Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!
RANGSAN
โลกแห่งสมุนไพร
   ::รังสรรค์ ชุณหวรากรณ์::

ข่า

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Languas galanga (L.) StuntZ
(Syn. Alpinia galanga (L.) Sw.)
วงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น ๆ ข่าตาแดง ข่าหยวก
ลักษณะของพืช มีลำต้นเป็นเหง้าที่มีข้อและปล้องเห็นได้ชัดเจนอยู่ใต้ดิน ส่วนที่อยู่บนดินอาจสูงได้ถึง 2 เมตร ใบเดี่ยวออกสลับ มีกาบใบหุ้มลำต้น ใบรูปรีเกือบขอบขนาน กว้าง 5–11 ซม. ยาว 20–40 ซม. เนื้อใบสองข้างมักไม่เท่ากัน ปลายใบแหลม โคนใบคล้ายสามเหลี่ยม ดอกออกที่ยอดเป็นช่อยาว มีก้านช่อยาว 10–30 ซม. แต่ละดอกมีขนาดเล็กผลมีรูปร่างรีและใหญ่ประมาณ 1 ซม.
ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าแก่สดหรือแห้ง
สรรพคุณและวิธีใช้
  1. แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง ใช้ขนาดเท่ากับหัวแม่มือ (สดประมาณ 5 กรัม แห้งประมาณ 2 กรัม) ทุบให้แตกต้มเอาน้ำดื่ม
  2. ใช้รักษาโรคผิวหนัง (ชนิดเกลื้อน) ใช้เหง้าสดฝนกับเหล้าโรงหรือน้ำส้มสายชูหรือตำแล้วแช่แอลกอฮอล์
การขยายพันธุ์ ใช้เหง้าหรือที่เรียกว่าแง่งข่า
สภาพดินฟ้าอากาศ ชอบที่ดอนดินร่วนซุย มีอาหารอุดมสมบูรณ์ มีความชุ่มชื่นเหมาะสม แต่ไม่ชอบน้ำขัง ฤดูปลูกที่เหมาะสมคือต้นฤดูฝน
การปลูก เตรียมดินโดยขุดดินตากแดดไว้ให้ร่วนซุย ใส่ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสดกลบหน้าพอสมควร หลังจากตากดินแล้วจึงขุดกลับคืน ย่อยดินเพื่อให้ร่วนซุยอีกครั้ง ใช้แง่งข่าที่ตัดแบ่งยาประมาณ 1 คืบ พร้อมติดดินและรากด้วย ฝังไว้ในหลุมที่ขุดไว้หลุมละ 2–3 แง่ง กลบดินเท่ากับความลึกของแง่งข่าที่ขุดจากที่เดิม
การบำรุงรักษา ตอนเริ่มปลูกควรรดน้ำวันละ 1–2 ครั้ง และหมั่นดูแลความชุ่มชื้นของดินอยู่เสมอ เมื่อข่าเจริญดีแล้วจึงรดน้ำ 2–3 วันครั้งก็ได้ การใส่ปุ๋ยไม่จำเป็น อาจใส่เดือนละครั้ง หรือไม่ใส่ก็ได้

 
   
   
 
Copyright 2002 คำนำสารบัญเกี่ยวกับผู้จัดทำโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์จังหวัดนนทบุรี บรรณานุกรม