|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Cucurbita moschata (Duch.) Poir. |
วงศ์ |
CUCURBITACEAE |
ชื่ออื่น ๆ |
น้ำเต้า (ภาคใต้) มะฟักแก้ว (ภาคเหนือ) มะน้ำแก้ว (เลย)
หมักอื้อ (เลย, ปราจีนบุรี) หมากอึ (อีสาน) |
ลักษณะของพืช |
เป็นพืชล้มลุกที่มีลำต้นเลื้อยไปตามพื้นดินและมีหนวดยาวที่ข้อ
ปลายหนวดแยก 34 แฉก ลำต้นเมื่ออ่อนมักเป็น 5 เหลี่ยม ใบมีขนคายมืออยู่ทั่วไป
เนื้อใบนิ่ม ใบรูปร่างคล้ายรูป 57 เหลี่ยม หรือรูปร่างเกือบกลมที่มีริมหยักเว้าลึก
57 หยัก ขนาดใบกว้าง 1020 ซม. ยาว 1530 ซม. ดอกมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย
สีเหลือง ผลรูปร่างและขนาดแตกต่างกันตามพันธุ์ อาจมีรูปร่างตั้งแต่กลมจนถึงค่อนข้างแป้น
ผิวมักเป็นตุ่มนูน เป็นสันและเป็นร่อง เนื้อในผลสีเหลืองจนถึงเหลืองอมส้มและเหลืองอมเขียว
เมล็ดมีจำนวนมาก รูปร่างคล้ายรูปไข่แบน |
ส่วนที่ใช้เป็นยา |
เมล็ดแห้ง |
สรรพคุณและวิธีใช้ |
ถ่ายพยาธิลำไส้ เหมาะสำหรับถ่ายพยาธิตัวตืด ใช้เมล็ดประมาณ
500 มิลลิลิตร แบ่งรับประทาน 3 ครั้ง ห่างกันทุก 2 ชั่วโมง หลังจากให้ยาแล้วประมาณ
2 ชั่วโมง ก็ให้ทานน้ำมันละหุ่งระบายตาม |
การขยายพันธุ์ |
ใช้เมล็ด |
สภาพดินฟ้าอากาศ |
ชอบดินร่วนเบา ไม่ชอบน้ำขัง ควรปลูกฤดูฝน |
การปลูก |
ปรับดินให้เรียบกำจัดวัชพืชออกให้หมด ขุดหลุมลึก 710 ซม.
กว้าง 3050 ซม. ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรองก้นหลุม เอาเมล็ด 23 เมล็ด
วางเรียงในหลุม กลบด้วยดินบาง ๆ และฟางเล็กน้อยคลุมไว้ แล้วจึงเอาดินกลบให้เต็ม
รดน้ำให้ชุ่ม |