|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Ocimum sanctum Linn. |
วงศ์ |
LABIATAE |
ชื่ออื่น ๆ |
กะเพราขาว กะเพราแดง (ภาคกลาง) กอมก้อ (ภาคเหนือ) |
ลักษณะของพืช |
เป็นไม้ล้มลุกที่ทรงพุ่มใหญ่และสูงได้ 3060 ซ.ม. มีขนปกคลุมทั่วไป
ใบเดี่ยวออกตรงข้าม เนื้อใบบางและนุ่ม ก้านใบยาว 13 ซ.ม. ตัวใบรูปร่างรีหรือรีขอบขนาน
กว้าง 12.5 ซ.ม. ยาว 24.5 ซ.ม. ปลายใบและโคนใบอาจแหลมหรือมน ขอบใบค่อนข้างหยัก
เส้นใบทั้ง 2 ด้านมีขนปกคลุม ดอกออกรวมกันเป็นช่อ ยาว 814 ซ.ม. โดยออกติดรอบแกนช่อเป็นชั้นๆ
มีทั้งชนิดที่สีของส่วนต่างๆ เช่น ลำต้น ใบ ดอกเป็นสีเขียว และชนิดที่ส่วนต่างๆ
มีสีเขียวอมม่วงแดง |
ส่วนที่ใช้เป็นยา |
ใบและยอด ทั้งสดหรือแห้ง |
สรรพคุณและวิธีใช้ |
- แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง ใช้ใบและยอด 1 กำมือ (น้ำหนักสดประมาณ
25 กรัม แห้งประมาณ 4 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม เหมาะสำหรับเด็ก
- แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ) ใช้ใบและยอดสดประมาณ
1 กำมือ (ประมาณ 25 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม
|
การขยายพันธุ์ |
นิยมการใช้เมล็ด |
สภาพดินฟ้าอากาศ |
ชอบดินร่วนซุย ควรปลูกต้นฤดูฝน |
การปลูก |
กะเพราปลูกง่ายในดินแทบทุกชนิดโดยมากปลูกไว้เป็นอาหารตามบ้านเรือน
ทั่ว ๆ ไป |
การบำรุงรักษา |
ปล่อยให้เจริญเติบโตได้เองไม่ต้องบำรุงรักษาแต่อย่างใด
|