|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Curcuma longa Linn. , (Syn C. domestica Val.) |
วงศ์ |
ZINGIBERACEAE |
ชื่ออื่น ๆ |
ขมิ้น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยวก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น
หมิ้น (ใต้) |
ลักษณะของพืช |
ขมิ้นเป็นพืชล้มลุก ต้นสูงประมาณ 5070 ซม. มีเหง้าอยู่ใต้ดิน
เนื้อในของเหง้ามีสีเหลืองเข้มจนถึงสีแดงเข้มมีกลิ่นหอมเฉพาะ ใบรูปเรียวยาวที่ขอบใบค่อนข้างขนาน
ปลายใบแหลมเนื้อใบเรียบ ขนาดกว้าง 815 ซม. ยาว 2540 ซม. ก้านใบคล้ายใบกาบยาว
1530 ซม. ดอกออกเป็นช่อทรงกระบอก ขนาดกว้าง 48 ซม. ยาว 515 ซม. ก้านดอกออกมาจากเหง้าโดยตรง
ยาว 715 ซม. ดอกย่อยสีเหลืองอ่อนมีกลีบประดับสีเขียวอมชมพู สีตอนบนเข้มกว่าตอนล่าง
ดอกสีขาวอมเหลือง |
ส่วนที่ใช้เป็นยา |
เหง้าสดหรือแห้ง |
สรรพคุณและวิธีใช้ |
- ใช้รักษาโรคผิวหนังจำพวก พุพอง น้ำเหลืองเสีย โดยใช้เหง้าสดหั่นเป็นแว่นบดให้ละเอียด
เอาส่วนน้ำมาทาบริเวณที่เป็น หรือใช้เหง้าแห้งบดให้ละเอียดนำมาโรยแผล
- ใช้แก้อาการท้องเดินที่ไม่ใช่บิดหรืออหิวาตกโรค โดยใช้เหง้าหั่นเป็นชิ้น
ๆ ครั้งละ 1 กำมือ น้ำหนักโดยประมาณ 1020 กรัม แห้งหนัก 510 กรัม
นำมาต้มกับน้ำพอประมาณ ต้มให้งวดเหลือ 1 ใน 3 แล้วเอาน้ำดื่มวันละครั้ง
|
การขยายพันธุ์ |
ใช้เหง้า |
สภาพดินฟ้าอากาศ |
ชอบดินดี โดยเฉพาะดินร่วนซุย ซึ่งอุดมด้วยอินทรียวัตถุ
ไม่ชอบน้ำขังต้องการความชุ่มชื้นสูง ถ้าปลูกในที่ปริมาณน้ำฝนน้อย ก็ต้องอาศัยการชลประทานที่ดี
เจริญได้ดีในที่แจ้ง |
การปลูก |
เตรียมดินโดยไถพรวนดินและตากดินไว้ 12 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยหมักและปุ๋ยที่มีธาตุพอแทสเซียมสูงคลุกเคล้ากับดิน
จากนั้นจึงเอาเหง้าลงปลูกลึกเพียง 58 ซม. การปลูกควรปลูกเป็นแถว ระยะระหว่างต้นคือ
1530 ซม.ระหว่างแถวห่าง 3045 ซม. ใบอ่อนจะแทงขึ้นเหนือดินหลังจากปลูก
45 สัปดาห์ ต่อจากนั้น 910 เดือน จึงขุดเหง้าขึ้นมาใช้ได้ |
การบำรุงรักษา |
คอยดูแลความสะอาดและความชุ่มชื้นของแปลงอยู่เสมอ นอกจากนี้ควรระวังเรื่องโรคและแมลงซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ |