Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!
RANGSAN
โลกแห่งสมุนไพร
   ::รังสรรค์ ชุณหวรากรณ์::

กล้วยน้ำว้า

 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa sapientum Linn.
วงศ์ MUSACEAE
ชื่ออื่น ๆ -
ลักษณะของพืช เป็นพืชล้มลุกที่มีลำต้นสูงมาก สูงได้ถึง 5 เมตร มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า และมีส่วนที่อยู่บนดินเป็นลำอวบดูคล้ายต้น ซึ่งเกิดจากกาบใบหุ้มซ้อนกันแน่น แต่ละกาบใบนั้นจะมีส่วนต่อเป็นก้านใบซึ่งมีลักษณะค่อนข้างกลมหนา ด้นบนเป็นร่องลึก ก้านใบนี้อาจยาวได้ถึง 1 เมตร ตัวใบมักเป็นรูปขอบขนาน ปลายเรียวเล็กน้อย แกนกลางใบใหญ่เห็นได้ชัดเจน เส้นใบขนานกันในแนวจากเส้นแกนใบไปหาริมใบ ตัวใบกว้าง 20–40 ซม. ยาว 1–3 เมตร ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอในลักษณะห้อยหัวลง ยาว 30–60 ซม. เรียกว่าปลีซึ่งประกอบด้วยดอกย่อยเรียงกันเป็นแผงแต่ละแผงมีกลีบประดับขนาดใหญ่ สีม่วงแดง เรียกว่า กาบหุ้มรองรับอยู่ แต่ละกลุ่มดังกล่าวมักอยู่ เรียงสลับกันโดยรอบแกนช่อดอก ดอกที่อยู่ส่วนปลายช่อเป็นดอกตัวผู้ ดอกที่โคนช่อเป็นดอกตัวเมีย ผลจึงเป็นช่อเรียกว่าเครือ แต่ละช่อย่อยเรียกว่าหวี หวีหนึ่งมีประมาณ 10 กว่าผล ผลกลมยาวขนาด รูปร่าง และรสขึ้น อยู่กับพันธุ์ เนื้อกล้วยสีเหลืองครีม มักไม่มีเมล็ด
ส่วนที่ใช้เป็นยา เนื้อกล้วยน้ำว้าห่าม หรือกล้วยน้ำว้าดิบทั้งเปลือก
สรรพคุณและวิธีใช้ แก้อาการท้องเดิน ใช้เนื้อกล้วยน้ำว้าห่ามรับประทาน หรือใช้กล้วยน้ำว้าดิบฝานเป็นแว่น ตากแห้งรับประทาน
การขยายพันธุ์ ใช้หน่อ เหง้า ตา ที่นิยมคือใช้หน่อ
สภาพดินฟ้าอากาศ ชอบดินร่วนซุย ค่อนไปทางดินเหนียวที่อุ้มน้ำได้ดี แต่ไม่ชอบน้ำขัง ควรปลูกต้นฤดูฝน
การปลูก เตรียมดินโดยปราบวัชพืชให้หมด ตากดินไว้ 5–7 วัน จากนั้นขุดหลุมให้กว้างยาวและลึกด้านละ 50 ซม. ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกคลุกเคล้าดินรองก้นหลุม ให้ยอดสูงกว่าระดับดินประมาณ 13 ซม. ส่วนตาจะอยู่ลึกในดินประมาณ 30 ซม. กลบดินให้เต็มหลุมและเหยียบให้แน่น
การบำรุงรักษา หมั่นพรวนดินกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยเพื่อช่วยให้ตกผลเร็ว ลำต้นอวบแข็งแรงผลโต
 
   
   
 
Copyright 2002 คำนำสารบัญเกี่ยวกับผู้จัดทำโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์จังหวัดนนทบุรี บรรณานุกรม