Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!
---->
Ultrasound

  • อุลตราซาวด์ คือ คลื่นเสียงความถี่สูง ที่เกินกว่าหูมนุษย์จะรับได้
    คลื่นความถี่สูงที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ได้แก่ เสียงจากค้างคาว แมลง ซึ่งมีอวัยวะที่สามารถส่ง (Transmit) และรับ (Recieve) คลื่นเสียงนี้ได้ จะมีความถี่ประมาณ 120 kHz
  • ส่วนคลื่นความถี่สูงที่มนุษย์ผลิตขึ้นมานั้น อาศัยหลัการ Piezoelectirc effect ที่เกิดขึ้นในผลึกและให้ออกมาเป็น Ultrasound ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ในการแพทย์ ผลึกที่พบในธรรมชาติได้แก่ Quartz ส่วนผลึกสังเคราะห์ ได้แก่ Barium titanate และ Lead irconate titanate ผลึกเหล่านี้จะบรรจอยู่ในหัวตรวจ (Transducer or Probe)
  • คุณสมบัติของ Pizoelectic effect ของผลึก คือ เมื่อให้การเปลี่ยนแปลงของประจุไฟฟ้า (Conversion of electricity) ผ่านเข้าสู่ผลึก ทำให้โมเลกุลผ่านในผลึก เกิดการสั่นสะเทือน (Mechanical vibrations) แล้วปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูง ออกมาสู่ภายนอก และในทางกลับกัน เมื่อคลื่นเสียงกระทบผลึกนี้ ทำให้โมเลกุลภายในเกิดการสั่นสะเทือน แล้วเปลี่ยน ออกมา เป็นการเปลี่ยนแปลงของประจุไฟฟ้าได้
    หลักการ
    หลักการของอุลตราซาวด์ก็คือ เมื่อให้ประจุไฟฟ้าเป็นระยะ ติดๆกัน ไปยังผลึกที่มีคุณสมบัติ Piezoelectric effect จะ ทำให้ได้อุลตราซาวด์ออกมา เป็นช่วงๆ (ultrasonic pulses) เข้าสู่ส่วนที่เรานำสัมผัส เมื่อพบรอยต่อของตัวกลาง (Interface) 2 ชนิด ทำให้เกิดการสะท้อน (Reflection) และการหักเห ตลอดแนวทางที่เสียงเดินผ่าน ในตัวกลางต่างชนิดกัน การเกิด การสะท้อนกลับมาสู่หัวตรวจ จะเกิดในเปอร์เซนต์และองศาที่แตกต่างกัน ฉนั้นภาพที่ได้จึงปรากฎบนจอภาพให้เห็น ความแตกต่างของเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นตัวกลางที่เสียงเดินผ่าน จึงทำให้บอกความผิดปกติ เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคได้

  • การตรวจวินิจฉัยโรคด้วย "คลื่นเสียงความถี่สูง" หรือ "อุลตราซาวด์" (Ultrasound) เป็นการตรวจ อีกวิธีหนึ่ง จากหลายๆ วิธี เพื่อให้การวินิจฉัยโรค เป็นไปได้ถูกต้อง และแม่นยำยิ่งขึ้น ซึ่งการตรวจด้วยเอ็กซเรย์ ก็เป็นวิธีหนึ่ง เช่นกัน การตรวจเริ่มจาก การปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูง (ในทางวินิจฉัยโรคใช้ ความถี่ 2-7.5 MHz) จากหัวตรวจ (Probe) ผ่านลงสู่ผิวหนัง เข้าไปยังอวัยวะภายใน เมื่อเสียงกระทบรอยต่อ (Interface) ของเนื้อเยื่อ 2 ชนิด จะให้การสะท้อน (Reflection) และการหักเห (Refraction) ควบคู่กันไป เช่นนี้ทุกครั้ง เสียงที่สะท้อน กลับมายัง Probe ทุกครั้ง จะถูกแปรผล ให้ปรากฎเป็นภาพ แสดงบนจอ CRT (Cathode Ray Tube) ตามเวลาที่กลับมา จึงเห็นเป็นความลึกต่างๆ กันในทันที

    ประวัติโดยย่อของ Ultrasound
    1794 Spellanziniสังเกตค้างคาวบินได้เร็วในความมืด ไม่ชนสิ่งกีดขวาง โดยอาศัยเสียงดัวเองบอกทาง
    1880 Pierri & Jaeques Curio ค้นพบผลึกสสาร บางชนิดมีคุณสมบัติเป็น Piezoelectric Effect คือสั่นสะเทือนได้เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้า
    1919 Nicolson รายงานคุณสมบัติทาง Piezoelectric Effect ของผลึก Composite Roch Chelle Salt.
    Lanqebin(ชาวฝรั่งเศส) เป็นคนแรกที่ใช้เสียงความถี่สูงให้เป็นประโยชน์โดยใช้ Quartz, Lead Zirconate Tetanate, Barium Titanate. หาวัตถุใต้น้ำลึก ๆ และรายงานว่า ถ้าใช้เสียงความถี่สูง ๆ นาน ๆ จะฆ่าสัตว์น้ำเล็ก ๆ ได้
    1933 Szent gyorgyi อธิบายผลของเสียงความถี่สูงต่อเนื้อเยื่อ
    1942 Firestone นำมาใช้ใน โรงงานอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรก ตรวจหา ความผิดปกติ ในเนื้อโลหะ โดยใช้หลักการ pulse echo ultrasound (ใช้ความถี่สูง-ความเข้มต่ำ)
    Dussileนำมาใช้ในทางการแพทย์ เพื่อดู Soft tissue ซึ่ง x-ray ทำไม่ได้
    1952 Howryใช้ compound scanning (หัวตรวจเคลื่อนไปตามแกน) ผู้ป่วยแช่ในน้ำ ให้ภาพแบบ See-through ไม่ใช่ Reflect แบบปัจจุบัน
    Wild & Reid ใช้ A & B mode ตรวจเต้านมที่แช่ในน้ำ
    1954-1955 Prof.Ian Donald(สูติ-นารีแพทย์เมือง Glasgow สก๊อตแลนด์) ใช้ A mode ตรวจถุงน้ำในรังไข่ น้ำในช่องท้อง, ครรภ์แฝดน้ำ
    1957 Donald & Brownสร้าง B mode-contact compound scanner หัวตรวจห้อยมาสัมผัสบริเวณอวัยวะที่ต้องการตรวจ
    1960 Weill Hollander และ Rotten meier เขียนบทความเกี่ยวกับ Real Time จึงทำให้ Real time เป็นที่รู้จักในเยอรมันและฝรั่งเศส
    1965 Dr.Wernher Buschmann (จักษุแพทย์ เยอรมัน) สร้าง Electronic Transducer Real time ติดที่ยึดโค้งตามกระบอกตานำมาใช้ใน Clinic
    1967 Seimens บริษัทในเยอรมัน ผลิต Real time ใช้หัวหมุนในน้ำ เสียงสะท้อนกระจกผ่านถุงน้ำสู่อวัยวะ ใช้ดูหัวใจ, การเคลื่อนไหวของเด็กในครรภ์ เรียก Vidoson scan ได้ 15 ภาพ/sec
    1974 ADR บริษัทในอเมริกา ผลิต Real time แบบ Linear array มีเส้นในหัวตรวจ 64 เส้น
    Criffith & Henryค้นพบ Mechanical Sector Scan มีประโยชน์มาก ในการตรวจหัวใจ
    1969 Kossoffชาวออสเตรเรีย ค้นพบ Gray Soale ให้เห็นความแตกต่าง ของเนื้อเยื่อ ที่มีความหนาแน่นต่างกัน
    1974 -พัฒนา Gray scale จนใช้ได้ดีในปลายปี (พอดีกับ CT เข้ามาในวงการแพทย์)
    1976-มี Real time ระบบ pulsed array
    Kossoff & เพื่อน ๆสร้าง Automated system โดยใช้หัวตรวจ 8 หัวในตู้น้ำ ซึ่งตัดปัญหา ความไม่ชำนาญของผู้ตรวจ วิวัฒนาการ & computer วัดระยะทางได้แม่นยำ วัดเนื้อที่เทียบความหนาแน่น ของเนื้อเยื่อ

  • การตรวจด้วยอุลตราซาวด์ เป็นที่ยอมรับ ของแพทย์ทุกสาขา เครื่องอุลตราซาวด์ มีใช้กันแพร่หลาย เกือบทุกโรงพยาบาล หลายโรงพยาบาล มีมากกว่า 1 เครื่อง ทั้งนี้ เพราะราคาไม่แพงนัก เมื่อเทียบกับ เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ เครื่อง MRI และ เครื่องอุลตราซาวด์ ยังมีให้เลือก ตั้งแต่เครื่องเล็ก ซึ่ง สามารถหิ้วไปตามตึกผู้ป่วยได้ (Mobile) จนถึง เครื่องใหญ่ที่มีเทคนิคพิเศษเพิ่มเติม เพื่อการใช้งาน ได้หลายแบบ และ มีหน่วยความจำมากขึ้น ซึ่งราคา ก็จะต่างกันไปด้วย ตั้งแต่ 3 แสนบาท จนถึง หลายล้านบาท

    ข้อได้เปรียบของการตรวจด้วยอุลตราซาวด์

    อุลตราซาวด์ เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในด้านการแพทย์ ทั่งทาง Surgery, Therapy และ Diagnosis โดยเฉพะทาง Diagnosis นั้นเป็นที่นิยมทั่วไปทั้งนี้เพราะ

    1. ไม่ก่อให้เกิดอันตรายจากรังสี จึงปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย โดยเฉพาะเด็กและหญิงมีครรภ์ รวมทั้ง ผู้ควบคุมเครื่องอุลตราซาวด์ด้วย ฉะนั้นการตรวจจึงทำได้บ่อยครั้ง เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลง ของโรคเป็นระยะๆ หรือ ภายหลังการผ่าตัด แม้กระทั่ง ติดตามการเจริญเติบโต ของทารกในครรภ์

    2.การตรวจทำได้ง่าย สะดวย และรวดเร็ว ไม่ยุ่งยากในการเตรียม ผู้ป่วยจึงไม่มีปัญหาต้องดมยา หรือ Sedate ในเด็ก หรือ ผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือ การตรวจใช้เวลาสั้น ๆ โดยตรวจอย่างละเอียด ใช้เวลาไม่ถึงกี่ครึ่งชั่วโมง ฉะนั้น จึงสามารถตรวจผู้ป่วยได้จำนวนมากในแต่ละวัน

    3.ไม่ก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนไม่เกิดบาดแผลหรือการเจ็บปวดทรมานทั้งนี้เพราะการตรวจ ด้วยอุลตราซาวด์ ไม่จำเป็นต้องฉีดสารใด ๆ เข้าร่างกาย เพื่อช่วยในการตรวจ

    4.ตรวจได้เกือบทุกอวัยวะในร่างกาย ที่เป็นเนื้อเยื่อ (Soft timssue) และ ตรวจได้ทุกระนาบ ได้แก่ Transverse, Longitudinal, oblique แม้ผู้ป่วยจะอยู่ใน position ใด เช่น Supine, Prone, Upright, Decubitus. สามารถทำการตรวจได้ ในบางครั้งการตรวจอาจจำเป็นต้องเปลี่ยน position ของผู้ป่วยบ้าง ก็ทำแต่เพียง เล็กน้อยไม่ยุ่งยากสำหรับผู้ป่วยเลย

    5.ภาพอุตราซาวด์ แสดงเนื้อเยื่อชนิดต่าง ให้เห็นรายละเอียดภายในเนื้อเยื่อ และ ขอบเขตที่แยก จากกันชัดเจน


    ข้อบ่งชี้ในการตรวจ

    โดยทั่วไปการ Request ผู้ป่วยมาตรวจด้วยอุลตราซาวด์นั้นเพื่อ
    1. ดูความผิดปกติทั่ว ๆ ไป
    2. เพื่อ comfirm กับการตรวจทาง clinical ว่าพบ Mass
    3. Mass ที่พบเป็นส่วนของอวัยวะใด หรือ ติดต่อกับอวัยวะใดบ้าง
    4. เพื่อดู Mass ที่พบว่าเป็น Mass ประเภทใด ได้แก่

    5. ติดตาม Known case เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงและ Evaluate ขนาด
    6. เพื่อเป็น quide .odki Aspiration Procedure
    7. เพื่อดูเพศของทารกในครรภ์

    ภาพ ultrasound แสดงทารกเพศชาย

    ข้อเสียเปรียบของการตรวจด้วยอุลตราซาวด์
    1. การตรวจจะให้ภาพที่มีคุณค่าในการวินิจฉัยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ใช้เครื่องดังนี้

    2. ภาพที่ได้มีขีดจำกัดตามขนาดของเครื่อง และตัวกลางเก็บภาพ (Recording Media)
    3. สภาวะผู้ป่วยมีความสำคัญต่อภาพที่ได้ อุลตราซาวด์จะให้ภาพไม่ดี ในกรณีผู้ป่วยอ้วน มี Fat หนา และผู้ป่วยที่มี gas ในส่วนของช่องท้องมาก
    4. อุลตราซาวด์ใช้ตรวจกระดูกไม่ได้ เพราะเสียงเมื่อกระทบกระดูก จะให้การสะท้อนเพียง 36% มีเพียงเล็กน้อยสามารถทะลุผ่านไปได้ ส่วนที่เหลือจะถูกดูดซึมในกระดูก ฉะนั้นจึงเป็นการลำบาก ในการเก็บภาพของอวัยวะที่อยู่ใต้ Rib และเช่นเดียวกับ ในผู้ป่วยที่มี Barium Sulfrate ค้างอยู่ใน GI Tract จะให้ภาพที่ไม่มีคุณค่าในการวินิจฉัยเลย
    5. เครื่องอุลตราซาวด์ จะให้ประโยชน์ได้เต็มที่ ในงานแต่ละอย่าง ขึ้นอยู่กับความรู้พื้นฐานของ ผู้พิจารณาเลือกซื้อเครื่อง ให้ได้เครื่องที่ดีที่สุดเหมาะสมกับงาน ในวงเงินที่กำหนดไว้
    6. เครื่องอุลตราซาวด์เ ป็นเครื่องที่ถูกสร้างขึ้นมา ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง จึงมีกลไกซับซ้อนและ ละเอียดมาก (Complicate and Delicate) เมื่อเครื่องเสีย จึงหาผู้เชี่ยวชาญในการซ่อมได้ยาก ฉะนั้น ในการพิจารณาซื้อเครื่อง จึงควรคำนึงถึงข้อนี้ และเลือกบริษัท ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายที่ เชื่อถือได้ เพื่อการบริการซ่อมได้ถูกต้อง ใช้เวลาไม่นานนัก และค่าใช้จ่ายน้อย
    คำแนะนำในการเตรียมตรวจ Ultrasound
    การตรวจช่องท้องส่วนต้น
    - งดน้ำและอาหาร (N.P.O. = Nothing Per Oral) อย่างน้อย 6-12 ชม.ก่อนการตรวจ สำหรับเด็กเล็ก ให้งดนม เพียง 4 ชม. เหตุที่ต้องงด น้ำด้วยก็ถ้า ไม่มีอะไร ถูกลงกลืนสู่ หลอดอาหารแล้ว โอกาสที่อากาศ จะผ่านสู่กระเพาะอาหาร ก็น้อยด้วย ซึ่งอากาศมี อิทธผลต่อภาพ อุลตร้าซาวด์ด้วย ไม่ว่า จะมีจะมีอากาศ อยู่ในส่วนใดของ Gastro-intestinal tract ก็ตาม ก็จะทำให้ขาดข้อมูลที่ต้องการ บนภาพได้ และใน กรณีที ผู้ป่วยมี ฺBowel gas มาก วิธีที่ดีที่สุดก็คือ ให้รอ ไปก่อน 2-3 ส่วนการงดอาหารนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาพ ลวงจากอาหารที่ทาน ทั้งอาหารที่มัน ยังทำให้ Gall bladder บีบตัวจน การตรวจ Gall bladder ทำได้ยาก
    การตรวจช่องท้องส่วนล่าง
    -ไม่ต้องงดอาหาร เพียงก่อนตรวจให้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะเต็ม