Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!
RANGSAN
โลกแห่งสมุนไพร
   ::รังสรรค์ ชุณหวรากรณ์::

ตำลึง

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Coccinia grandis (L.) Voigt. , (Syn. C.indica Wight. & Arn.)
วงศ์ CUCURBITACEAE
ชื่ออื่น ๆ ผักแคบ (ภาคเหนือ)
ลักษณะของพืช เป็นไม้เลื้อย ใบเดี่ยวติดกับลำต้นแบบสลับ ใบมีรูปร่างคล้ายรูปไข่หรือรูปห้าเหลี่ยม ขอบใบเรียบหรือหยักเว้าลึก 5 หยัก โคนใบเว้ารูปหัวใจ เนื้อใบด้านบนหยาบเล็กน้อย ด้านใต้ใบมีต่อมขนาดเล็กอยู่ที่ฐานของเส้นใบใหญ่ ขนาดใบมีความกว้างใกล้เคียงกับความยาว 5–15 ซม. ก้านใบยาว 2–4 ซม. ดอกมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย ซึ่งออกตามมุมก้านใบ ดอกสีขาว ขนาด 2–4 ซม. ผลแก่สีแดงสด
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสด
สรรพคุณและวิธีใช้ แก้ฝี แผลพุพอง
  1. ใช้แก้โรคผิวหนังจำพวกเริมและงูสวัด ใช้ใบสดประมาณ 2 กำมือ ตำให้ละเอียด เติมดินสอพอง 1 ใน 4 ส่วน นำมาทาบ่อย ๆ บริเวณที่เป็น
  2. แก้พิษแมลงสัตว์ กัด ต่อย (ไม่รวมพิษงู) ใช้ 2–10 ใบ ขยี้หรือตำให้แหลก นำมาทาหรือพอก ใช้ดีสำหรับแก้พิษมดคันไฟหรือใบตำแย
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ด หรือปักชำ ที่นิยมคือปักชำ
สภาพดินฟ้าอากาศ ขึ้นได้ทั่วไปในดินแทบทุกชนิด ชอบดินร่วนซุย ทนแล้งและทนฝนได้ดี ปลูกได้ตลอดปี
การปลูก ตัดเถาแก่ยาวประมาณ 10 ซม. และมีตาอยู่ 2 ตา ปักชำลงในดินให้เหลือตาโผล่เหนือระดับดิน 1 ตา และฝังอยู่ในดิน 1 ตา กดดินรอบ ๆ ให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม และควรทำค้างไม้เตี้ย ๆ ให้ต้นเจริญเลื้อยพัน โดยทั่วไป มักปลูกตามริมรั้วบ้าน เพื่อเก็บยอดรับประทานเป็นผัก
การบำรุงรักษา ตำลึงเป็นพืชที่ปลูกง่าย ไม่ต้องเอาใจใส่มากนัก แต่ถ้าต้องการให้ต้นเจริญดีและเก็บยอดได้ตลอดไปควรตัดแต่งกิ่งเสมอ เพื่อให้ต้นโปร่งและแตกแขนงใหม่ และใส่ปุ๋ยโคนต้นบ้างเป็นครั้งคราวนอกจากนี้ควรดูแลกำจัดโรค แมลงให้ด้วย

 
   
   
 
Copyright 2002 คำนำสารบัญเกี่ยวกับผู้จัดทำโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์จังหวัดนนทบุรี บรรณานุกรม