|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Doospyros mollis Griff.
|
วงศ์ |
EBENACEAE
|
ชื่ออื่น ๆ |
มะเกือ มะเกีย (ภาคเหนือ) เกลือ (ภาคใต้) หมักเกลือ (ตราด)
|
ลักษณะของพืช |
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ จะมีขนนุ่มในส่วนที่อ่อน ๆ รูปร่างของใบคล้ายรูปไข่ด้านบนใบเรียบ ด้านใต้ใบสีเขียวซีด ใบที่ยังอ่อนอยู่จะมีขนทั้งสองด้าน ดอกมีขนาดเล็กออกเป็นช่อ สีเหลืองอ่อนและมีขน ช่อหนึ่งมีตั้งแต่ 3 ดอกขึ้นไป ผลกลมสีเขียวคล้ำ มีเมล็ดน้อย ทุกส่วนของมะเกลือเมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีดำ
|
ส่วนที่ใช้เป็นยา |
ผลดิบสด (ผลแก่ที่มีสีขาว ผลสุกสีเหลือง หรือผลสีดำห้ามใช้)
|
สรรพคุณและวิธีใช้ |
ถ่ายพยาธิลำไส้ (พยาธิสามัญทุกชนิด)
ใช้ผลสดสีเขียวโขลกพอแหลกแล้วผสมกับหัวกะทิสดคั้นเอาน้ำดื่มก่อนอาหารมื้อเช้า ถ้า 3 ชั่วโมงยังไม่ถ่ายให้ใช้ยาระบายดีเกลือตาม จำนวนที่ใช้เท่ากับอายุ (1 ขวบต่อ 1 ผล แต่ไม่เกิน 25 ผล) ใช้ถ่ายพยาธิสามัญทุกชนิด
|
การขยายพันธุ์ |
นิยมใช้เพาะเมล็ด
|
สภาพดินฟ้าอากาศ |
มะเกลือเป็นไม้ที่ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ต้นมะเกลือถูกแดดจัดจะให้ลูกตกแต่ใบไม่ค่อยงาม ฤดูที่เหมาะในการปลูกได้แก่ ฤดูฝน
|
การปลูก |
ควรขุดหลุมให้กว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร ลึก 1 เมตร และ ตากดินที่ขุดไว้นานประมาณ 12 อาทิตย์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคในดิน
|
การบำรุงรักษา |
ในระยะเริ่มแรกการปลูก ควรให้นำทุกวันถ้าฝนไม่ตก โดยเหตุที่มะเกลือเป็นต้นไม้ที่ไม่กลัวน้ำ ฉะนั้น แม้ตามโคนต้นจะมีน้ำขังบ้างก็ไม่ถึงกับเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตและควรกำจัดวัชพืชบริเวณรอบ ๆ ต้นด้วย ต้นมะเกลือที่มีความเจริญเติบโตดีจะให้ผลเมื่ออายุได้ประมาณ 1 ปี
|