|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Gynura pseudochina DC. Var. hispida Thv.
|
วงศ์ |
COMPOSITAE
|
ชื่ออื่น ๆ |
ว่านมหากาฬ (กรุงเทพ ฯ) ผักกาดกบ (เพชรบูรณ์) หนาดแห้ง (โคราช)ผักกาดนกเขา (สุราษฏร์ธานีใต้) คำโคก (ขอนแก่น เลย อีสาน)
|
ลักษณะของพืช |
เป็นไม้ล้มลุกลงมีรากขนาดใหญ่ ลำต้นอวบน้ำเลื้อยทอดยาวไปตามดิน ชูยอดตั้งขึ้น ปลายยอดมีขนนุ่มสั้นปกคลุม ใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนรอบต้น รูปใบหอกกลับ กว้าง 2.58 ซม. ยา 630 ม. ขอบใบหยักด่าง ๆ หลังใบสีม่วงเข้ม มีขน เส้นใบเขียว ท้องใบสีเขียวแกมเทา ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด กลีบดอกสีเหลืองทอง ผลเป็นผลแห้งไม่แตก |
ส่วนที่ใช้เป็นยา |
หัวใต้ดิน
|
สรรพคุณและวิธีใช้ |
แก้ฝี แผลพุพอง
- นำหัวว่านมหากาฬตำพอก หรือฝนกับน้ำปูนใส ทาบริเวณที่เป็นฝีและแผลพุพอง วันละ 34 ครั้ง
- ใช้ใบสดโขลกผสมกับเหล้า ใช้พอกฝีหรือหัวสำมะรอก ทำให้เย็น ถอนพิษ บรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน
- ใช้ใบสดโขลกผสมกับเหล้า กินดับพิษกาฬ พิษร้อน พิษไข้เซื่องซึม กระสับกระส่าย รักษาพิษอักเสบ
|
การขยายพันธุ์ |
โดยการแยกหน่อ
|
สภาพดินฟ้าอากาศ |
ชอบดินร่วนซุย มีอาหารอุดมสมบูรณ์ มีความชุ่มชื่น ปลูกได้ทุกฤดู
|
การปลูก |
เตรียมดินโดยขุดดินตากแดดไว้ให้ร่วนซุย ใส่ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสดกลบหน้าพอสมควร หลังจากตากดินแล้วจึงขุดกลับคืน ย่อยดินเพื่อให้ร่วนซุยอีกครั้ง ใช้หน่อพร้อมติดดินและรากด้วย ฝังไว้ในหลุมที่ขุดไว้หลุมละ 1 หน่อ กลบดินเท่ากับความลึกของหน่อที่ขุดจากที่เดิม
|
การบำรุงรักษา |
ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น และหมั่นดูแลความชุ่มชื้น การใส่ปุ๋ยอาจใส่เดือนละครั้ง ปุ๋ยที่ให้ควรเป็นปุ๋ยบำรุงใบและบำรุงส่วนหัวที่อยู่ใต้ดิน |