Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!

โรคสมาธิสั้น

โดยแพทย์หญิง วินัดดา ปิยะศิลป์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

โรคสมาธิสั้นเป็นโรคที่รู้จักกันมานานกว่า 100 ปี เริ่มเห็นอาการตั้งแต่วัยเด็กเล็กโดยมักจะเลี้ยงยาก เคลื่อนไหวอยู่ตลอด ไม่ชอบอยู่นิ่ง ทำอะไรไม่ได้นาน ซุกซนและไม่ค่อยฟังคำสั่ง จะเห็นอาการได้มากขึ้น เมื่ออยู่ในวัยอนุบาลยุ่งยากจากภาวะเด็กซุกซนตามวัย มีอาการแสดงชัดเจนเมื่อเข้าวัยประถม โดยจะมีลักษณะเด่น 3 อย่าง คือ
1. สมาธิสั้น
2. อยู่นิ่งๆ ไม่ได้นาน
3. การควบคุมตัวเองต่ำ(การพูดหรือการกระทำ)
       เป็นโรคที่เรื้อรังสามารถพบอาการได้ตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น และบางรายมีอาการหลงเหลือ วัยผู้ใหญ่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชิวิตของเด็ก ชิวิตในครอบครัว โรงเรียนและในสังคม
รายละเอียดของอาการ
1. สมาธิสั้นจะมีลักษณะต่อไปนี้ ติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 6 เดือน
1.1 มักจะล้มเหลวในการงาน การเรียนและการเล่นที่มีรายละเอียด มีผลทำให้งานผิดพลาดบ่อยๆ
1.2 มีความยากลำบากในการตั้งสมาธิกับงานหรือการเล่น
1.3 ทำท่าเหมือนไม่ตั้งใจเวลามีคนพูดด้วย
1.4 ไม่สามารถทำตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จ ซึ่งไม่ใช่มาจากการตื้อหรือไม่เข้าใจคำสั่ง
1.5 มีความยุ่งยากในการจัดเรียงขั้นตอนในการทำงานหรือการเล่น
1.6 ชอบหลีกเลี่ยงหรือไม่ชอบที่จะทำงานหรือเล่นในสิ่งที่ยาก
1.7 ทำของหายบ่อยๆ เช่นของเล่น ของใช้ สมุด ฯลฯ 1.8 วอกแวกตามสิ่งกระตุ้นภายนอก
1.9 ลืมกิจวัตรประจำวันที่ต้องทำอยู่เสมอ

2. อาการซุกซนไม่อยู่นิ่งควบคุมตัวเองได้ไม่ดี จะมีลักษณะต่อไปนี้

2.1 ยุกยิกขยับตัวหรือมือหรือขาไปมา กระสับกระส่ายอยู่ไม่เป็นสุข
2.2 นั่งอยู่กับที่ ไม่ได้นาน จะต้องลุกเดินไปมาอยู่เรื่อยๆ
2.3 วิ่ง ปีนป่ายรุนแรง ทำให้เสื่ยงต่ออันตราย
2.4 เล่นหรือทำกิจกรรมเงียบๆ ไม่ค่อยได้
2.5 ทำอะไรรวดเร็ว ยั้งไม่ค่อยอยู่ รอคอยไม่เป็น
2.6 พูดมาก
2.7 พูดโพล่งออกไปก่อนคนจะถามเสร็จหรือชอบพูดทะลุกลางปล้อง
2.8 ยั้งตัวเองไม่ค่อยอยู่
2.9 ชอบขัดจังหวะผู้อื่น ขณะที่คนนั้นกำลังพูดหรือเล่นอยู่

             โดยที่อาการดังกล่าวเกิดชึ้นก่อนอายุ 7 ปี และอาการเหล่านี้ปรากฎให้เห็นในชีวิตประจำวัน 2 สถานที่หรือมากกว่าเช่นที่บ้าน ที่โรงเรียน โรงพยาบาล ที่ทำงาน ฯลฯ เห็นผลกระทบของอาการต่อการเข้าสังคม การเรียนหรือการทำงานโดยมิเกิดจากอาการทางจิตใจ หรือเป็นโรคที่มีพัฒนาการผิดปกติ

สาเหตุ
1. พันธุกรรม
2. อาการบกพร่องในการทำงานของระบบประสาท ซึ่งอาจเกิดจากอุบัติเหตุ สารพิษ การพัฒนาการล่าช้า เป็นต้น โดยอาจพบว่ามีระดับสารเคมีในสมองผิดปกติ ส่งผลทำให้ระบบการควบคุมความตั้งใจและ/หรือการเคลื่อนไหว ทำงานได้น้อยกว่าปกติ

ผลกระทบ
1. การเรียนรู้ ตามที่เด็กที่ความสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ไม่นาน พูดมาก อยู่ไม่นิ่ง นั่งไม่ติดที่ จะทำให้เด็กมีการรับรู้ต่ำกว่าเพื่อนๆ ทำงานไม่เสร็จ และบางครั้งยังก่อกวนความสงบสุขภายในชั้นเรียนอีกด้วย
2. พฤติกรรมเบี่ยงเบน พบได้ตั้งแต่พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ทำอะไรรุนแรง ข้างของเสียหาย ก้าวร้าว เพื่อนไม่ชอบเล่นด้วย ขาดทักษะต่างๆ เนื่องจากอดทนเล่นฝึกไม่ได้นาน และก่อกวนเด็กอื่น พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กสมาธิสั้น มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการดำเนินโรคของพ่อแม่และคุณครูเป็นอย่างยิ่ง
3. มีภาพพจน์ต่อตัวเองไม่ดี เนื่องจากว่าเด็กมีโอกาสทำผิดพลาดได้บ่อยกว่าเด็กอื่น และพบกับความล้มเหลวในการเรียน การเข้าสังคม การกีฬา ดนตรี ฯลฯ ผู้ใหญ่รอบข้างไม่ชอบ คุณครูไม่รัก เนื่องจากเรียนไม่เก่ง แถมทำตัวก่อให้เกิดปัญหาอีกด้วย
4. การเข้าสังคมเบี่ยงเบน เนื่องจากเด็กขาดทักษะในการเล่น การกีฬา ฯลฯ ร่วมกับเด็กที่มีความยับยั้งตัวเอง ในขีดจำกัด พูดมากทำข้าวของเสียหายจึงส่งผลทำให้พี่น้อง เพื่อน คุณครู พ่อแม่ เกิดความรู้สึกไม่พอใจได้ง่าย

การรักษา

            การให้ความช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้น ต้องประกอบด้วยความร่วมมือประสานงานกันระหว่างพ่อแม่ คุณครู และแพทย์ โดยเน้นน้ำหนักการรักษาที่ 4 หัวข้อต่อไปนี้เท่าๆ กัน

1. Counselling อธิบายให้พ่อแม่เข้าใจเด็ก และให้เข้าใจการดำเนินโรคเพื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และเทคนิคการเลี้ยงดูให้สอดคล้องกับโรคและเด็ก
2. การปรับพฤติกรรม โดยเฉพาะพฤติกรรม ที่มาขัดขวางการเรียนรู้ เช่นการนั่งไม่ติดเก้าอี้ การไม่ทำตามคำสั่ง เป็นต้น
3. การใช้ยาเพื่อเพิ่มสมาธิ อยู่ในกลุ่ม methyl phenidate ซึ่งจะออกฤทธิ์เพียง 4 ชั่วโมง มีอาการข้างเดียว โดยเด็กจะมีอาการซึมประกอบกับเบื่ออาหารได้
4. การเรียนการสอนที่มีเทคนิคเฉพาะสำหรับเด็กสมาธิสั้น

เทคนิคการสอนเด็กสมาธิสั้น

             เป็นความยากลำบากของครูที่จะต้องสอนเด็กที่มีสมาธิสั้น ไม่ยอมอยู่นิ่ง ดังนั้นการที่การเรียนการสอนจะเป็นไปด้วยดี จะต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างครู พ่อแม่ และแพทย์ช่วยกัน แต่หัวใจสำคัญอยู่ที่การเรียนในห้อง ข้อความต่อไปนี้คัดมาจากคำแนะนำที่ได้มาจากสมาคมครูและศึกษาพิเศษของประเทศสหรัฐอเมริกา แบ่งออกเป็น 5 รายการ คือ

ข้อแนะนำสำหรับสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน

  • นั่งใกล้โต๊ะคุณครู พยายามให้นั่งข้างหน้า
  • นั่งอยู่ในวงของเด็กที่ตั้งใจเรียน
  • พยายามให้เด็กห่งจากบริเวณประตู หน้าต่าง ฯลฯ
  • กฎ ระเบียบ ตารางสอน ความสม่ำเสมอ เพราะเด็กปรับตัวยาก
  • มุมสงบ ของห้องเป็นที่ที่เด็กทุกคนมีสิทธิใช้ ซึ่งจะช่วยทำให้เด็กไม่รู้สึกว่าตัวเองแตกต่างจากผู้อื่น
  • ชี้ชวนให้ผู้ปกครองหาที่ที่สงบในการทำงานของเด็ก โดยตั้งเวลาสำหรับทำงาน เวลาสำหรับพ่อแม่ตรวจการบ้าน เวลาจัดกระเป๋า ทบทวนบทเรียนโดยสม่ำเสมอ
  •  

  • ข้อแนะนำในการออกคำสั่งกับเด็ก
    1. ขณะพูดควรสบตา
    2. คำสั่งขัดเจน รัดกุม และสม่ำเสมอในแต่ละวัน
    3. คำสั่งเป็นขั้นตอน เข้าใจง่าย พยายามหลีกเลี่ยงคำสั่งหลาย ๆ อย่างพร้อมๆ กัน
    4. ท่าทีของผู้สั่งต้องสงบ และมีความตั้งใจดี
    5. สั่งแล้วควรสังเกตว่าเด็กเข้าใจหรือไม่ ถ้าไม่เข้าใจต้องอธิบายซ้ำ
    6. ให้ความเป็นกันเอง เปิดโอกาสให้เด็กซักถาม (เด็กกลุ่มนี้ มักจะไม่ถาม)
    7. ให้เวลาทำงานนานกว่าปกติ แล้วค่อย ๆ ลดเวลาลงมา
    8. สมุดจดการบ้าน พร้อมลายเซ็นคุณครูและผู้ปกครองเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับเด็กกลุ่มนี้ ซึ่งใช้ดูการทำงานของเด็ก ถ้าเด็กทำไม่เสร็จจริงๆ ควรช่วยและเป็นหนทางที่จะติดต่อกันระหว่างครูกับผู้ปกครอง
  • ข้อแนะนำให้เด็กเตรียมตัวทำงาน (หรือสอบ)
    1. ให้งานทีละอย่าง
    2. ตรวจดูบ่อยๆ ว่า ทำไมขนาดไหน พร้อมให้กำลังใจ
    3. ปรับเปลี่ยนงานให้ดูง่ายขึ้น โดยเฉพาะถ้ารู้จุดอ่อนจุดแข็ง ในความสามารถของเด็กจะช่วยทำให้การเรียนการสอนไปได้เร็ว ซึ่งบางรายอาจต้องใช้ครูการศึกษาพิเศษช่วยในบางด้าน
    4. การสอบเพื่อที่จะหาระดับความรู้ ไม่ใช่เพื่อวัดระดับความตั้งใจ
    5. ให้เวลานานขึ้น เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้ทำงานช้า ไม่ควรปรับหรือหักคะแนนในการทำงานช้า
    6. เด็กกลุ่มนี้มีความอดทนต่ำ ควบคุมตัวเองได้น้อย ยิ่งถ้าถูกกดดันมากๆ หรือเหนื่อยมาก มักจะแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่ไม่ด

      4. ข้อแนะนำสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการช่วยให้เด็กมองตัวเองในแง่ดี

      4.1 รักษากฎของห้องและคอยตรวจตราดูแล

      -ท่าทีที่ใช้ต้องสงบ อย่าชวนทะเลาะหรือตวาดใส่เด็ก
      -มีการเตือนถึงผลที่จะตามมาหลังพฤติกรรมที่ไม่ดี
      -ถ้าต้องทำโทษ ทำทันทีและตรวจดูพฤติกรรมที่ดีและชื่นชมบ่อย ๆ
      -กฎภายในห้องเรียนไม่ควรมีมาก ปฏิบัติตามได้ชัดและสม่ำเสมอ
      -การลงโทษต้องอยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ ไม่ประจานความคิด
      -หลีกเลี่ยงการวิจารณ์ เยาะเย้ย ถากถาง เนื่องจากเด็กสมาธิสั้น จะมีความลำบากที่จะอยู่ในกฎเกณฑ์

      4.2 สนับสนุนและส่งเสริม

      -รางวัลควรมากกว่าการลงโทษ เพื่อส่งเสริมความรู้สึกที่ดีของตัวเด็ก
      -รางวัลควรได้รับโดยไม่ช้า หลังจากที่เด็กมีพฤติกรรมที่ดี
      -ถ้ารางวัลไม่ได้ผล อาจเปลี่ยนลักษณะของรางวัล เพื่อเพิ่มแรงจูงใจ
      -หาทางหลาย ๆ ทาง ที่จะกระตุ้นให้เด็กสนใจ
      -กระตุ้นให้เด็กมองตัวเองในแง่ที่ดี และชื่นชมตัวเอง เช่น วันนี้นั่งอยู่กับที่ได้นานขึ้น ดีจริงๆ และถามว่าเด็กรู้สึกอย่างไร

      5. ข้อแนะนำอื่นๆ สำหรับเด็กบางคน


      เมนูหลัก welcome.gif