|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Cymbopogon citratus Stapf |
วงศ์ |
GRAMMINEAE |
ชื่ออื่น ๆ |
จะไคร (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) |
ลักษณะของพืช |
เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุได้หลายปี ลำต้นตั้งตรงและอยู่รวมกันเป็นกอ
มีข้อและปล้องสั้น และค่อนข้างแข็ง ลำต้นส่วนที่อ่อนจะมีใบเรียงซ้อนสลับกันแน่นมาก
ใบมีกาบใบเป็นแผ่นยาว โอบซ้อนกันจนดูแข็งคล้ายลำต้น ตัวใบเรียวยาวปลายแหลม
กว้างไม่เกิน 2 ซม. ยาวได้ถึง 90 ซม. เนื้อใบหยาบและมีขนอยู่ทั่วไป ดอกออกเป็นช่อยาวมาก
ซึ่งประกอบด้วยช่อย่อยที่มีดอกขนาดเล็กอยู่อีกเป็นจำนวนมาก และมีขนที่ก้านดอก
|
ส่วนที่ใช้เป็นยา |
ลำต้นแก่ หรือเหง้า ใช้ได้ทั้งสดหรือแห้ง |
สรรพคุณและวิธีใช้ |
- แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน(เกิดจากธาตุไม่ปกติ)
ใช้สด ๆ ทุบพอแหลก ประมาณ 2 กำมือ (4060 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม
- ใช้ขับปัสสาวะ ใช้วันละ 1 กำมือ (สด 4060 กรัม แห้ง 2030 กรัม)
ต้มกับน้ำรับประทานวัน ละ 3 ครั้ง ๆ ละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร)
ก่อนอาหาร
|
การขยายพันธุ์ |
ใช้เหง้า |
สภาพดินฟ้าอากาศ |
ชอบดินร่วนซุย ไม่ชอบน้ำขัง ปลูกได้ตลอดปี |
การปลูก |
ใช้ลำต้นหรือเหง้าปักชำ โดยตัดใบออกให้เหลือตอนโคนยาวพอสมควร
ปักเอียงลงดินลึกประมาณ 5 ซม. รดน้ำทันที |
การบำรุงรักษา |
ปล่อยให้เจริญเติบโตได้เองไม่ต้องบำรุงรักษาแต่อย่างใด
|