|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Murraya paniculata Jack. |
วงศ์ |
RUTACEAE |
ชื่ออื่น ๆ |
แก้วขาว (ภาคกลาง) แก้วพริก ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ) จ๊าพริก
(ลำปาง) แก้วขี้ไก่ (ยะลา) |
ลักษณะของพืช |
เป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ ใบเป็นใบประกอบ แต่ละใบประกอบด้วยใบย่อยจำนวน
38 ใบ ที่มีรูปร่างคล้ายรูปไข่ รูปรี หรือรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
ขนาดกว้าง 12 ซม. ยาว 25 ซม. เนื้อใบเรียบเป็นมัน และสีเขียวเข้ม ดอกออกเป็นช่อออกตามซอกโคนใบที่อยู่บริเวณปลายยอด
ก้านช่อดอกยาว ช่อหนึ่งมี 318 ดอก ดอกสีขาว กลิ่นหอม มีขนาด 12.5 ซม.
เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ผลรูปรีสีแดงขนาด 11.5 ซม. |
ส่วนที่ใช้เป็นยา |
ใบสด |
สรรพคุณและวิธีใช้ |
แก้อาการปวดฟัน ใช้ใบสดตำพอแหลกแช่เหล้าโรง ในอัตราส่วน
15 ใบย่อยหรือ 1 กรัมต่อเหล้าโรง 1 ช้อนชา หรือ 5 มิลลิลิตร เอาน้ำจิ้มบริเวณที่ปวด
|
การขยายพันธุ์ |
ใช้การตอนกิ่ง |
สภาพดินฟ้าอากาศ |
ต้นแก้วสามารถจะปลูกในดินเกือบทุกชนิด ยกเว้นดินทรายจัด
เพราะการอุ้มน้ำไม่ดีและมีธาตุอาหารน้อย ซึ่งจะทำให้การเจริญเติบโตของต้นแก้วไม่ดี
|
การปลูก |
ใช้กิ่งตอนที่มีรากพอควร เอาไปปลูกในกระถางหรือกระบะปลูกเพื่อให้ต้นพืชที่เกิดจากกิ่งตอนมีระบบรากแข็งแรง
พอที่จะหาอาหารเลี้ยงลำต้นได้ แล้วนำไปปลูกในหลุมที่มีปุ๋ยรองพื้นบ้าง
อาจจะเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก แล้วรดน้ำทุกเช้าในระยะปลูกใหม่ ๆ |
การบำรุงรักษา |
ควรมีการตัดแต่งกิ่งก้านเสียบ้าง ต้นแก้วเป็นไม้ประดับที่มีทรงพุ่มสวยงาม
ทนทานต่อสภาพแวดล้อมไม่ต้องบำรุงรักษามาก เพียงแต่รดน้ำเพียงครั้งคราว
อย่าให้พืชขาดน้ำ |