|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Zingibr officinale Rosc. |
วงศ์ |
ZINGIBERACEAE |
ชื่ออื่น ๆ |
ขิงเผือก (เชียงใหม่) |
ลักษณะของพืช |
เป็นพืชที่มีลำต้นเป็นเหง้าสีขาวนวลอยู่ใต้ดิน และมีส่วนที่อยู่บนดินสูงได้ถึง
50 ซม. ใบเดี่ยวออกสลับ มีกาบใบหุ้มลำต้นยาว 812 ซม. ตัวใบยาวปลายเรียวแหลม
กว้าง 23 ซม. ยาว 1025 ซม. ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อจากเหง้า มีก้านช่อยาว
1020 ซม. ตัวช่อดอกประกอบด้วยดอกจำนวนมาก อัดกันเป็นรูปทรงกระบอกยาว
47 ซม. |
ส่วนที่ใช้เป็นยา |
เหง้าแก่สด |
สรรพคุณและวิธีใช้ |
- แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง และแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน
(เกิดจากธาตุไม่ปกติ) ใช้เหง้าสดขนาดเท่าหัวแม่มือ (ประมาน 5 กรัม)
ทุบให้แตกต้มเอาน้ำดื่ม
- แก้ไอและขับเสมหะฝนกับน้ำมะนาวแทรก เกลือ ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อย
ๆ
|
การขยายพันธุ์ |
ใช้เหง้า |
สภาพดินฟ้าอากาศ |
ชอบดินร่วนปนทรายมีอินทรียวัตถุสูง ความชื้นสูง มีการระบายน้ำดี
ไม่ชอบดินเหนียวหรือดินทรายจนเกินไป ฤดูปลูกที่เหมาะสมประมาณเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม
|
การปลูก |
เตรียมดินโดย ไถและยกร่องเพื่อให้ดินร่วนซุย ระยะห่างระหว่างสันร่อง
ประมาณ 50 ซม. ขุดหลุมห่างกันหลุมละ 25 ซม. ใช้ท่อนพันธุ์ที่ชำงอกแล้ววางลงในหลุม
ๆ ละ 1 ท่อน โดยวางให้ด้านที่แตกหน่อตั้งขึ้น กลบดินหนา 25 ซม. ใช้ฟางคลุมตลอดทั้งในร่องและสันร่อง
เมื่อขิงอายุ 2 เดือนจึงกลบโคนครั้งที่ 1 โดยใช้จอบโกยดินบนสันร่องกลบโคนขิงหลังจากนั้น
1 เดือนจึงกลบโคนอีกครั้ง จะทำให้ขิงแตกหน่อดีและแง่งขิงแข็งแรง การใส่ปุ๋ยใช้ปุ๋ยหมัก
ใส่ตอนเตรียมดินและตอนกลบโคนครั้งแรก ซึ่งใส่เพื่อกระตุ้นให้ขิงงามดี
ไม่ควรใช้ปุ๋ยเคมี |
การบำรุงรักษา |
หมั่นตรวจแปลงหลังฝนตก เพราะมักเกิดโรคเน่าจากเชื้อรา นอกจากนี้
ขิงมีศัตรูพวก หนอนกระทู้ เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย และไส้เดือนฝอย ควรป้องกันและกำจัดโดยถอนและรวบรวมต้นที่เป็นโรคทำลายโดยเผาไฟ |