ประวัติ: Dr Godfrey Hounsfeile แห่งหน่วยวิจัยบริษัท B.M.I. ประเทศอังกฤษ ได้เริ่มต้นประดิษฐ์ Computerized Tomography ในปี 1967 ประสบความสำเร็จในปี 1972 CT เครื่องแรกได้นำมาใช้กับ โรงพยาบาล Athinson Morley 's ณ กรุงลอนดอน C.T. เครื่องแรกนี้ ใช้ได้เฉพาะตรวจสมองในงาน Neuroradiology เท่านั้น และได้เรียกตามชื่อผู้ผลิตว่า E.M.I. scanner ต่อมา Dr.Robert s Ledley ได้เป็นคนแรกที่ทำ Whole body CT ได้ สำเร็จเป็นเครื่องแรก และได้นำไปติดตั้งที่ Georye Town University Medical Center U.S.A. ในเดือน กุมภาพันธ์ 1974
ส่วนประกอบของเครื่อง CT
1.หน่วย scanner : ประกอบด้วย
ข้อดีของการตรวจโดยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
1. ได้ภาพที่ละเอียดชัดเจน แยกความทึบของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายได้ละเอียดมาก เช่น แยกเนื้อเยื่อสมองออกเป็นส่วน แยก
ความทึบของก้อนต่าง ๆ ว่าเป็นก้อน(solid) ถุงน้ำ หรือมีหินปูนอยู่หรือไม่ ซึ่งเครื่องเอกซเรย์ธรรมดาไม่สามารถทำได้ นอกจากนี้
ยังสามารถบอกขนาด ตำแหน่งของส่วนที่ผิดปกติ ตลอดจนการกระจายของโรคได้ 2. สามารถแยกอวัยวะต่าง ๆแต่ละส่วนไม่ให้มีการซ้อนกัน เช่น สามารถเห็นเนื้อสมอง และโพรงสมองแยกจากกัน 3. นอกจากใช้ในด้านการวินิจฉัยโรคแล้วยังช่วยในด้านการรักษาผู้ป่วยด้วย เช่น ช่วยในการเจาะถุงน้ำ หนอง ฝี หรือผ่าตัดสมอง บางส่วน 4. ช่วยคำนวณวางแผนการรักษาโดยรังสีรักษาในผู้ป่วยที่เป็นเนื้องอก โดยสามารถคำนวณภาพของก้อนเนื้องอกจริง ๆ 5. ปัจจุบันมีเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ สามารถศึกษาการไหลเวียนของกระแสเลือด และการไหลเวียนของน้ำสมอง ไขสันหลังได้ โดยการฉีดสารทึบแสง(dynamic scan) ร่วมด้วย 6. การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นการลดความเจ็บปวดและอันตรายจากการตรวจพิเศษทางรังสีแบบอื่น ๆ เช่น การตรวจ ระบบหลอดเลือด (angiography) 7. ช่วยลดเวลาในการตรวจวินิจฉัย ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ป่วย และโรงพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องรุ่นใหม่ ๆ ยิ่งให้ประสิทธิภาพ ทั้งทางด้านเทคนิคการถ่ายภาพ และการแปลผลได้สูงขึ้น 8. ทางด้านเศรษฐกิจ แม้ว่าการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ จะมีราคาแพงแต่เป็นที่แน่ชัดว่า การตรวจด้วยวิธีนี้จะเป็นการช่วย ลดค่าใช้จ่ายในด้านการตรวจอื่น ๆ |
การเตรียมตรวจสำหรับผู้ป่วย
1.งดน้ำ และอาหารทางปาก อย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง เพื่อลดข้อแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการฉีดสารทึบแสงซึ่งอาจทำให้เกิดการคลื่นไส้
อาเจียน ในผู้ป่วยบางราย
2.สอบถามประวัติการแพ้อาหารทะเล,การแพ้สารอื่น ๆ ,โรคภูมิแพ้ ตลอดจนโรคระบบทางเดินหายใจ,โรคไต,โรคเบาหวาน เพื่อป้องกัน
ข้อแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการฉีดสารทึบแสงเข้าสู่เส้นเลือดดำ เพราะการตรวจทุกประเภทจะแบ่งเป็นการตรวจก่อน และหลังการ
ฉีดสารทึบแสง เพื่อแสดงความผิดปกติของหลอดเลือดและเนื้อเยื่อที่มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมาก หรือความผิดปกติของสมองที่ทำให้สารใน
หลอดเลือดซึมผ่านเข้าสู่เนื้อสมอง
3.ในกรณีผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจ เช่น ผู้ป่วยเด็ก,ผู้ป่วยที่มีอาการสับสนไม่รู้สึกตัว อาจต้องพิจารณาให้ยาระงับความรู้สึก
เพื่อให้ผู้ป่วยไม่เคลื่อนไหว
4.ซักถามการตรวจโดยการรับประทาน หรือสวนแป้งแบเลี่ยม Barium Sulphate เช่น การตรวจกระเพาะอาหาร(GI study) , การตรวจ
ลำไส้ใหญ่(Barium Enema) ซึ่งจะทำให้เกิดรอยที่ไม่พึงประสงค์(artifact) ต่อภาพได้ ควรทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ก่อน หรือหลังการ
ตรวจดังกล่าว 1 อาทิตย์จนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มี แป้งแบเลี่ยมตกค้างอยู่ในร่างกาย