สารทึบรังสีคืออะไร สารทึบรังสี หรือ Contrast media ประเภทของสารทึบรังสี สารทึบรังสีที่ใช้ในทางการแพทย์มีอยู่ 2 ชนิด คือ ข้อแตกต่างของสารทึบรังสีชนิดแตกตัวชนิดไม่แตกตัว สารทึบรังสีชนิดแตกตัว 1. เมื่อฉีดเข้าร่างกายจะแตกตัวเป็นไอออน 2. มีความหนืดสูง 3. ทำให้ความเข้มข้นของสารละลายในเลือดเพิ่มขึ้น (เพิ่ม Osmolarity) 4. ผลข้างเคียงสูง หรืออาจถึงแก่ชีวิตได้ 5. ใช้กับผู้ป่วยที่แพ้อาหารทะเลไม่ได้ 6. ราคาถูก สารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัว 1. เมื่อฉีดเข้าร่างกายจะไม่แตกตัวเป็นไอออน แต่จะรวมกันเป็นโมเลกุลใหญ่ 2. มีความหนืดต่ำ 3. ทำให้ความเข้มข้นของสารละลายในเลือดเพิ่มขึ้นน้อยมาก 4. ผลข้างเคียงน้อยมาก หรือไม่มีเลย จึงช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ 5. ใช้กับผู้ป่วยที่แพ้อาหารทะเลได้ 6. ราคาค่อนข้างสูงกว่า ความแตกต่างของสารทึบรังสีทั้งสองชนิด นอกจากด้านผลข้างเคียงแล้วยังจะมีความแตกต่างด้านราคาอีกด้วย โดยสารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัว แล้วถึงแม้จะมีผลข้างเคียงน้อยกว่า หรือไม่มีเลยแต่มีราคาสูงกว่าสารทึบรังสีชนิดแตกตัวมาก แต่หากคำนึงถึงอัตราความเสียงต่ออันตรายถึงชีวิต เมื่อใช้สารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัว และค่าใช้จ่ายที่อาจตามมาจากการรักษาอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น จะพบว่าสารทึบรังสีทั้งสองชนิดมีราคาพอ ๆ กัน อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้สารทึบรังสีชนิดใดนั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ และสถานะทางเศรษฐกิจของผู้ป่วยเป็นสำคัญ |