Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!


มวลของนิวตริโน่ที่หายไป (31 ต.ค. 46)


คำถามโดย คุณ Bad Karma

ผมเพิ่งอ่านเกี่ยวกับ neutrinos ถึงความสงสัยว่า missing mass ของ neutrinos นั้นอาจมีอยู่จริงๆ เลยสงสัยว่าจักรวาลเรามีน้ำหนักป่าวครับ แล้วนักวิทย์ฯ ใช้วิธีการอะไรหาน้ำหนัก


Practical x 2

เรื่องของ missing masses นั้นเป็นไปได้หลายอย่างครับ ไม่ใช่เฉพาะแต่นิวตริโน่ เมื่อก่อนนี้เขาคิดว่านิวตริโน่ ไม่มีมวล (massless) แต่ภายหลังพบหลักฐานว่ามี ถึงจะน้อยมาก ๆ ก็ตาม แต่เนื่องจากปริมาณที่มีอยู่อย่างมากมาย อาจทำให้อธิบายมวลที่หายไปได้ นักดาราศาสตร์ลองเปรียบเทียบมวลของวัตถุทั้งหลายในจักรวาล และปริมาณ ของพลังงานที่ปล่อยออกมา และพบว่าไม่สัมพันธ์กัน โดยพบว่ามวลที่เราหาได้คิดเป็นเพียง 10-20% (w/w) ของ มวลทั้งหมดเท่านั้น จึงเกิดคำถามว่าแล้วมวลที่หายไป มันไปอยู่ที่ไหนเสีย คำอธิบายง่าย ๆ ก็อาจเป็นเพราะคำนวณ ผิดไปก็ได้ เพราะการหาค่ามวลของดวงดาวต่าง ๆ ก็ได้แต่ประมาณกันไป อาจผิดพลาดก็ได้ เพราะใช้แต่ความรู้ที่ มีอยู่ในปัจจุบัน และมีสิ่งที่เราไม่รู้อีกมากมาย

อีกเหตุผลหนึ่งที่อาจมาอธิบายมวลที่หายไปก็คือ Hidden matter ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นดาวแคระน้ำตาล (brown dwarfs), ดาวแคระขาว (white dwarfs), ดาวนิวตรอน (neutron stars) ซึ่งมีมวลมากทั้งสิ้น แต่มองไม่ใคร่จะเห็น จากโลก เพราะแสงที่เปล่งออกมาน้อยเหลือเกิน

อีกทฤษฏีหนึ่งก็คือ WIMP หรือ Weakly Interaction Massive Particles ซึ่งคล้าย ๆ กับกรณีของนิวตริโน่นั่นแหละ ครับ แต่คาดกันว่ามวลมากกว่าโปรตอนหรือนิวตรอนประมาณ 100 กว่าเท่า แต่ไม่สามารถตรวจจับได้ด้วยวิธีการใด ๆ และประมาณว่ามีอยู่เป็นจำนวนมหาศาลในจักรวาล

ฟังหูไว้หูครับ บางทีเดี๋ยวเขามีไอเดียใหม่ หรือมีข้อมูลใหม่ ความคิดเดิม ๆ ก็ถูกลบไป เปลี่ยนไป ^ ^

วิธีวัดมวลของดาวต่าง ๆ เขาใช้กฎของเคปเลอร์ข้อที่สาม (Kepler's law) ครับ ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 17 แล้ว (ยังไม่มีใครหาวิธีที่ดีกว่านี้ได้ หรือถ้าท่านใดทราบก็ช่วยบอกด้วยครับ ขอบคุณครับ) ดูจาก link นี้ครับ

ลิงก์กฎของเคปเลอร์


หากมีข้อแนะนำกรุณาติดต่อที่อีเมลล์ : Practical_x_2@hotmail.com