Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!
---->
การตรวจพิเศษทางรังสี

Upper G.I.หรือ Ba meal
: เป็นการตรวจพิเศษโดยการ ดื่มแป้งแบเลื่ยม เข้าไป แล้วแพทย์จะทำการดูภาพจาก จอ monitor แล้วทำการ บันทึกภาพ ลง film x-ray
การเตรียมตัวในการตรวจ
: งดอาหารและน้ำ อย่างน้อย 6 ชั่วโมง ก่อนการตรวจ


การตรวจลำไล้เล็ก (Small Bowel)
: การตรวจลำไส้เล็ก เป็นการตรวจเพื่อความผิดปกติของลำไส้โดยการให้ดื่มสารทึบแสง คีอ แป้งแบเลี่ยม
- การตรวจลำไส้เล็ก มักจะไม่เป็นที่พอใจนัก เพราะว่าส่วนต่าง ๆ ของลำไส้เล็ก อยู่ในลักษณะที่ซ้อนกันอยู่ ทำให้การตรวจไม่ได้ผล ดีเท่ากับการตรวจกระเพาะอาหาร
- การตรวจจะถ่ายฟิล์มเป็นระยะ คือ ครึ่งชั่วโมง , 1 ชั่วโมง, 1 ชั่วโมงครึ่ง, 2 ชั่วโมง และ 3 ชั่วโมง หรือแล้วแต่แพทย์สั่ง ภายหลังการ ดื่มแบเลี่ยม 1-2 แก้ว เพื่อเป็นการถ่ายภาพให้เห็นส่วนต่าง ๆ ของลำไส้เล็ก และการถ่าย x-ray จะเสร็จสิ้นก็ต่อ เมื่อ แป้งได้ไหลเข้าสู่ ลำไส้ใหญ่แล้ว หรือ แล้วแต่ดุลพินิจของแพทย์


การตรวจลำไส้ใหญ่ (Barium enema)
: การตรวจลำไส้ใหญ่ เป็นการตรวจทางรังสี เพื่อดูความผิดปกติ ของลำใส้ใหญ่ โดยการสวน แบเลี่ยมหรือลม (Air) เข้าทางทวารหนัก ซึ่งบริเวณของลำไส้ใหญ่อาจเป็นแผล (Ulcer) เนื้องอก (Tumour) หรือ การอุดตันของลำไส้ใหญ่
สาเหตุที่ส่งตรวจ
ปวดหรือเจ็บบริเวณลำไส้ใหญ่ มีอาการ ท้องผูก ท้องร่วง หรืออุจจาระออกมามีเลือด เป็นสีแดงปนออกมา น้ำหนัดตัวลดลง การเตรียมตัวตรวจ
1. ให้ผู้ป่วยทานอาหารอ่อน ๆ 2 วันก่อนทำการตรวจ
2. ให้ยาระบาย 36 ชั่วโมงก่อนตรวจ
3. ให้ทำการสวน, อุจจาระผู้ป่วยก่อนตรวจเสมอ และต้องสวนให้สะอาด


I.V.P.(Intra Venus Phylogram)
: คือ การตรวจ ไต ท่อไต และ กระเพาะปัสสาวะ โดยการฉีดสารทึบรัง เข้าหลอดเลือด แล้วให้สารขับถ่าย ผ่านออกมาทางไต แล้วทำการถ่ายภาพรังสีไว้ เป็นระยๆ เช่น 1,3,5,10,20 หรือแล้วแต่แพทย์จะสั่ง ปกติจะเห็นภาพของไต และท่อไตได้ชัดเจนในระยะ ฟิล์มแรกๆ ส่วนกระเพาะปัสสาวะจะเห็น ได้ชัดใน ฟิล์มหลังๆ
การเตรียมตัวตรวจ หมายเหตุ : หากผู้ที่จะตรวจ เคยมีประวัติแพ้อาหารทะเล เป็นหอบหืด โรคไตเรื้อรัง ควรบอกให้แพทย์ทราบ ก่อนการตรวจ


Cystography
:เป็นการฉีดสารทึบรังสี (negative or positive contrast media) เข้าใน urinary bladder แบ่งการตรวจเป็น


Hysterosalpingography
: เป็นการตรวจทางรังสี ของระบบสืบพันธุ์ภายในสตรี โดยการใส่สารทึบรังสี เข้าไปในโพรงมดลูก ประกอยกับการถ่ยภาพรังสี
สาเหตุที่ต้องการตรวจด้วยวิธีนี้ การเตรียมตัวตรวจ
โดยทั่วไปจะไม่มีการนัดทำการตรวจ ก่อนหรือ หลังมีประจำเดือน 1 สัปดาห์ เนื่องจาก ก่อนมีประจำเดือน ภายในมดลูก จะฉ่ำไปด้วย เลือด ถ้าทำการตรวจในช่วงนี้ เครื่องมือ อาจไปถูก ผนังมดลูก ทำให้ฉีกขาดและมีเลือด ออกมาก ส่วนหลังมีประจำเดือน ใหม่ๆ เนื่องจาก การหลุดของผนังมดลูก ที่มีการหนาตัวมาก เมื่อเลือดออกหมด ผิวหนังจะขรุขระ เต็มไปด้วยบาดแผล ซึ่งจะมีเส้นเลือดมาก ในช่วงนี้ ซึ่ง ถ้าฉีดสารทึบรังสี สารก็จะเข้าไปในเส้นเลือด จะทำให้ แพทย์อ่านผลลำบาก และ อาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยด้วย
ดังนั้น : ระยะที่เหมาะสมที่สุดในการตรวจ ก็คือ ประมาณ 10 วัน หลังจากมีประจำเดือน


Myelography
: เป็นการตรวจทางรังสีวินิจฉัย ของระบบประสาท ภายในช่องสันหลัง( spianal canal) การตรวจจะใส่ สารทึบรังสีเข้าไปในช่อง Subarachnoil space ซึ่งการตรวจจะเรียกแตกต่างกัน ของส่วนที่ทำ ถ้าทำที่คอ จะเรียกว่า Cervical Myelography บริเวณหลัง เรียกว่า Thoracic Myelography และถ้าทำบริเวณเอว ก็จะเรียกว่า Lumba Myelography
สาเหตุที่ต้องทำการตรวจโดยวิธีนี้
  • การตรวจ Myelography นี้ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีตรวจ เนื่องจาก การตรวจด้วย MRI จะได้ผลที่ดีกว่า, เร็วกว่า และ ผู้ป่วยก็จะเจ็บน้องลง


    Oral Cholecystography
    : เป็นการตรวจถุงน้ำดี โดยการให้ผู้ป่วย กินสารทึบรังสี เข้าไปไห้สะสมที่ ถุงน้ำดี แล้วทำการ ถ่ายภาพ โดยการเอ็กซเรย์
    สาเหตุที่ต้องตรวจโดยวิธีนี้
    การเตรียมตัวตรวจ
    * ตรวจในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น
    1. มื้อเที่ยงของวันก่อนตรวจ ให้ทานอาหารที่มีไขมันมากๆ เพื่อทำการขับน้ำดีออกจาก ถุงน้ำดีให้หมด โดยถุงน้ำดีจะแฟบลง
    2. มื้อเย็นก่อนตรวจ ให้ทานอาหารที่ไม่มีไขมันเลย
    3. หลังจากทานอาหารเย็นแล้ว ให้ทานยา ทึบรังสีที่เจ้าหน้าที่จัดเอาไว้ให้ ทีละเม็ด จำนวน 6 เม็ด โดยห่างกันเม็ดละ 5 นาที
    4. งดน้ำ-อาหาร ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนจนถึงตรวจ
  • การตรวจประเภทนี้พบได้น้อยราย


    Dacryocystography
    : เป็นคำที่ใช้กับการตรวจทางรังสีของ Nasolacrimal drainage System โดยใส่สารทึบรังสี เข้าไปในท่อน้ำตา การตรวจนี้ จะทำเพื่อดูความผิดปกติ ของท่อน้ำตา เช่น ท่อมีขนาดเล็ก มีการตีบตัน หรือผนังช่องทางเดินของน้ำตา จะหนาขึ้นผิดปกติ


    Brochography
    : เป็นการตรวจพิเศษ ทางด้านรังสีของ lungs และ bronchial tree โดยการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปใน bronchus การตรวจนี้จะทำเมื่อ สงสัยว่าผู้ป่วยเป็น bronchiectasis, chronic pneumonia, bronchial obstruction, hemoptysisi, Cysts และ cavities หรือเป็น T.B. ลุกลามไปที่หลอดลมจนตีบตัน แต่ส่วนมากจะทำเมื่อสงสัยเป็น bronchiectasis


    Arthrography
    : การถ่ายภาพเอ็กซเรย์ของข้อต่อ และส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น manisci, ligaments, articular cartilage, bursae วิธีการ คือ ฉีด contrast agents เข้าไปใน capsular space ถ้าฉีด air เข้าไปเรียกว่า pneumoarthorgrapht ถ้าฉีด water-soluble iodinated medium เรียก opaque arthography แต่ถ้าใช้ทั้งสองอย่างร่วมกันเราเรียกว่า double-contrast arthrography
    - ก่อนที่จะทำการตรวจ เราจะฉีดยาชาเฉพาะที่ ให้แก่ผู้ป่วย ซึ่งจะทำในห้องตรวจเอ็กซเรย์ ที่สามารถทำ fluoroscopy ได้


    Sialography
    : การตรวจต่อมน้ำลายทางรังสี โดยการฉีดสารทึบรังสี เข้าไปในท่อน้ำลาย แล้วถ่ายภาพ หลังจากได้รับการ ฉีดสาร ทึบรังสีแล้ว