Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!
 
   บทที่ 5

การศึกษาพระคัมภีร์เป็นเล่ม

การใช้ข้อพระคัมภีร์บางตอนง่าย ๆ สำหรับการเสริมพลังฝ่ายวิญญาณจิต และเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตนั้นเป็นเรื่องง่าย แต่จำต้องมี “การบำรุงอย่างถูกส่วน” ในพระวจนะของพระเจ้า เพื่อที่จะได้สมบูรณ์เต็มที่ในพระคริสต์ (เอเฟซัส 4:13) เราจำต้องรับเอาพระคำของพระเจ้าประเภทหนัก ๆ วันต่อวัน เพื่อที่จะก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายได้

พระเยซูตรัสว่า “เราเป็นทิพย์อาหารแห่งชีวิต … ผู้ที่มาหาเราจะไม่หิว ผู้ที่วางใจในเราจะไม่กระหายอีกเลย” (ยอห์น 6:35) ทิพย์อาหารแห่งชีวิต นั่นคือ พระเยซูทรงเป็นแหล่งแห่งชีวิตของเขา เราจำต้องศึกษาจากพระคำของพระเจ้าแต่ละเล่มว่า ได้กล่าวถึงพระองค์ไว้อย่างไรบ้าง เพื่อความเชื่อจะได้เพิ่มเติมขึ้นจากความรู้ที่ได้รับ

เมื่อมีคนถามพระเยซูว่า เขาควรทำอย่างไรจึงจะถวายเกียรติยศแด่พระเจ้า คำตอบคือ พระเจ้าพอพระทัยคนเหล่านั้นที่เชื่อในพระบุตรของพระองค์ เมื่อเราเชื่อในพระองค์ เราก็จะสามารถทำในสิ่งที่พระเจ้าพอพระทัยให้เราทำได้ (ยอห์น 6:28,29)

ในบทเรียนนี้ ท่านจะเรียนเกี่ยวกับ

  • ประโยชน์ของการศึกษาพระคัมภีร์แบบเป็นเล่ม
  • สิ่งจูงใจในพระคำแต่ละเล่ม
  • พระธรรมโคโลสี

ในบทเรียนนี้จะช่วยท่าน

  • เข้าใจจุดมุ่งหมายในการศึกษาพระคัมภีร์
  • นำสิ่งที่เรียนมาจากการศึกษาพระคัมภีร์นั้นไปใช้ปฏิบัติ

ประโยชน์ของการศึกษาพระคัมภีร์แบบเป็นเล่ม

วัตถุประสงค์ : เพื่อทราบประโยชน์ของการศึกษาพระคำแบบเป็นเล่ม

ในระหว่างที่ใช้เวลาศึกษาพระคัมภีร์แบบเป็นเล่ม ทำให้คุ้นเคยกับพระคำของพระเจ้า การสำแดงทั้งหมด ท่านจะได้เห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ จากพระคัมภีร์อย่างต่อเนื่อง ท่านจะได้รับทราบและรับการเตรียมตัวเตรียมใจ เพื่อที่จะเห็นสิ่งที่พยากรณ์ไว้เกี่ยวกับการเสด็จมาของพระองค์สำเร็จ ท่านจะเสริมฟื้นฐานที่มีอยู่ให้มั่นคง สำหรับการศึกษาบทเรียนและความจริงฝ่ายวิญญาณจิตอื่น ๆ ต่อไป

สิ่งสำคัญมากอีกประการหนึ่ง ของการศึกษาพระคำแบบเป็นเล่ม เพื่อจะได้เรียนรู้เรื่องราวเฉพาะตามท้องเรื่อง เราอาจเข้าใจความหมายที่ถูกต้องอย่างเด่นชัด เมื่อเราศึกษาตามท้องเรื่องนั้น ๆ ดังนั้น การคุ้นเคยกับพระคัมภีร์ทั้งเล่ม จะช่วยเราให้ทราบและต่อต้านคำสอนเท็จ ที่กำลังเผยแพร่ในปัจจุบันนี้พอ ๆ กับในสมัยที่คริสตจักรเริ่มก่อตั้งขึ้นเหมือนกัน มีจดหมายฝากหลายเล่มในพระคัมภีร์ใหม่ ที่สอนเราเรื่องลัทธิเทียมเท็จ และการสอนผิด ควบคู่กับการขยายของข่าวประเสริฐ ภายหลังจากที่พระคริสต์ทรงสิ้นพระชนม์ไปถึงเมื่อพระองค์เป็นขึ้นมาจากความตายแล้ว

ประโยชน์ใหญ่หลวงที่สุดสำหรับการศึกษาพระคำแบบเป็นเล่ม ก็คือ พระคำนั้นจะเกิดผลในการดำเนินชีวิตของเรา เมื่อใดที่ท่านพบปัญหาในชีวิตประจำวัน ท่านจะคิดถึงคำสอนจากพระคัมภีร์และนำมาใช้เพื่อเสริมกำลังความเชื่อ และชี้แนะแนวทางแก่ท่านว่าควรจะทำอย่างไรดี

 

สิ่งจูงใจในพระคำแต่ละเล่ม

วัตถุประสงค์ : กล่าวถึง 3 ขั้นตอนหลักที่ใช้ในการศึกษาพระคำแบบเป็นเล่ม

ท่านควรเริ่มต้นด้วยการอ่านให้จบเล่มนั้นก่อน เพื่อให้มองเห็นภาพทั้งหมด เช่น อ่านโคโลสี หรือเล่มอื่น ๆ ก่อนที่ท่านจะศึกษาสัก 2 ครั้งหรือมากกว่านั้น (แม้จะเป็น 10-12 ครั้งก็ตาม) ก่อนที่ท่านจะจดโน้ต หรือ เขียนคำถามอะไรมากมายสิ่งนี้ก็จะให้เราเห็นเนื้อหาหลัก ทำให้เราเห็นว่าผู้เขียนรู้สึกอย่างไรบ้าง อาจเป็นความรู้สึกสิ้นหวัง หนุนใจ นมัสการ มีความหวัง ชื่นชมยินดี ห่วงใย เศร้าใจ ถ่อมใจ พิพากษา หรืออารมณ์ด้านอื่น ๆ การอ่านของท่านจะเป็นกุญแจแห่งการสำแดงของพระเจ้าให้เห็นศัพท์ หรือ วลีซึ่งเน้นในหนังสือเล่มนี้

ประการแรก อ่านและสังเกต จนกระทั่งมองเห็นในสิ่งที่ผู้เขียนกล่าวนั้น ซึ่งต้องใช้เวลา และความอดทน พร้อมกับความปรารถนาที่จะรับทราบว่าพระคำของพระเจ้าตรัสอะไรไว้บ้าง

ประการที่สอง การตีความหมายในสิ่งที่ผู้เขียนเจาะจง ให้ใช้วิธีการตีความหมาย 3 ประการ ตามที่ได้อธิบายไว้ที่บทที่ 4 ถามปัญหา สนใจเกี่ยวกับท้องเรื่อง อ่านพระธรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ลองสังเกตภาษาที่แปลตรง ๆ หรือการจัดเรียงแนวความคิด ให้เขียนโน้ตตามสิ่งที่เราได้เห็น พยายามสรุปความหมายของหนังสือเล่มนี้ออกมา นั่นก็คือ ท่านจะต้องแสวงหาแนวความคิดหลัก และ หาดูว่ามันเกี่ยวพันธ์กับเรื่องอื่น ๆ ที่เขียนออกมาแล้วอย่างไรบ้าง ใช้ถ้อยคำของเราเอง เมื่อทำเช่นนั้นแล้ว หนังสือเล่มนั้นดูเหมือนจะเป็นจริงในตัวท่าน จึงจะทำให้เป็นส่วนหนึ่งในตัวท่าน นำท่านในการดำเนินชีวิตต่อไป

ประการที่สาม การนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตปัจจุบัน ท่านจำต้องยอมให้เรื่องที่ได้เรียนมาเกี่ยวกับพระคริสต์ เปลี่ยนบุคลิกลักษณะและความประพฤติของท่าน หากเป็นเช่นนี้แล้ว ชีวิตของท่านจะ “ส่องสว่าง” แก่ผู้อื่น ท่านจะสำแดงให้เขาพระคริสต์ได้

โคโลสี

วัตถุประสงค์ ค้นหาแนวความคิดหลักในโคโลสี

ก่อนที่จะก้าวไปไกลกว่านี้ในบทเรียนนี้ ขอให้อ่านโคโลสีเสียก่อน ท่านอาจต้องการอ่านหลายครั้ง ก่อนที่จะตีความหมายก็ได้ หากท่านอ่านพระธรรมที่มีอารัมภบท อย่าลืมอ่านด้วย และโครงเรื่อง หรือคำนำเกี่ยวกับเรื่องนั้น ในตอนต้นของหนังสือ คำอธิบายสั้น ๆ นั้นบอกเราให้ทราบว่า เปาโลเป็นผู้เขียนจดหมายฉบับนี้ไปยัง คริสตจักรที่เมืองโคโลสี เพื่อต่อต้านพวกสอนผิด แนวความคิดหลักก็คือ “พระเยซูคริสต์สามารถให้ความรอดได้อย่างสมบูรณ์”

หลังจากที่ได้อ่านไปแล้วครั้งหนึ่ง ให้ศึกษาโดยอ่านใหม่ ครั้งนี้ให้บันทึกข้อความที่รู้สึกประทับใจจากหนังสือนั้น สังเกตดูว่า มีคำพูดหรือแนวความคิดเหล่านั้น ซ้ำซากหรือไม่เช่น คำว่า “ความเชื่อ” เป็นไท อิสระ ชีวิตในพระคริสต์ แล้วก็ให้สังเกตคำที่พูดซ้ำกัน เพราะจะช่วยเราในเรื่องการจับแนวความคิดหลัก

กฎเกณฑ์ในการตีความหมายหนังสือโคโลสี

โคโลสี เขียนขึ้นในรูปแบบของจดหมาย ผู้เขียนคือ เปาโล อภิปรายเกี่ยวกับการสอนผิดเรื่องความรอด ท่านใช้ภาษาเปรียบเทียบ เพื่อให้มองเห็นภาพเกี่ยวกับการมีความสัมพันธ์กับพระคริสต์ เป็นเช่นไรบ้าง ยกตัวอย่าง ข้อ 2:8 ท่านกล่าวว่า “จงระวังให้ดี อย่าทำให้ผู้ใดทำให้ท่านตกเป็นเหยื่อ” เมื่อท่านอันเป็นหนึ่งอันเดียวกันพระคริสต์ท่านได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระจากพันธะของมนุษย์ ในเรื่องที่เขาแต่งขึ้นมา ความรอดนั้นจะต้องไม่เป็นทาส ท่านไม่ใช่ทาส

เราจะดำเนินชีวิตในพระคริสต์อย่างเต็มที่ได้อย่างไร ตามที่สอนไว้ในโคโลสี

หากได้พิจารณาคำสอนด้วยใจอธิษฐาน ให้พระคำของพระเจ้าเป็นประโยชน์แก่ท่านมากที่สุด ความรู้อย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ แต่ท่านจะต้องนำมาประยุกต์ใช้และยอมให้พระเจ้าทำงานในตัวท่าน ตามแผนการของพระองค์

ไม่มีใครในพวกเราที่จะกล่าวว่า เรามาถึงจุดของความสมบูรณ์ 100% ในการดำเนินชีวิตของเราแล้ว ตามที่ได้อธิบายไว้ในโคโลสีนั้น เป็นเพียงแต่ที่พระเจ้าทรงช่วยเราแล้ว เราก็ดำเนินตามพระสัญญานั้นเท่านั้นเอง

การสร้างโครงร่าง

  1. แนวความคิดหลักประการที่หนึ่ง
  1. หัวข้อหลักข้อแรกเกี่ยวข้องกับแนวความคิดหลักข้อแรก
    • แนวความคิดย่อย
    • แนวความคิดย่อย
  1. หัวข้อหลักข้อที่สองเกี่ยวข้องกับแนวความคิดหลักข้อแรก
    • แนวความคิดย่อย
    • แนวความคิดย่อย
    •  
  1. แนวความคิดหลักประการที่สอง

1.

หัวข้อหลักข้อแรกเกี่ยวข้องกับแนวความคิดหลักข้อที่สอง

 
 
  • แนวความคิดย่อย
  • แนวความคิดย่อย
 

2.

หัวข้อหลักข้อที่สองเกี่ยวข้อกับแนวความคิดหลักข้อที่สอง

 
     

 

ตัวอย่าง โครงร่างของโคโลสี

  1. คำทักทายและคำอธิษฐาน
  1. ขอบพระคุณสำหรับคน
  2. คำอธิษฐานเผื่อคน
  1. ลักษณะและการทำงานของพระคริสต์
  1. พระคริสต์เป็นเหมือนกับอะไร
    1. พระลักษณะของพระเจ้า
    2. พระผู้สร้างและผู้ช่วยให้รอด
  1. สิ่งที่พระองค์ทรงกระทำเพื่อเรา
    1. ทำให้เราเป็นมิตรสหายของพระองค์
    2. ทำให้เรามีพลังในการรับใช้
    3. ชีวิตในพระคริสต์
  1. ชีวิตแห่งความเข้มแข็ง
  2. ชีวิตใหม่ความอิสระ
  3. ชีวิตแห่งความสัมพันธ์ใหม่
    1. สัมพันธ์กับพระเจ้า
    2. สัมพันธ์กับผู้อื่น

ทั้งหมดนี้ เป็นการเรียนเรื่องโคโลสีอย่างสรุป ท่านอาจจะต้องการศึกษาพระธรรมเล่มนี้ต่อไป หากท่านพบว่าเล่มนี้เกี่ยวข้องกับเล่มอื่น ๆ อย่างไรบ้าง เพราะเต็มไปด้วยความจริงอันทรงคุณค่า เพื่อเสริมชีวิตของเราให้มอบถวายแด่พระเจ้า ขอพระเจ้าทรงอวยพระพรท่านในการจะนำสิ่งที่ได้เรียนในหนังสือเล่มนี้ หรือ เล่มอื่น ๆ ของพระคัมภีร์ไปใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างเกิดผล             

ข้อทดสอบ

  1. ให้กล่าวถึงประโยชน์ 3 ประการที่ได้รับจากการศึกษาพระคัมภีร์แบบเป็นเล่ม

 
 
 
 
 

2. ให้บอก 3 ขั้นตอนที่จูงใจให้ท่านศึกษาพระคำเป็นเล่ม

 
 
 
 
 

  1. อะไรบ้างดูเหมือนเป็นอารมณ์หรือความรู้สึกของเปาโล เมื่อเขียน โคโลสี 1:2-14, 1:24, และ 2:1, 2,5 เป็นการช่วย
  1. รบกวน
  2. สงสาร
  3. เป็นห่วง
  1. เมื่ออ่านแล้ว หัวข้อไหนต่อไปนี้ให้แนวความคิดหลักในหนังสือของโคโลสี ข้อ 2:10 และ 3:11 เป็นการช่วย
  1. เราได้รับชีวิตสมบูรณ์เมื่อสัมพันธ์กับพระคริสต์
  2. เราจะได้รับชีวิตสมบูรณ์เมื่อไปสวรรค์
  1. เติมคำในช่องว่าง
  1. เปาโลใช้ภาษาเปรียบเทียบ 3 ชนิด เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากชีวิตใหม่ ที่ได้สัมพันธ์กับพระคริสต์ ข้อ 2:11,12 และ 20 สัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงนี้คือ _____________________
  2. มีสิ่งที่อธิบายบางประการเกี่ยวกับชีวิตในพระคริสต์ ในข้อ 1:18 และ 2:19 คริสตจักรได้รับการเปรียบเทียบเป็น _____________ ซึ่งพระคริสต์ปกครอง พระองค์ทรงเป็น ____________________ ในข้อ 3:9-14 ชีวิตใหม่ของเราเปรียบได้กับ ____________________

6. จากแนวความคิดหลักแต่ละข้อ อธิบายไว้ด้ายซ้ายให้เขียนหัวข้อซึ่งเกี่ยวกับการจัดเรียงแนว ความคิดในชื่อทางด้านขวา

 


ก. ข้อ 2:12, 13,20 และ 3:1 อ้างอิงเกี่ยวกับชีวิตในพระคริสต์

1. เปรียบเทียนความตรงกันข้ามและความแตกต่าง

 



ข. ข้อ 3:10,11 เกี่ยวข้องกับคริสเตียนทุกคน ซึ่งจะต้องเหมือนกับพระคริสต์

2. แบบตามกัน

 

ค. ข้อ 2:20 3:1,5 และ 9-10 เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความบาป ความตาย ชีวิต

3. เหตุผล และผลตอบสนอง

จะเป็นการดีหากจะนำคำสอนที่กล่าวไว้ในหนังสือเล่มนี้ไปเปรียบเทียบกับคำสอนในเล่มอื่น ๆ หากท่านตรวจดูด้านข้างของพระธรรมอ้างอิงในพระคัมภีร์บางเล่ม ท่านจะพบว่ามีหลายตอนที่อ้างถึง เอเฟซัส ตอนหนึ่งที่อ้างถึงในเอเฟซัส 2:1-10 ในที่นั้นเราอ่านพบอีกว่า ได้ผ่านพ้นความตายไปสู่ชีวิต

7. เติมคำในช่องว่าง

เอเฟซัส 2:8,10 ด้วยว่าเราทั้งหลายรอดนั้น ก็รอดโดย __________เพราะ ________และมิใช่โดยตัวเราทั้งหลายกระทำเอง แต่พระเจ้าทรง_______ ความรอดนั้นจะเนื่องด้วย ___________ ก็หามิได้ เพื่อมิให้คนหนึ่งคนใด_______เพราะว่าเราเป็น______________ ของพระเจ้า ที่ทรงสร้างขึ้นใน _________ เพื่อ __________ ซึ่งพระเจ้าได้ทรงดำริไว้ล่วงหน้าเพื่อให้เรากระทำ

แนวความคิดต่าง ๆ ในพระคำตอนนี้ ไม่ใช่สิ่งใหม่สำหรับเรา เพราะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราได้เรียนมาแล้วใน โคโลสี เป็นการเตือนเราอีกหนึ่งว่า พระคัมภีร์ประกอบด้วยหนังสือหลาย ๆ เล่มรวมกัน แม้กระนั้นก็ตามยังเป็นหนังสือเล่มเดียวกัน

  1. ให้เขียนบทสรุปในสิ่งที่เรียนมาแล้ว เราได้รับอะไรบ้าง

     
     
     
     
     

  2. การที่เข้าสู่การสถิตอยู่ด้วยของพระเจ้า ข้าพเจ้าจะต้องไม่ยอม
  1. ให้ความหวังที่เรามีอยู่นั้นสั่นสะเทือน
  2. ไปเยี่ยมคริสตจักรอื่น ๆ
  1. การเทศนาพระคริสต์แก่บุคคลอื่นนั้น ข้าพเจ้าต้องใช้
  1. พลังที่พระคริสต์ประทานให้
  2. พลังตัวเองเท่าที่มีอยู่
  1. ให้เราเห็นอย่างนี้ว่า ไม่มีใครจะมาใช้เราให้เป็นทาสได้ โดย
  1. การใช้โซ่ตรวนเหล็กหนัก ๆ
  2. คำหลอกลวงที่มาจากสติปัญญาของมนุษย์
  1. การให้ความยุติธรรมกับผู้อื่น ต้องจำไว้ว่า
  1. เขาจะพยายามที่จะเอาเปรียบเรา
  2. เรามีเจ้านายอยู่ในสวรรค์แล้ว

 

คำเฉลย

1.

ให้เราคุ้นเคยกับพระคัมภีร์ทั้งเล่ม รับทราบและปฏิเสธคำสอนเท็จ โดยใช้พระคำแห่งชีวิตที่มีอยู่ในตัวท่าน

อ่านจะต้องการเขียนประโยชน์ข้ออื่น ๆ ที่ท่านได้เรียนในประสบการณ์ของท่านแล้วลงไปด้วยก็ได้

2.

อ่านและสังเกต ตีความหมาย และประยุกต์ใช้

3.

ค. ความห่วงใย ท่านเปาโลรู้สึกรักคริสเตียนเหล่านี้ (1:3 ขอบพระคุณ 1:9 อธิษฐานขอเพื่อท่าน) ท่านห่วงใยที่เขาต้องพบความทุกข์ยาก (1:24) สู้อุตส่าห์ทำงานหนักเพื่อพวกเขา (2:1) เพื่อเขาจะได้รับความชูใจ และเข้มแข็งในความเชื่อ (2:2)

4.

ท่านจะได้รับชีวิตสมบูรณ์แบบโดยสัมพันธ์กับพระคริสต์ พระคริสต์เป็นกุญแจ สำหรับชีวิตของเรา (2:3) พระคริสต์ถูกกล่าวถึงไม่น้อยกว่า 38 ครั้งว่าเป็นพระคริสต์ อีก 12 ครั้งว่าเป็นพระเยซูคริสต์พระผู้เป็นเจ้า หรือพระบุตร และหลายครั้งที่กล่าวถึงคำว่า พระองค์ การที่จะทบทวนคำที่พบบ่อย ๆ ทำให้เราทราบแนวความคิดหลัก

5

ก. การเข้าสุหนัต การถูกฝังไว้ ความตาย ทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการตัดขาด

ข. ร่างกาย ศรีษะ เสื้อใหม่

6

(ก) 2. การทบทวน แนวความคิดเกี่ยวกับการถูกชุบ ให้เป็นขึ้นจากความตายสู่ชีวิตนั้น ถูกกล่าวถึงในแต่ละข้อ

(ข) 3 เหตุผล และผลตอบสนอง ซึ่งเป็นผลมาจากชีวิตใหม่ของเรา เราจึงเป็นเหมือนกันในพระคริสต์ พระคริสต์ทรงเป็นสารพัด และทรงดำรงอยู่ในสารพัด

(ค) 1 เปรียบเทียบความแตกต่าง และเปรียบเทียบการตายต่อความบาปของเรา (2:20) เปรียบเสมือนการตายจากความปรารถนาฝ่ายโลก (3:5) ก็เปรียบเหมือนกับชีวิตของเราในคริสต์ (3:1) เป็นการรับชีวิตใหม่ในตัวของเรา (3:9-10)

7.

พระคุณ ความเชื่อ ประทานให้ การกระทำ อวดได้ ฝีพระหัตถ์ พระเยซูคริสต์ให้ประกอบการดี

8.

ใช้คำตอบของท่านเอง อาจเป็นเช่นนี้คือ การศึกษานั้นจะช่วยเหลือท่านให้รับทราบเกี่ยวกับชีวิตเต็มล้นกับพระคริสต์ อาจเป็นไปได้ที่ท่านได้พบความจริง ซึ่งท่านสามารถนำไปใช้กับผู้อื่นได้

9.

ให้ความหวังที่เรามีอยู่นั้นสั่นสะเทือน

10.

พลังที่พระคริสต์ประทานให้

11.

คำหลอกหลวงที่มาจากสติปัญญาของมนุษย์

12.

ข ) ท่านก็เช่นกันมีเจ้านายอยู่ในสวรรค์แล้ว                   บทที่ 6 >>

 GUEST BOOK / WEB BOARD / SHARE&CARE / KIDS CENTER / FAMILY / COMPOSITION / PRAY CENTER / BIBLE STUDY /ARTICLES /MALL CENTER / NEWS / PICTURES / CONTACT US / WEB LINKS / PRAISE&WORSHIP/ HOME