Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!


คณิตศาสตร์ในนวนิยายไทย


ข้อความจาก “ร่มฉัตร” บทประพันธ์ของ ทมยันตี, ปี 2513, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม หน้า 138

……พ่อนวมโดนเฆี่ยน ทั้งที่รุ่นหนุ่มแล้วก็ยังร้องไห้เอ็ดตะโรไม่อายใคร อยู่นั่นเอง จากนั้นมาพ่อนวมก็ถูกพ่อเรียกตัวขึ้นมาทบทวนบทเรียน เป็นประจำ มีผลทำให้วาดพลอยได้ยินได้ฟังไปด้วย เริ่มด้วยการท่อง สูตรคูณตั้งแต่แม่เอก แม่โท แม่ตรีจนถึงแม่นพ คือแม่เก้า เวลาท่อง สูตรคูณพ่อนวมมักจะต้องลอยหน้าลอยตาประกอบไปด้วยทุกครั้ง

“นพเอกา ๙, นพโท ๑๘, นพตรี ๒๗, นพจัตวา ๓๖, นพเบ็ญจ ๔๕, นพฉ้อ ๕๔, นพสัปต ๖๓, นพอัฐ ๗๒, นพนพ ๘๑”

ต่อมาคือวิธีลบ ซึ่งเรียกว่าวิธี “เหยียด” เริ่มจากจำนวนสิบ เหยียดออกทีละขั้นเรื่อยไป

“เหยียดเอกเป็นนพ, เหยียดโทเป็นอัฐ, เหยียดตรีเป็นสัปต…”

ครั้นเริ่มวิธีคูณ หาร จะต้องเริ่มการทำ “นพพล” คือการตั้งเลข ตั้งแต่หนึ่งถึงเก้าแล้วใช้ ๒ คูณ ๒ หาร เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ จนถึง ๙ คูณและ ๙ หาร จากการทำ “นพพล” จะเพิ่มเป็น “นพพัน” และ “นพพวง” ซึ่งจะต้องเรียนถึงการตั้งเลข ๑ ถึง ๙ คูณหารด้วยเลข ๑ ถึง ๙ เช่นกัน… ฉะนั้นในรุ่นหลัง ๆ ต่อมาเด็ก ๆ จึงแปลกใจนักหนา ที่เห็นวาดสามารถคูณหารด้วยเลขยาว ๆ ได้อย่างรวดเร็วจนหลานชาย บางคนออกปากว่า

“น่ากลัวคุณย่าเคยเรียนแคลคูลัส !” ……


หากมีข้อแนะนำกรุณาติดต่อที่อีเมลล์ : Practical_x_2@hotmail.com