Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!
---->
ปริมาณรังสีที่ได้รับมีหน่วยเป็นเร็มและมิลลิเร็ม
( 1 มิลลิเร็ม = 0.001 เร็ม)
ปริมาณรังสีที่รับผลของรังสีที่ได้รับต่อสุขภาพ
4 มิลลิเร็มเดินทางไปกลับด้วยเครื่องบิน นิวยอร์ค-ลอนดอน
20 มิลลิเร็มx-ray ปอด 1 ครั้ง
30-50 มิลลิเร็ม/ต่อปีอยู่ในบ้านไม้
50-100 มิลลิเร็ม/ต่อปี อยู่ในบ้านอิฐ
70-100 มิลลิเร็ม/ต่อปี อยู่ในบ้านปูน(คอนกรีต)
170 มิลลิเร็ม/ต่อปี ตายด้วยโรคมะเร็ง 1 ใน 250,000 คน
500 มิลลิเร็ม/ต่อปีค่ามาตราฐานที่นานาชาติยอมรับได้สำหรับประชาชน ทั้วๆไป
5000 มิลลิเร็ม/ต่อปีค่ามาตราฐานที่นานาชาติยอมรับได้สำหรับเจ้าหน้าที่ใน อุตสาหกรรมนิวเคลียร์
25 เร็มมีเลือดขาวต่ำกว่าปกติเล็กน้อย
50 เร็มเกิดมีรอยแผลของผิวหนัง เม็ดเลือดขาวต่ำชัดเจนขึ้น
100 เร็ม คลื่นใส้อาเจียรผมร่วงมีอัตราการเสี่ยงต่อโรคมะเร็งในระยะยาว
200-600 เร็ม เลือดขาวต่ำอย่างรุนแรง มีเลือดออกในร่างกาย มีโอกาสเสียชีวิต 50 %
600-1000 เร็ม เม็ดเลือดขาวถูกทำลายโดยสิ้นเชิง ระบบทำงานของลำไส้ถูกทำลาย มีโอกาสเสียชีวิต 80-100%
มากกว่า 1000 เร็ม เสียชีวิตใน 1-14 วัน

ผลที่เกิดขึ้นเมื่อถูกรังสี แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้ 2 ประเภท คือ
1. ผลที่เกิดขึ้นกับร่างกาย (Somatic effact)
2. ผลที่เกิดขึ้นกับทางพันธุกรราม (Gentic effect)
  • Somatic effect หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นกับ ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับว่า การรับรังสีนั้น เป็นแบบเฉียบพลัน ( Acute exposure) หรือ แบบเรื้อรัง (Choronic exposure)
    -Acute effect คือ การที่ร่างกายได้รับปริมาณรังสีอย่าง เฉียบพลัน เช่น กรณีที่ได้รับอุบัติเหตุจากรังสี ผลที่เกิดขึ้น กับร่างกายเป็นดังตารางที่แสดงด้านบน
  • Genetic effect หมายถึงผลที่เกิดขึ้นในเซลล์สืบพันธุ์ โดยจะทำให้เป็นหมัน หรือมีการผสมพันธุ์ใหม่ แตกเหล่าเกิดขึ้น ซึ่งจะมีส่วนผิดปกติปรากฎ ในลูกหลาน เหลนได้
    ระดับรังสีที่ถือว่าปลอดภัย
    คำว่า "ปลอดภัย" หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในร่างกายที่เกิดขึ้น เนื่องจากรังสีนั้นไม่ปรากฎออกมาให้เห็นและตรวจพบได้ การกำหนดค่าปริมาณสูงสุดที่ ยอมให้มนุษย์รับได้โดยถือว่าปลอดภัย ได้รับการพิจารณาจากนักวิทยาศาสตร์และแพทย์มานานแล้ว โดยได้มีการจัดตั้งกลุ่มหรือสถาบันขึ้นทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ เรียกว่า คณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องรังสีระหว่างประเทศ (ICRP = International Commission on Radiological Protection) ได้กำหนดค่าปริมาณรังสีสูงสุดที่ยอมให้รับได้ เรียกว่าค่า MPD (MPD = Maximum Permissible dose) ขึ้นมาโดยมีความหมายในแง่ที่ว่าการทำงานกับ รังสี ถ้าได้รับรังสีต่ำกว่าค่า MPD ถือว่าปลอดภัย ค่า MPD ที่กำหนดให้สำหรับอวัยวะ ต่าง ๆ ดังนี้
    อวัยวะ (organ)
    MPD rem/ปี
    - อวัยวะสืบพันธุ์, เลนซ์ตา, ไขกระดูก
    5
    - มือ แขน ขา
    75
    - ผิวหนัง, ไทรอยด์
    30
    - อวัยวะอื่น ๆ
    15
    ค่า MPD ของ organ ต่าง ๆ และ ICRP ได้กำหนดปริมาณรังสีสำหรับบุคคลต่าง ๆ ดังนี้
    ในกรณีบุคคลที่ทำงานด้านรังสีได้รับรังสีเกิน 5 rems ในปีหนึ่งแล้วในปีถัดไปจะต้องให้ได้รับรังสีน้อยลง แต่ปริมาณรังสีที่สะสมในช่วงอายุ ขณะนั้นต้อง ไม่เกินตามสูตร 5 (N-18) โดย N เป็นอายุของบุคคลที่ได้รับรังสี เช่น บุคคลที่อายุ 30 ปี รังสีสะสมที่ในช่วงขณะนั้นจะได้ 5(30-18) = 60 rems