|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Phyllanthus emblica Linn. |
วงศ์ |
PHORBIACEAE |
ชื่ออื่น ๆ |
กำหวด (ราชบุรี) |
ลักษณะของพืช |
เป็นไม้ยืนต้นส่วนอ่อน ๆ มักมีขน ใบเดี่ยวติดกับแขนงกิ่งแบบสลับและดูคล้ายกับเป็นใบประกอบแบบขนนก
ใบรูปเรียวยาวที่มีขอบใบค่อนข้างขนาน บางครั้งพบมีเนื้อใบสองข้างไม่เท่ากัน
โคนใบมน และปลายใบมนมีติ่งแหลมเล็กน้อย ขนาดใบกว้าง 15 มม. ยาว 415
มม. ดอกสีเหลืองอมเขียวขนาดเล็ก มีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย ออกตามมุมก้านใบ
ดอกตัวผู้มักออกเป็นช่อ ดอกตัวเมียอยู่เดี่ยว ผลผกลมขนาด 12 ซม. สีเหลืองอมเขียวมักมี
6 พู |
ส่วนที่ใช้เป็นยา |
ผลสด |
สรรพคุณและวิธีใช้ |
ใช้แก้ไอและขับเสมหะ ใช้ผลสดฝนกับน้ำแทรกเกลือจิบบ่อย ๆ
หรือ ใช้ผลสดจิ้มเกลือรับประทาน |
การขยายพันธุ์ |
ใช้เพาะเมล็ด |
สภาพดินฟ้าอากาศ |
ขึ้นได้ทั่วไป แม้ในดินทรายหรือดินลูกรังเป็นไม้ทนแล้งซึ่งพบปลูกทั่ว
ๆ ไป |
การปลูก |
ปลูกโดยเพาะเมล็ด สำหรับเมล็ดที่จะนำมาเพาะ ควรตากแดดจนกว่าเปลือกหุ้มเมล็ดจะแตกออกแล้วจึงนำเมล็ดไปเพาะ
เมล็ดจะงอกภายใน 34 สัปดาห์ หลังจากนั้นเมื่อต้นกล้าสูง 1520 ซม. จึงนำลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้
กลบดินให้แน่นและรดน้ำให้ชุ่มทันที |
การบำรุงรักษา |
ระยะเริ่มปลูก ควรรดน้ำทุกวัน จนกว่ากล้าจะตั้งตัวได้ แต่เมื่อต้นกล้าเจริญเติบโตแข็งแรงดีแล้ว
ไม่จำเป็นต้องดูแลแต่อย่างใด |