|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Pluchea indica Less. |
วงศ์ |
COMPOSITAE |
ชื่ออื่น ๆ |
หนาดงัว หนาดวัว (อุดรธานี) ขี้ป้าน (แม่ฮ่องสอน) |
ลักษณะของพืช |
เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 0.52 เมตร ขณะอ่อนส่วนต่าง ๆ มักมีขน
ใบเดี่ยว ติดตามข้อสลับกันในแต่ละข้อ ก้านสั้นมากจนแทบไม่มี รูปร่างใบคล้ายรูปไข่กลับที่มีปลายใบแหลม
โคนใบค่อย ๆ เรียว ขอบใบส่วนโคนค่อนข้างเรียบและค่อย ๆ จักขึ้นหาปลายใบ
ขนาดกว้าง 15 ซม. ยาว 29 ซม. ดอกออกเป็นช่อใหญ่ 212 ซม.ออกตามปลายยอด
หรือซอกโคนก้านใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกช่อชนิดกระจุกจำนวนมาก แต่ละช่อแบบกระจุกมีรูปทรงคล้ายทรงกระบอก
ยาว 56 มม. ภายในมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย สีขาวอมม่วงขนาดเล็กอยู่เป็นจำนวนมาก
มองเห็นเหมือนเป็นขนฟู ผลมีขนาดเล็กมาก |
สรรพคุณและวิธีใช้ |
ขับปัสสาวะ ใช้วันละ 1 กำมือ (สดหนัก 4050 กรัม แห้งหนัก
1520 กรัม) หั่นเป็นชิ้น ๆ ต้มกับน้ำรับประทานวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) |
การขยายพันธุ์ |
ใช้วิธีปักชำ |
สภาพดินฟ้าอากาศ |
ขึ้นได้ทั่วไปในดินแทบทุกชนิด โดยเฉพาะดินชื้นแฉะ ปลูกได้ทุกฤดู
|
การปลูก |
ตัดต้นชำลงในดิน รดน้ำให้ชุ่ม ปลูกขึ้นง่าย ไม่ต้องการการบำรุงรักษาแต่อย่างใด
|