|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau |
วงศ์ |
ACANTHACEAE |
ชื่ออื่น ๆ |
พญาปล้องทอง คงคาเย็น (ภาคกลาง) ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด
(เชียงใหม่) พญาปล้องดำ (ลำปาง) |
ลักษณะของพืช |
เป็นไม้เลื้อยหรือไม้พุ่มเลื้อย ลำต้นสีเขียว ไม่มีหนาม
ใบเดี่ยวติดกับลำต้นแบบตรงกันข้าม ใบรูปรียาว ปลายใบและโคนใบแหลม ขนาดใบกว้าง
0.52 ซม. ยาว 610 ซม. ก้านใบยาว 310 มม. ดอกออกเป็นช่อแน่นที่ปลายยอด
แต่ละดอกมีใบประดับสีเขียวรูปเรียวแหลมยาว 1 ซม. ติดที่โคนดอก ดอกมีกลีบสีแดง
ลักษณะเป็นหลอดยาว 23.5 ซม. ปลายหลอดแยกเป็น 2 ส่วน มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียยาวโผล่พ้นหลอด
|
ส่วนที่ใช้เป็นยา |
ใบสด |
สรรพคุณและวิธีใช้ |
- ใช้รักษาโรคผิวหนังจำพวก เริม หรืองูสวัด ใช้ใบสดประมาณ 1 กำมือ
(ขนาดที่ให้สามารถเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตามอาการ) ตำผสมเหล้า ทาบ่อย
ๆ
- ใช้แก้พิษแมลงสัตว์ กัดต่อย (ไม่รวมพิษงู) ใช้ 210 ใบ ขยี้หรือตำให้แหลก
นำมาทาหรือพอก
|
การขยายพันธุ์ |
ใช้ปักชำ |
สภาพดินฟ้าอากาศ |
ขึ้นได้ทั่วไป โดยเฉพาะดินร่วนปนทราย เจริญได้ดีทั้งในที่แจ้งและที่ร่ม
|
การปลูก |
ตัดต้นตรงส่วนที่ไม่อ่อนและไม่แก่จนเกินไป ชำลงในดินที่ต้องการ
รดน้ำให้ชุ่มทันที และหลังจากชำใหม่ ๆ ควรรดน้ำทุกวัน จนกว่ากิ่งชำจะเจริญแข็งแรงดี
|