย แต่ทำไมเส้นแรงแม่เหล็กจึงทะลุได้สิ่งอย่างเลยละครับ พุ่งออกจากแกนโลกทะลุชั้น แมนเทิลหนาตั้ง ประมาณ 3000 กม ได้ แสดงว่าต้องเป็นพลังงานที่สูงมาก...
อย่าสับสนครับ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดขึ้นมาจาก interaction ระหว่างสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก
คำ "สนามแม่เหล็ก" ใช้อธิบายบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงพลังงานครับ,
สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กไม่ใช่คลื่นครับ สิ่งที่น้อง Styer ควรจะทบทวนก่อนคือคุณสมบัติของคลื่น ครับ แล้วพิจารณาดูว่าสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กควรจะเป็นคลื่นหรือไม่ และต่อไปก็ศึกษาดูว่าสนามไฟฟ้า และสนามแม่เหล็กเกิดขึ้นจากอะไรต่อมาครับ
การกำเนิดของสนามแม่เหล็กโลกยังเป็นปริศนาอยู่ครับ แต่คาดเดาว่าเกิดจากการเคลื่อนที่ของโลหะหลอมเหลว ใต้เปลือกโลก น้อง Styer ลองดูครับว่าโลกเราประกอบไปด้วยโลหะหลอมเหลวนี้ปริมาณมากแค่ไหนถ้าเทียบกับ ส่วนเปลือกโลก เมื่อทราบแล้วก็อาจจะพอเข้าใจว่าทำไมสนามแม่เหล็กโลกจึงสามารถทะลุผ่านชั้นแมนเทิลที่ คิดว่าหนาได้ครับ ^ ^
งั้นก็แสดงว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดจาก การที่ e- ได้รับพลังงานจึงเกิดการเคลื่อนที่เร็วขึ้นในขณะที่อะตอม มีสนามไฟฟ้าอยู่แล้วแล้ว เมื่อ e- ได้รับพลังงานจนทำให้เคลื่อนที่ จนเกิดสนามแม่เหล็กที่มีพลังงานในระดับหนึ่ง พลังงานจากสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าจึงรวมตัวกันจึงเกิด เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแผ่ออกไปไชรึเปล่าอ่าครับ
e- ได้รับพลังงานจะเปลี่ยนจาก ground state เป็น excited state สักพักพอมันอยู่จนพอใจแล้วจึงกลับลงมา ground state โดยคายพลังงานที่ได้รับกลับออกมาในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไม่ใช่เหรอครับ อืม แต่จะว่าไปก็แปลกนะ เพราะวัตถุทุกชนิดมีe-วิ่งรอบโปรตอนและหมุนรอบตัวด้วย มันก็น่าจะมีสนามแม่เหล็กเกิดขึ้นนะ ทั้งโลกนี้ก็คงเต็มไปด้วยสนามแม่เหล็ก รอผู้รู้อยู่ครับ
# 5 โดยสรุปก็คืออิเล็คตรอนทำให้เกิดสนามไฟฟ้าอยู่แล้ว และเมื่อมันเคลื่อนที่ก็จะทำให้เกิด สนามแม่เหล็กครับ เมื่อทั้งสองสนามมาผสานกันเข้าก็จะเกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าครับ โดย ความถี่ของคลื่นก็ขึ้นกับความถี่ในการสั่นของอิเล็คตรอนนั้น ๆ และยังขึ้นกับอุณหภูมิของ วัตถุด้วยครับ ตามกฎของวีน (Wein's law)
# 6 ใช่แล้วครับโลกเราเต็มไปด้วยสนามแม่เหล็กขนาดต่าง ๆ กัน ทั้งนี้คงขึ้นกับชนิดของสสารด้วยครับว่าจะ ถูกสนามแม่เหล็กกระทบกระเทือนมากแค่ไหน เช่น เป็น dia-, para-, หรือ ferro-magnetic ในหลายกรณี สนามแม่เหล็กอ่อนมากถ้าเทียบกับสนามไฟฟ้าระหว่างอิเล็คตรอนกับนิวเคลียส จนไม่ต้องคำนึงถึงครับ
(2) เส้นแรงสนามแม่เหล็กแสดงขั้วมั้ยครับ
คือว่า ผมงงกับเรื่องไฟฟ้าแม่เหล็กน่ะครับ
คือมันบอกว่า ถ้า e- เข้าใกล้กับสนามแม่เหล็ก e-จะวิ่งวนเข้าไปในสนามแม่เหล็กไช่ไหมครับ ผมงงตรงที่ว่า e- มันวิ่งวนเข้าไปในเส้นแรงของสนามแม่เหล็กได้ยังไง เพราะว่า e- มีประจุลบ แสดงว่าเส้นแรงของสนามแม่เหล็กต้องมีอะไรสักอย่างที่ทำให้ e-วิ่งในสนามได้ไช่ไหมครับ
แล้วได้ยินว่า ถ้าเอาแม่เหล็กไปไว้ใกล้กับถ่านไฟฉายนานๆหรือ ชิป ในเมนบอร์ดของคอม จะทำให้ถ่านหมดเร็วแล้ว ชิปตัวนั้นจะเสียไปเลย มันเสียได้ยังไงครับ ทำไมเป็นอบ่างนั้น....
การเคลื่อนที่ของประจุทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นครับ ในกรณีของอิเล็คตรอนที่กำลังเคลื่อนที่ก็เช่นกันครับ การที่ประจุเคลื่อนที่แล้วทำให้เกิดสนามแม่เหล็กจึงเป็นเหตุผลที่เมื่อมันเคลื่อนที่เข้าใกล้บริเวณที่มีสนามแม่ เหล็ก จึงเกิด interaction กันขึ้น ทำให้เกิดแรง ซึ่งน้อง styer คงกำลังเรียนอยู่ตอนนี้ครับ
ทุกอะตอมในสสารล้วนประกอบไปด้วย โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน โดยที่อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่อยู่รอบ นิวเคลียส และการเคลื่อนที่ของประจุย่อมทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก ดังนั้นวัตถุทั้งหลายจึงได้รับผลกระทบจาก สนามแม่เหล็กครับ อาจมากน้อยต่างกันขึ้นกับคุณสมบัติของอะตอมที่สสารเหล่านั้นมีอยู่ว่าเป็น diamagnetic, paramagnetic, หรือ ferromagnetic (จัดเรียงตามลำดับผลกระทบของสนามแม่เหล็กจากน้อยไปหามาก) พวก ที่ได้รับผลกระทบมากคือมันถูกเหนี่ยวนำให้มีคุณสมบัติแม่เหล็กไปด้วย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้อาจมีผลให้อุปกรณ์ ชิ้นนั้น ๆ ทำงานได้ไม่เหมือนเดิม หรือสื่อสารกับอุปกรณ์ใกล้เคียงไม่ได้ เรื่องนี้ คุณช่างไฟ และคุณ J-a-y คงช่วย อธิบายได้ดีครับ ^ ^
ครับแล้วถ้าจะถามว่า โลกของเรามีสนามแม่เหล็กแสดงว่า อะตอมทุกอะตอมที่อยู่ในโลกนี้ก็เกิด interaction กับสนามแม่เหล็กโลกตลอดเวลาไช่ไหมครับ
ใช่ครับ