Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!
---->
มารู้จักการตรวจทางรังสีวิทยากันเถอะ

แพทย์หญิง อุษา วงศ์จตุพร

" ในปัจจุบันการแพทย์มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น อุปกรณ์การแพทย์และเครื่องมือการตรวจทางรังสีก็มีการพัฒนาก้าวหน้าควบคู่กันไป เพื่อทำให้การตรวจวินิจฉัย และการรักษาให้เกิดประสิทธฺภาพมากยิ่งขึ้น "
" จากนี้ก็จะขอพูดถึงการตรวจทางรังสีวิทยา ในปัจจบุนว่ามีอะไรบ้าง แต่ละอย่างสามารถใช้ตรวจวินิจฉัยอวัยวะส่วนใดได้บ้างพอสังเขป ให้พอเป็นความเข้าใจสำหรับคนทั่วไป "

การถ่ายภาพเอ็กซเรย์ทั่วไป (General X-RAY)
- เป็นการใช้รังสีเอ็กซเรย์ถ่ายภาพอวัยวะลงบนแผ่นฟิล์มโดยตรง (รังสีเอ็กซเรย์ได้ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2438 โดยนักฟิสิกส์ ชาวเยอรมัน ชื่อ W.C. Roentgen ) ซึ่งการตรวจที่คนทั่วไปคุ้นเคยเป็นอย่างดี คือการเอ็กซเรย์ปอด และการเอ็กซเรย์กระดูก เป็นต้น

การเอ็กซเรย์เต้านม (MAMMOGRAM)
-โดยต้องมีการบีบเต้านมให้แบบลงในการถ่ายภาพลงบนฟิล์ม เพื่อดูว่ามีลักษณะของเนื้องอกหรือมะเร็งหรือไม่

การถ่ายภาพเอ็กเรย์ร่วมกับการใช้สารทึบรังสี (Spacial X-RAY)

การตรวจอัลตร้าซาวด์(ULTRASOUND)
- เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการตรวจโดยอาศัยหลักการดูดซับ และ สะท้อนของคลื่นเสียวที่แตกต่างกัน ระหว่างอวัยวะแต่ละชนิด และระหว่างเนื้อเยื่อปกติกับเนื้อเยื่อผิดปกติ ผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อวิเคราะห์และสร้างภาพปรากฏบนจอ และบันทึกภาพลงบนกระดาษ แผ่นฟิล์ม หรือวีดีโอเทปต่อไป
- การตรวจวิธีนี้ใช้ได้ดีกับอวัยวะที่มีลักษณะ เป็นก้อนแข็ง เช่น ตับ ไต ม้มา ตับอ่อน มดลูก และรังไข่ ต่อมลูกหมาก เป็นต้น และ สามารถ ตรวจกับอวัยวะที่บรรจุของเหลวอยู่ภายในได้เช่น หัวใจ ถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะ ตรวจเด็กในครรภ์ เป็นต้น
- เนื่องจากคลื่นเสียงส่งผ่านอากาศและกระดูกได้ไม่ดี เพราะฉะนั้นอวัยวะที่อยู่ใต่ต่อ ระหว่างระบบทางเดินอาหารซึ่ง มีแกสอยู่ภายใน และ กระดูกจึงไม่สามารถตรวจถูกได้
- การตรวจนี้สามารถใช้ตรวจดูสมองเด็กแรกเกิดที่กระหม่อมหน้ายังไม่ปิด และขนาดศรีษะไม่โตมาก และ สามารถตรวจดูภาวะหนาตัว ของกล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะอาหารส่วนปลายซึ่งทำให้เกิดการอุดตัน และเด็กเกิดอาการอาเจียนหลังกินนมได้
- ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ทำให้มามารถสร้างภาพสี และดูการเต้นตามชีพจรของระบบเส้นเลือดได้ เพื่อสามารถตรวจ ระบบเส้นเลือดได้งาย และสามารถดูการไหลเวียนของเส้นเลือดในอวัยวะต่างๆ หรือก้อนเนื้องอกได้

การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (COMPUTERD TOMOGRAPHY - CT SCAN)
- เป็นการตรวจโดยใช้รังสีเอ็กซเรย์ผ่านตัวผู้ป่วยบริเวณที่จะทำการตรวจ แล้ใช้ตัวตรวจจับปริมาณรังสีแทนที่ฟิล์ม ซึ่งอวัยวะแต่ละชนิด หรือ ระหว่างเนื้อเยื่อปกติกับเนื้อเยื่อผิดปกติ มีการดูดซับปริมาณรังสีแตกต่างกัน โดยผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ และสร้างเป็นภาพปรากฎบนจอและบันทึกเป็นฟิล์มต่อไป
- ภาพที่ได้จากการตรวจชนิดนี้จะเห็นเป็นลักษณะตัดขวาง ซึ่งสามารถเห็นรายละเอียดและตำแหน่งของอวัยวะ และความผิด ปรกติต่าง ซึ่งสามารถทำการตรวจอวัยวะ ได้ทุกส่วนของร่างกาย

การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MAGNETIC RESONANCE IMAGEING-MRI)
- เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ผ่านตัวผู้ป่วยในบริเวณที่จะทำการตรวจ แล้วใช้คอมพิวเตอร์รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์การปลดปลอยพลังงานของเนื้อเยื่อที่ทำการตรวจ ซึ่งถูกกระตุ้นโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในรูปของสัญญาณไฟฟ้า แล้วนำมาสร้างภาพปรากฎบนจอเพื่อ การบันทึกลงบนฟิล์มต่อไป
- ภาพที่ได้จาการตรวจด้วยวิธีนี้ จะเป็นภาพตัดขวางทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง และ แนวขวาง ซึ่งสามารถเห็นได้ทั้ง 3 มิติ ซึ่งสามรถใช้ตรวจอวัยวะได้ทุกส่วนของร่างกาย

การตรวจด้วยสารรังสีนิวเคลียร์ (RADIOSOTOPE IMGING)
- เป็นการเลือกใช้สารรังสีนิวเคลียร์ที่เหมาะสมต่อการตรวจสำหรับอวัยวะ แต่ละชนิดปริมาณเล็กน้อย ในการกินหรือ ฉีดเข้าเส้นเลือดดำ แล้วทิ้งระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้สารรังสีนิวเคลียร์ไปสะสมในบริเวณอวัยวะที่ต้องการตรวจ เพื่อดูวามีการ สะสมปกติ หรือผิดปกติ (มากหรือน้อยกว่าปกติ) ซึ่งสามารถตรวจได้ทุกส่วนของร่างกาย