|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Tamarindus indica Linn. |
วงศ์ |
LEGUMINOSAE |
ชื่ออื่น ๆ |
มะขามไทย (ภาคกลาง) ขาม (ภาคใต้) ตะลูบ (โคราช) |
ลักษณะของพืช |
ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่มีหนาม เปลือกขรุขระและหนาใบประกอบ
ด้วยใบย่อย 1015 คู่ แต่ละใบย่อยมีขนาดเล็ก กว้าง 25 มม. ยาว 12 ซม.
ออกรวมกันเป็นช่อยาว 216 ซม. ผลเป็นฝักอาจกว้างได้ถึง 12 ซม. ยาว 320
ซม. เปลือกของฝักค่อนข้างแข็ง เนื้อข้างในหนามีรสทั้งเปรี้ยวและหวานหุ้มเมล็ด
ซึ่งฝักหนึ่ง ๆ มีเมล็ด 312 เมล็ด เมล็ดแก่จะแบนเป็นมัน และมีสีน้ำตาล
|
ส่วนที่ใช้เป็นยา |
เนื้อในฝักแก่ (มะขามเปียก) เปลือกต้น (ทั้งสดหรือแห้ง)
เนื้อในเมล็ด |
สรรพคุณและวิธีใช้ |
- แก้อาการท้องผูก ใช้เนื้อฝักแก่หรือมะขามเปียก 1020 ฝัก (หนักประมาณ
70150 กรัม) จิ้มกับเกลือรับประทาน หรือใส่เกลือเติมน้ำคั้นดื่ม
- แก้อาการท้องเดิน ใช้เปลือกต้น ทั้งสดหรือแห้งประมาณ 12 กำมือ
(1530 กรัม) ต้มกับน้ำปูนใสหรือน้ำรับประทาน
- ถ่ายพยาธิลำไส้ ใช้เมล็ดคั่วกะเทาะเปลือกเอาออกเนื้อในเมล็ดแช่น้ำเกลือจนนุ่ม
รับประทานครั้งละ 2030 เมล็ด เหมาะสำหรับถ่ายพยาธิไส้เดือน
- แก้ไอขับเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทาน
|
การขยายพันธุ์ |
ใช้เพาะเมล็ด ทาบกิ่ง ติดตาและต่อกิ่ง |
สภาพดินฟ้าอากาศ |
ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดแม้แต่ดินเลว เช่นดินลูกรัง เจริญได้ดีในดินร่วนปนดินเหนียว
ทนแล้งได้ดี ฤดูปลูกที่เหมาะสม คือต้นฤดูฝน |
การปลูก |
เตรียมดินโดยขุดหลุมกว้าง ยาวและลึกด้านละ 60 ซม. ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้าดินรองก้นหลุมเอากิ่งพันธุ์ลงปลูก
รดน้ำให้ชุ่ม มะขามเมื่อลงดินแล้วจะโตเร็ว ควรใช้ไม้หลักพยุงไว้ให้แน่น
|
การบำรุงรักษา |
เมื่อเริ่มปลูก ควรเอาใจใส่ดายหญ้ารอบต้น และรดน้ำทุกวัน
ถ้าปลูกในดินที่เป็นทรายจัด ควรหาเศษหญ้าฟางคลุมโคนจนกว่าต้นจะแข็งแรง
ควรฉีดยาป้องกันโรคราแป้งและแมลงพวกหนอนเจาะฝัก ด้วงเจาะเมล็ด ในระยะที่เป็นดอกอยู่
|