|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Piper retrofractum Vahl. |
วงศ์ |
PIPERACEAE |
ชื่ออื่น ๆ |
ดีปลีเชือก (ภาคใต้) ประดงข้อ ปานนุ (ภาคกลาง) |
ลักษณะของพืช |
เป็นไม้เลื้อยที่มีรากออกตามข้อและเกาะพันสิ่งอื่นได้ ส่วนของลำต้นค่อนข้างกลมและเรียบ
มีทั้งต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย ใบเดี่ยวออกสลับ ตัวใบคล้ายรูปไข่ แกมขอบขนานหรือรูปไข่เรียว
ปลายใบแหลม โคนใบมักมนกลมหรือแหลม เนื้อโคนใบสองข้างไม่เท่ากัน ผิวใบด้านบนมัน
ใบมีขนาดกว้าง 38 ซม. ยาว 618 ซม. เส้นใบที่บริเวณโคนใบมี 35 เส้น
ดอกออกเป็นช่อและออกตรงข้ามกับใบ ช่อรูปคล้ายทรงกระบอกปลายเรียวมน เมื่อเป็นผลมีรูปค่อนข้างกลม
ฝังตัวแน่นอยู่กับแกนช่อรูปทรงกระบอกปลายเรียวมนยาว 2.57 ซม. เมื่อแก่มีสีแดงสด |
ส่วนที่ใช้เป็นยา |
ดอกแก่ (ช่อผลแก่) หรือเถา |
สรรพคุณและวิธีใช้ |
- แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง และแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน
(เกิดจากธาตุไม่ปกติ) ใช้ดอกแก่ 1 กำมือ (ประมาณ 1015 ดอก) ต้มเอาน้ำดื่ม
ถ้าไม่มีดอกใช้ เถาต้มแทนได้
- แก้ไอและขับเสมหะ ใช้ดอกแก่แห้ง หรือช่อผลแก่แห้งประมาณครึ่งช่อ
ฝนกับน้ำมะนาวแทรก เกลือกวาดคอหรือจิบบ่อย ๆ
|
การขยายพันธุ์ |
ใช้เพาะเมล็ดหรือเถา ส่วนมากนิยมใช้เถา |
สภาพดินฟ้าอากาศ |
ชอบดินร่วน ไม่มีน้ำขัง มีอินทรียวัตถุมาก ทนความแห้งแล้งได้ดี ฤดูที่เหมาะสมคือ
ต้นฤดูฝน |
การปลูก |
ใช้เสาไม้แก่น หรือเสาซีเมนต์ หรือวัตถุอื่น ๆ ที่ทนทานหลายปี ความยาวของเสา
45 เมตร ฝังลงดิน 0.51 เมตร เอาเถาดีปลีที่ชำจนแตกรากใหม่มีข้อและแตกยอดใหม่แล้วเกาะติดกับต้นเสา
ในระยะแรกต้องใช้ลวดหรือเชือกช่วยยึดหลวม ๆ ขึ้นไปตามลำดับ จนกว่าเถาดีปลีจะเกาะต้นเสาได้ดีจึงไม่ต้องใช้เชือกยึด |
การบำรุงรักษา |
ในฤดูร้อนควรให้น้ำสม่ำเสมอ อย่าให้น้ำขังท่วมราก หากรากแช่น้ำข้ามคืนดีปลีจะตาย
ใส่ปุ๋ยบ้างเพื่อให้ต้นแข็งแรงและผลดก ศัตรูของดีปลีได้แก่ เพลี้ยแป้งและมด |