ประวัติผู้ค้นพบรังสีเอ็กซ์ (X-ray)

Wilhelm Contad Roentgen(1845-1923)
" ข้าพเจ้าไม่ชอบเดินไปตามทางที่มีคนใช้กันมากๆ ข้าพเจ้าชอบปีนป่ายก้อนหิน
บุกป่าฝ่าหนาม ถ้าข้าพเจ้าหายไปละก็ อย่าไปค้นหาตามถนนใหญ่เลย "

  • วิลเฮล์ม คอนราด เรินท์เกน(Wilhelm Konral Roentgen) เป็นชาวเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2388 ในตำบลเลนเนป (Lennep) ประเทศเยอรมันนี พ่อของเรินท์เกิน เป็นพ่อค้าผู้มั่งคั่ง ชื่อ เฟอร์ดินานด์ คอนราด เรินท์เกน และแม่เป็นสตรีจาก ตระกูลสูง ชื่อ อาดราล็อตเต คอนสแตนช์ ฟราว์ไวน์ จากเมือง อาร์เปนดูร์น ประเทศเนเธอร์แลนด์

  • ครอบครัวเรินท์เกน ได้โยกย้ายจากเมืองเลนเนป ไปอยู่เมืองอาร์เปนดูร์น ตั้งแต่เรินท์เกนอายุได้ 3 ขวบ ดั้งนั้น วิลเฮลม์จึงต้องเข้าเรียนชั้นประถม ศึกษาที่นั่น ต่อมาจึงได้เข้าศึกษาต่อ ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ณ เมืองอูเทคช์ (Utrecht) ประเทศเนเธอร์แลนด์นั่นเอง วิลเฮล์มศึกษาเล่าเรียนได้ดี มาโดยตลอด จนกระทั่งปีสุดท้าย ก่อนที่จะสำเร็จการศึกษา เพื่อนร่วมรุ่นของวิลม์เฮล์ม ไปเขียนภาพการ์ตูน ล้อเลียนครูคนหนึ่งเข้า และ ผู้บริหารวิทยาลัย ก็พยายามคาดคั้นเอาความจริงเรื่องนี้ จากวิลเฮล์ม ซึ่งไม่ยอมบอกทั้ง ๆ ที่เขาก็รู้ดี ดังนั้นวิทยาลัยฯ จึงตัดสิทธิ์ ไม่ให้วิลเฮล์มสอบไล่ ทำให้เขาไม่ได้รับ ประกาศนียบัตรใด ๆ จากวิทยาลัยแห่งนั้น และเป็นปัญหาต่อการศึกษา และ การประกอบอาชีพ ของวิลเฮล์มอย่างมาก

  • อย่างไรก็ตาม วิลเฮล์มมีโอกาสเข้าศึกษา ที่มหาวิทยาลัยเปิดใหม่ชื่อ Polytechnik ที่เมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งรับนักศึกษาเข้าเรียนโดย วิธีสอบเอนทรานช์ แต่ วิลเฮล์มเข้าเรียนได้โดยไม่ต้อง สอบเมื่อมหาวิทยาลัยทราบว่า เขาได้คะแนนคณิตศาสตร์สูงสุด จากโรงเรียนเดิมมาแล้ว

  • วิลเฮล์มได้รับประกาศนียบัตร (diploma) สาขา วิชาวิศวกรรมเครื่องกล (เทียบเท่าระดับปริญญาโท) ในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2411 (ขณะอายุ ได้ 23 ปี) แต่ตอนนั้น วิลเฮล์มเริ่มเกิดความเบื่อหน่ายวิชาวิศวกรรมแล้ว ต่อมาวิลเฮล์ม ได้มีโอกาสฟังการบรรยายของศาสตราจารย์ คลาวซิอุส (Clausius) ซึ่งได้รับการขนานนามว่า เป็นบิดาแห่งวิชาเทอร์โมได้นามิกส์ แล้วเกิดความสนใจอย่างมาก จึงได้ขอร่วมทำงานกับท่าน แต่ ศาสตราจารย์คลาวซิอุส ได้รับ เชิญให้ไปสอน ณ มหาวิทยาลัยเวิรชบวร์ก (Wuerzburg) เสียก่อน อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์เอากุส คุนด์ (August Kundt) ผู้มาทำหน้าที่แทนคลาวซิอุส ได้ชักชวนให้วิลเฮล์ม ทำงานด้วยในห้องปฏิบัติการ ของคุนด์เอง ซึ่งในเวลาเพียง 11 เดือน วิลเฮล์มเสนอผลงานศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาเรื่อง ก๊าซ (Studien ueber gase) และได้รับประสาทปริญญาเอกจากผลงานวิจัยเรื่องนี้ เมื่อ 22 กค. 2412 แม้ได้ชื่อว่าเป็น ดร. แล้วก็ตามแต่วิลเฮล์มก็ไม่สามารถได้รับการ บรรจุลงตำแหน่งทางวิชาการใด ๆ ได้ เนื่องจากเขาไม่มีประกาศนียบัตรจบการศึกษาขั้นต้น จากเมืองอูเทรคซ์นั่นเอง อย่างไรก็ดี คุนด์ก็ได้จัดให้วิลเฮล์มทำ หน้าที่ผู้ช่วยนักวิจัย ในห้องปฏิบัติการของเขาต่อไป

  • ต่อมาในปี พ.ศ. 2413 คุนด์ได้ย้ายไปรับตำแหน่งศาสตราจารย์ และประธานสาขาฟิสิกส์ ณ มหาวิทยาลัยเวริซบวก็ พร้อมกับชักชวนวิลเฮล์มให้ ไปทำงานด้วยกันอีก ในช่วงเวลานั้นเอง วิลเฮล์มได้ทำงานวิจัยเรื่องความร้อนจำเพาะของก๊าซ ที่ปริมาตร และความดันคงที่ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องทางทฤษฎีที่ สำคัญยิ่งเรื่องหนึ่ง การทำงานของวิลเฮล์ม ส่งผลให้คุนด์มีบทความทางวิชาการ ตีพิมพ์ในเอกสารของสถาบันต่าง ๆ หลายเรื่อง และขณะเดียวกันวิลเฮล์ม ก็ได้พบกับ แอนนา เบอร์ธา ลุดวิก ลูกสาวเจ้าของร้านกาแฟผู้ทรงภูมิรู้ แห่งเมืองเวิรซบวร์ก หลังจากนั้นไม่นาน ทั้งสองได้แต่งงานกันเมื่อ เดือน มกราคม พ.ศ. 2415 และได้ครองคู่กันอยู่นานถึง 47 ปี กรทั่ง เบอร์ธา เสียชีวิตในปี พ.ศ.2462

  • ในปีเดียวกันนั้น คุนด์ย้ายไปทำงานที่ มหาวิทยาลัยไกเซอร์ วิลเฮล์ม เมืองสตราสบวร์กของเยอรมนี และก็ได้พาวิลเฮล์มไปช่วยงาน เช่นเคย ณ ที่สถาบันนี้ วิลเฮล์มได้ทำงานวิจัยเกี่ยวข้องกับ electric discharge isothermal areas in crystais and on calorimetry อีกสามปีต่อมา วิลเฮล์มจึงเริ่ม มีตำแหน่งทางวิชาการ โดยได้รับเชิญให้ไปทำการสอบ และปฏิบัติงานวิจัยที่สถาบันการเกษตรแห่ง โฮเฮนไฮม์ ใกล้เมืองสตตุการ์ต ในตำแหน่งศาสตราจารย์ วิชาฟิสิกส์ แต่ห้องปฏิบัติการของเขา แทบจะไม่มีเครื่องมือสำหรับการศึกษาวิจัยเลย ในปีต่อมาวิลเฮล์ม จึงได้ย้ายกลับไปเมืองสตราสบวร์ก และได้รับแต่งตั้ง อย่างเป็นทางการ ให้เป็นรองศาสตราจารย์ สาขาวิชาฟิสิกส์ (ขณะที่มีอายุได้ 31 ปี) ณ ที่นั้นเขาได้ทำงานวิจัยเรื่อง rotation of the plane of polarization of light in gases และเรื่อง การ discharges of electricity in insulators. ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2422 วิลเฮล์ม คอนราด เรินท์เกน ได้รับเชิญให้เป็น ศาสตรจารย์ สาขาภายภาพแห่งมหาวิทยาลัย แห่งกีสเชน ซึ่งเขาได้ทำงานที่นั่นเป็นเวลา 9 ปี โดยได้ทำงานวิจัยในเรื่องต่าง ๆ มากมาย อาทิ คุณสมบัติของ ก๊าซชนิดต่าง ๆ คุณสมบัติของของเหลา แสง ผลึกสารและคุณสมบัติของสารไดอิเล็กตริก เป็นต้น ผลงานสำคัญที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงอย่างมากได้ แก่ การทำลองเพื่อพิสูจน์ทฤาฎีว่า มีแรงแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดขึ้น เมื่อมีการเคลื่อนที่ ของสารไดอิเล็กตริก ในสนามแม่เหล็ก ไฟฟ้า ซึ่งเป็นทฤษฎีทางอิเล็กโตร ไดนามิกส์ของแม๊กซเวลล์ ซึ่ง ศาสตราจารย์เรินท์เกน ได้ทุ่มเทความพยายามอย่างมาก จนกระทั่งพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริง จากผลงานนี้ได้มีการผลักดัน จากกลุ่มนักฟิสิกส์สมัยนั้น ที่จะให้เกียรติ ศาสตราจารย์เรินท์เกน โดย เรียกแรงแม่เหล็กไฟฟ้า จากกรณีดังกล่าว "roentgen current"

  • ต่อมาในปี พ.ศ.2431 ศาสตราจารย์เรินท์เกน ได้รับเชิญเป็นศาสตราจารย์ และ ผู้อำนายการสถาบันวิทยาศาสตร์กายภาพ ณ มหาวิทยาลัยเวริซ์บวร์ก ซึ่งเขาพอใจมาก เนื่องจากอยู่ในแคว้นบาวาเรีย มีภูมิประเทศสวยงาม และ ยังมีภูเขาใหญ่น้อยมากมายที่เขา และภรรยาชอบไปเดินเล่นมาก ๆ ทั้ง ๆ ที่ในขณะ นั้นมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อาทิ มหาวิทยาลัยแห่งเมือง Jena, Utrecht, Berlin, Freiburg ต่างก็เชื้อเชิญให้เขาไปทำงานด้วยก็ตาม ณ มหาวิทยาลัยเวิรซบวร์ก นี่เองที่ศาสตราจารย์เรินท์เกน ได้ทำงานวิจัยต่อเนื่องจากงานเดินในเรื่อง คุณสมบัติของเหลว ผลึกสารและสารไดอิเล็กตริก จนกระทั่งฤดูใบไม้ร่วงของปี พ.ศ.2438 เขาได้พยายามศึกษาคุณสมบัติ ของแสงในหลอดคาโทด โดยใช้หลอดคาโทดชนิด Lenard tube ที่ใช้อะลูมินัมเป็นหน้าต่าง และ Hittorf Crookes tube ที่หน้าต่างทำด้วยวัสดุหนา และใน วันที่ 8 พฤศจิกายน ขณะที่เขาทำการทดลอง ต่อหลอดคาโทดดังกล่าวอยู่ ในห้องมืด โดยใช้แผ่นกระดาษการ์ดดำ ปิดกั้นหลอดคาโทดไว้ ศาสตราจารย์เรินท์เกน ได้สังเกตเห็น กระดาษการ์ดแผ่นหนึ่ง ซึ่งเคลือบด้วยสารประกอบ ของสารเรืองแสง บาเรียมพลาตินา ไชยาไนด์ ส่งแสงเรื่อเรืองออกมา จากประสบการณ์ของนักวิจัยทำให้เขาสะกิดใจ และทำการตรวจสอบสิ่งที่อุบัติขึ้นในทันที และเขาก็สรุปได้ว่า ขณะที่เปิดกระแสไฟ ให้หลอดคาโทดนั้น มีรังสีที่มองไม่เห็น (black light) เกิดขึ้นด้วย ซึ่งเขาได้ให้ชื่อรังสีนั้นว่า รังสีที่ไม่รู้ หรือ รังสี เอกซ์ (X = unknown)

  • ผลการวิจัยนี้ ศาสตราจารย์เรินท์เกน ได้เขียนเป็นบทความวิชาการตีพิมพ์ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2438 โดยอธิบายคุณสมบัติของรังสีเอกซ์ที่ เกิดขึ้นอย่างถี่ถ้วน 17 ประการ และ ที่ค้นพบเพื่มเติมอีก 4 ประการ ในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2439 เพียงไม่กี่ วันหลังจากบทความเรื่อง รังสีเอกซ์ ได้ถูกนำมา ลงตีพิมพ์ ก็เป็นที่กล่าวขวัญกัน อย่างกว้างขวาง และในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2439 ศาสตราจารย์เรินท์เกน ก็ได้รับพระราชโองการ ให้เข้าเฝ้า ถวายคำอธิบาย และสาธิตเรื่องราวของรังสีเอกซ์ ต่อจักรพรรดิวิลเฮล์ม ที่ 2 ณ นครเบอร์ลิน และ ทรงพอพระทัยเป็นอย่างมาก พร้อมทั้งพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชึ้นสูงระดับอัศวินแก่ ศาสตราจารย์เรินท์เกนด้วย ต่อมาในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2439 ศาสตราจารย์เรินท์เกน ได้แสดงปาธกถา พร้อมกับสาธิต เรื่องราวการ ค้นพบของเขา ให้แก่นักวิทยาศาสตร์ผู้ทรงคุณวุฒิ ณ สมาคมวิทยาศาสตร์กายภาพ และภาพเอกซ์เรย์มือของผู้เข้าฟังบรรยายให้ดูด้วย ในโอกาสนั้นได้มี ผู้เสนอให้เรียกรังสีเอกซ์ ว่า roentgen rays แต่ศาสตราจารย์เรินท์เกนไม่ยอมรับ (อย่างไรก็ตาม ในภาษาเยอรมันปัจจุบัน ได้เรียกรังสีเอกซ์ ว่า เรินท์เกนเรย์) ศาสตราจารย์เรินท์เกน ยังได้ศึกษาเกี่ยวกับรังสีเอกซ์ต่อไปอีก และ ได้ตีพิมพ์บทความพิเศษ ในเอกสารวิชาการ ของราชบัณฑิต แห่งปรัสเซีย เมื่อ วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2440 เนื่องในโอกาส ที่ศาสตราจารย์เรินท์เกน ได้เป็นสมาชิกกิติมศักดิ์ ในสถาบันดังกล่าว บทความชิ้นที่ 3 นี้เสนอข้อสังเกต ที่ศาสตราจารย์ เรินท์เกน ได้ศึกษาวิจัยเรื่องรังสีเอกซ์ เพิ่มอีก 10 ประการ และ หลังจากนั้น แล้วศาสตราจารย์เรินท์เกน ก็มิได้ทำการวิจัย เรื่องรังสีเอกซ์ต่อไปอีก

  • ศาสตราจารย์เรินท์เกน ได้รับเกียนติอันเนื่องจากการค้นพบรังสีเอกซ์นี้อย่างยิ่งใหญ่ และมากมาย โดยเป็นสมาชิกกิติมศักดิ์ของสมาคมวิทยา ศาสตร์ต่าง ๆ 54 แห่ง ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์ 6 ปริญญา ได้รับเหรียญและรางวัลเชิดชูเกียรติ 16 ครั้ง ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ 12 รายการ เป็นราษฎรกิติมศักดิ์ 2 เมือง และมีชื่อเป็นถนนในเมืองต่าง ๆ อย่างน้อย 6 เมือง นอกจากนั้นยังเป็นบุคคลแรก ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ อีกด้วย โดยเรินท์เกนได้เดินทางไปรับรางวัลทรงเกียรตินี้ ด้วยตัวเอง ณ ราชสมาคมแห่งสติกโฮล์ม เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2444 แต่เขาก็ได้มอบเงินรางวัล ทั้งหมด แก่มหาวิทยาลัยเวิรซ์บวร์ก เพื่อใช้เป็นกองทุนในการศึกษา วิจัยทางวิทยาศาสตร์ต่อไป เรื่องเงินทองต่าง ๆ นั้น แท้จริงแล้วมิใช่เรื่องสำคัญสำหรับ ศาสตราจารย์เรินท์แต่ประการใด ค่าที่เขาได้รับมรดกมหาศาลจากบิดา ผู้มั่งคั่งของเขาเพียงพอแล้ว และมีเรื่องเล่าด้วยว่า ศาสตราจราย์เรินท์เกนเคยพูด เสมอว่า คนมีกะตังค์ก็มีสิทธิเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดีได้ ไม่ใช่เฉพาะคนจนเท่านั้น (if was not necessary to be poor to be a scientist)

  • ในปี พ.ศ.2442 ศาสตราจารย์เรินท์เกน ได้รับสถาปนา จากกษัตริย์แห่งแคว้นบาวาเรียให้ดำรงตำแหน่ง "Royal Geheimart" พร้อมทั้งแต่งตั้งให้ เป็นศาสตราจารย์ และผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์กายภาพ แห่งมหาวิทยาลัยลุดวิก แมกซิมิเลียน แห่งมิวนิค ซึ่งนับเป็นที่งานสุดท้ายของศาสตรา จารย์เรินท์เกน โดยทางมหาวิทยาลัย ได้อำนวยความสะดวก ให้ศาสตราจารย์เรินท์เกนทุกอย่าง แม้กระทั่ง จัดบ้านพักให้อยู่ ณ เหนือห้องปฏิบัติการ ของ สถาบันนั้นเอง ศาสตราจารย์เรินท์เกน ได้ขอเกษียณอายุจากมหาวิทยาลัยในปี พ.ศ.2463 หลังจากภรรยาคือ เบอร์ธา ได้ถึงแก่กรรม ในปีก่อนหน้านั้น และในที่สุด พณฯ ราชบัณฑิต ศาสตราจารย์ ดร.วิลเฮล์ม คอนราด เรินท์เกนก็ถึงแก่นิจกรรมเมื่อ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2466 รวมอายุได้ 78 ปี

  • วิลเฮล์ม คอนราด เรินท์เกน เป็นนักวิจัยผู้รอบรู้ในห้องปฏิบัติการ แต่เขาทำตัวเป็นคนสามัญธรรมดา ผลสำเร็จของงานแต่ละชิ้น เป็นที่ปลาบปลื้ม และเป็นน้ำเลี้ยงชีวิตของเขา ขณะเดียวกันเขาก็เป็นผู้ ที่ยกย่อง และให้เกียรติแก่นักค้นคิดผู้อื่น ๆ เขาให้ความสนใจ และติดตามพัฒนาการที่ต่อยอดจาก การค้นพบของเขาตลอดเวลา ผลสัมฤทธิ์ของงานของเขา คงจะประทับอยู่ในความทรงจำ ของชาวโลกตลอดไป