Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!
RANGSAN
โลกแห่งสมุนไพร
   ::รังสรรค์ ชุณหวรากรณ์::

พลู

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper betle Linn.
วงศ์ PIPERACEAE
ชื่ออื่น ๆ พลูเหลือง พลูจีน พลูหลวง (ภาคกลาง)
ลักษณะของพืช เป็นไม้เลื้อย ที่มีข้อและปล้องเห็นชัดเจน และมักมีรากออกรอบข้อ ใบเดี่ยวออกสลับมีรูปร่างคล้ายรูปไข่ป้อม รูปหัวใจ เนื้อในบริเวณโคนใบอาจไม่เท่ากัน ขอบใบเรียบ ขนาดใบกว้าง 2–10 ซม. ยาว 4–13 ซม. ดอกออกรวมกันเป็นช่อแน่น ออกตามข้อตรงข้ามกับใบ มีทั้งช่อดอกตัวผู้และช่อดอกตัวเมีย ดอกตัวผู้มีเกสรตัวผู้ 2 อัน ดอกตัวเมียมีปลายเกสา 3–5 แฉก
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสด
สรรพคุณและวิธีใช้ ใช้รักษาโรคผิวหนังจำพวกลมพิษ ใช้ใบสด 1–7 ใบ (จำนวนที่ใช้เพิ่มขึ้นหรือลดลงตามอาการ) โขลกพอแหลก ผสมเหล้าโรงพอควร แช่ไว้สักระยะหนึ่ง แล้วนำมาทาบริเวณที่เป็น และควรทำเวลาจะใช้เท่านั้น
การขยายพันธุ์ ใช้ยอดเถาปักชำ
สภาพดินฟ้าอากาศ ชอบดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนเหนียวซึ่งระบายน้ำได้ดี ไม่ชอบแดดจัด ควรปลูกในฤดูฝน
การปลูก เตรียมดินโดยขุดดินตากไว้ 2–4 สัปดาห์ แล้วจึงพรวนดินอีกครั้งก่อนปลูกใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 1.5–2 เมตร ระหว่างแถว 1.5 เมตรขุดหลุมขนาดกว้างยาวและลึก 50 ซม. 40 ซม. และ 30 ซม. ตามลำดับ ใช้ปุ๋ยคอกคลุกเคล้ากับดินใส่หลุมจนเต็มหลุมทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ จากนั้นจึงนำยอดเถาที่ปักชำไว้แล้ว 3 สัปดาห์ ลงปลูกในหลุมสำหรับยอดเถาที่ใช้เป็นท่อนพันธุ์นั้น ควรยาว 30–50 ซม. มีข้ออยู่ 5–7 ข้อ และไม่ควรใช้กิ่งแขนงทำเป็นท่อนพันธุ์เพราะมักจะไม่แตกพุ่ม เมื่อนำท่อนพันธุ์ลงปลูกแล้ว ควรใช้เชือกยึดเถาไว้กับไม้หลักชั่วคราว ซึ่งใช้ไม้ไผ่ขนาดเล็กยาว 1 เมตร และควรทำร่มบังแสงให้ด้วย รดน้ำทั้งเช้าและเย็นเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ต่อจากนั้นอาจเว้นได้บ้าง เมื่ออายุ 1–2 เดือน จึงเอาวัสดุบังร่มออก และเมื่ออายุ 3 เดือนจึงทำค้างถาวร โดยใช้ไม้แก่นหรือไม้ไผ่เส้นผ่าศูนย์กลาง 6–11 ซม. สูง 3–3.5 เมตร ปักห่างจากต้นประมาณ 15 ซม. ลึกลงไปในดิน 1 เมตร มัดไม้หลักชั่วคราวให้ติดกับหลักใหม่ ต่อมารากที่ออกตามข้อจะเกาะติดกับหลักและต้นพลูก็จะเจริญเติบโตขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามไม้ค้างพลู เมื่อต้นพลูตั้งตัวได้แล้วจึงรดน้ำวันเว้นวัน
การบำรุงรักษา พรวนดินกำจัดวัชพืชรอบโคนต้น เพื่อให้แปลงโปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก และป้องกันเชื้อโรคและแมลงต่าง ๆ อาศัย ตัดแต่งกิ่งเมื่ออายุมาก โดยหักข้อที่กิ่งแขนงไม่แตกใบออก กิ่งแขนงที่จำนวนข้อมากเกินไปควรหักให้เหลือเพียง 5–7 ข้อ การตัดกิ่งควรทำทุก ๆ 3เดือน ใส่ปุ๋ยคอก 3 เดือนต่อครั้ง นอกจากนี้ควรป้องกันและกำจัดโรคและแมลงต่าง ๆ ด้วย

 
   
   
 
Copyright 2002 คำนำสารบัญเกี่ยวกับผู้จัดทำโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์จังหวัดนนทบุรี บรรณานุกรม