|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Sapindus rarak A.DC. |
วงศ์ |
SAPINDACEAE |
ชื่ออื่น ๆ |
มะคำดีควาย (ภาคกลาง ,ภาคใต้) มะชัก หมักชัก ส้มปอยเทศ
(ภาคเหนือ) |
ลักษณะของพืช |
เป็นไม้ยืนต้น ใบติดกับลำต้นแบบสลับ ใบยาว 2050 ซม. ประกอบด้วยใบย่อย
612 คู่ ใบย่อยรูปร่างเรียวยาว หรือขอบใบค่อนข้างขนานกัน ปลายใบและโคนใบแหลม
บางครั้งตัวใบอาจเรียวโค้ง และมีเนื้อใบสองข้างไม่เท่ากัน เนื้อใบเรียบ
ขนาดกว้าง 24 ซม. ดอกออกรวมกันเป็นช่อ ยาว 1020 ซม. สีส้ม ภายในมีเมล็ดขนาดใหญ่
1 เมล็ด |
ส่วนที่ใช้เป็นยา |
ผลสดหรือแห้ง |
การขยายพันธุ์ |
ใช้เมล็ด |
สภาพดินฟ้าอากาศ |
ขึ้นได้ในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย |
การปลูก |
ใช้เมล็ดแช่น้ำก่อนนำไปเพาะ เพื่อให้งอกได้เร็วขึ้น แล้วนำไปเพาะในกระบะเพาะ
หรือเพาะในถุงพลาสติก จนต้นกล้าโตสูงประมาณ 30 ซม. จึงนำไปปลูกในหลุม
|
การบำรุงรักษา |
ดูแลต้นกล้าที่ปลูกใหม่ ๆ ซึ่งมักจะมีแมลงจำพวกเพลี้ยจักจั่นกัดกินใบ
ถ้ามีแมลงมากควรฉีดด้วยยาฆ่าแมลง |