สหพันธ์นักบุญ
นักบุญคือใคร อัครสาวก
ผู้นิพนธ์พระวรสาร นักบุญไม่ธรรมดา
มรณสักขี ธรรมสักขี
นักปราชญ์ นักบุญสตรี
บุญราศรีทั้งเจ็ดแห่งประเทศไทย
คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง

Back to home page
Email: wichai@bucc4.buu.ac.th



Ad Majorem Dei Gloriam /Catholic Home Page For the Highest Glory of God


นักบุญอันดรูว์

นักบุญคือใคร
ทำไมคาทอลิกจึงนับถือนักบุญ ...?

นักบุญคือใคร
นักบุญ คือบุคคลที่ขณะมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ ได้ดำเนินชีวิต ที่แสดงออกถึงความเชื่อ ในพระศาสนา อย่างสมบูรณ์ ด้วยการปฏิบัติคุณงามความดีต่างๆ และเมื่อท่านจากโลกนี้ไปแล้ว พระศาสนจักรก็ได้ยกย่อง สดุดีคุณงามความดีต่างๆ ที่ท่านเหล่านั้นได้กระทำไว้ โดยถือว่าเป็นชีวิตคริสตชนตัวอย่าง ที่เราสามารถเลียนแบบได้ และถือว่าเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ ที่เราสามารถเคารพ นับถือ และสวดวิงวอนขอพรจากพระเจ้า ผ่านท่านได้ เพราะเชื่อว่าท่านมีชีวิตนิรันดร อยู่ร่วมกับพระคริสตเจ้า ในสรวงสวรรค์แล้วนั่นเอง

ประวัติความเป็นมาของ คำว่า "นักบุญ"
ใน 6 ศตวรรษแรกๆ ของพระศาสนจักรนั้น นักบุญ คือผู้ที่ได้พลีชีพเพื่อยืนยันความเชื่อของตน สาเหตุก็เพราะว่าในสมัยนั้น คริสตศาสนายังถูกเบียดเบียน และข่มแหงอยู่มาก บรรดาคริสตชนหลายต่อหลายคน ได้ถูกจับไปประหารชีวิต เพราะเป็นคริสตชนหรือไม่ยอมทิ้งศาสนา
คริสตชนที่พลีชีพ เพื่อประกาศความเชื่ออย่างเด็ดเดี่ยวเช่นนี้ เรียกว่า "มรณสักขี หรือมาร์ตีร์" (Martyr) ถือว่าเป็นชีวิตคริสตชนตัวอย่าง เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งคริสตชนในยุคแรกๆ นั้น ต่างก็ยกย่องสดุดีให้ความเคารพ นับถือ และศรัทธาต่อท่านเหล่านั้นเป็นอันมาก จึงได้มีพิธีกรรมต่างๆ เพื่อแสดงถึงความเคารพ และระลึกถึงท่าน เช่นการเคารพหลุมฝังศพ การสวดวิงวอน และการประกอบพิธี บนหลุมฝังศพของท่าน เป็นต้น

ต่อมาเมื่อคริสตศาสนาได้รับการยอมรับ และกลายเป็นศาสนาประจำชาติโรมัน การเบียดเบียนจึงลดลง คราวนี้คนที่จะพลชีพเพื่อศาสนา ก็มีจำนวนลดน้อยตามไปด้วย ดังนั้น การเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์หรือนักบุญ ไม่จำเป็นว่าต้องตายเพื่อศาสนาเสมอไป แต่ชีวิตที่แสดงออกถึงความเชื่อ และดำเนินไปตามพระบัญญัติ ด้วยการปฏิบัติคุณงามความดีต่างๆ ก็น่าจะได้รับการยกย่อง ว่าเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์หรือนักบุญได้ด้วย

ตั้งแต่นั้นมา การเคารพนับถือผู้ศักดิ์สิทธิ์ จึงเริ่มขยับขยายออกไปยังคริสตชนอื่นๆ ที่เจริญชีวิตอย่างศักดิ์สิทธิ์ ยึดมั่นในพระธรรมคำสอน และปฏิบัติคุณงามความดีอย่างเคร่งครัด บางคนเด่นในการบำเพ็ญพรตบำเพ็ญตบะ บางคนเด่นในการเผยแผ่พระศาสนา บางคนเด่นในด้านการมีความรอบรู้ ในพระสัจธรรม หรือเป็นนักปราชญ์ และบางคนก็เด่นในด้านมีเมตตาจิต อุทิศตนรับใช้เพื่อนมนุษย์ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ก็ได้รับยกย่องว่าเป็น "ธรรมสักขี" (Confessors)



นักบุญลอเร็นซ์

วิวัฒนาการการแต่งตั้งนักบุญ
ในช่วงศตวรรษที่ 6 - 10 ยังไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอน เกี่ยวกับการแต่งตั้งใครคนใดคนหนึ่ง เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์หรือนักบุญ วิธีที่ใช้ตัดสินก็คือ การดูจากจำนวนคน ที่เคารพนับถือและศรัทธา จำนวนคนที่ไปเยี่ยมหลุมฝังศพ และได้รับความช่วยเหลืออย่างอัศจรรย์ ว่ามีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการตัดสินแบบนี้ ก็เป็นเหตุให้เกิดความแคลงใจ ถึงความศักดิ์สิทธิ์ ของคนนั้นคนนี้อยู่เสมอๆ
ดังนั้น พระศาสนจักรจึงได้กำหนดกฎเกณฑ์ ให้ชัดเจนขึ้นว่า บุคคลใดควรอยู่ในข่าย ได้รับการยกย่องเทิดทูนอย่างแท้จริง

โดยในระยะแรกๆ นั้น ขึ้นอยู่กับพระสังฆราช หรือประมุขคริสตชน*้องถิ่นนั้นๆ แต่ต่อมาในศตวรรษ*ี่ 12 การอนุมัติเรื่องนี้ ต้องขึ้นกับพระสันตะปาปาแต่เพียงผู้เดียว ทั้งนี้เพื่อจะเป็นหลักประกันถึงความศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งเพื่อเป็นเกียรติเป็นศักดิ์ศรีแก่บุคคลผู้นั้นนั่นเอง

จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1642 พระสันตะปาปาอูบาโนที่ 8 จึงได้ออกสมณกฤษฎีกา ว่าด้วยกฎเกณฑ์และวิธี การดำเนินการแต่งตั้งนักบุญขึ้น ต่อมาในสมัยของพระสันตะปาปาปีโอที่ 10 ก็ได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม จนกระทั่งล่าสุด ในปี ค.ศ. 1930 พระสันตะปาปาปีโอที่ 11 จึงได้ทรงโปรดให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่ง

ปัจจุบันได้มีสมณกระ*รวง ว่าด้วยการประกาศแต่งตั้งนักบุญโดยเฉพาะ ซึ่งก็แยกส่วนออกมาจาก สมณกระทรวงพิธีกรรมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1969 ทั้งนี้เพื่อเป็นผู้รับผิดชอบดูแล เกี่ยวกับคำร้องและพิธีการ ดำเนินการประกาศแต่งตั้งนักบุญ ทั่วพระศาสนจักรสากล โดยตรง



นักบุญ
มารีอา กอแร็ตตี

ขั้นตอนการแต่งตั้งเป็นนักบุญเขาทำกันอย่างไร
ขั้นตอนการประกาศแต่งตั้งเป็นนักบุญนั้น ละเอียดซับซ้อน ต้องกระ*ำอย่างรอบคอบถี่ถ้วน เพราะจะผิดพลาดไม่ได้ แบ่งออกได้เป็น 2 ขั้นตอนดังนี้ คือ
1. ขั้น "บุญราศี" (Beatification)
2. ขั้น "นักบุญ" (Canonization)

1. ขั้น "บุญราศี" (Beatification)
เมื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ที่ประชาชนยอม รับว่า เป็นคริสตชนตัวอย่างได้สิ้นชีวิตลง แล้วก็ปรากฎว่า มีผู้ได้รับผลจากการสวดวิงวอน ขอความช่วยเหลือจากท่าน พระสังฆราชท้องถิ่นนั้นๆ ก็จะดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงต่างๆ เช่น ประวัติของผู้ตาย และอัศจรรย์ต่างๆ ที่มีผู้ได้รับความช่วยเหลือ ทั้งนี้เพื่อจะได้มีข้อมูลที่แน่นอน และเป็นหลักฐานชัดเจน จากนั้นจึงรวบรวมเรื่องส่งไปยัง สมณกระทรวง ว่าด้วยการสถาปนานักบุญที่โรม เพื่อให้ดำเนินการสอบสวน จนเห็นสมควร จึงประกาศให้เป็นบุคคลที่ควรเคารพยกย่อง หรือ "คารวียะ"

แต่ก่อนที่จะได้รับประกาศเป็นนักบุญราศีนั้น ต้องมีการพิสูจน์ได้ว่า มีอัศจรรย์อย่างน้อย 2 ประการเกิดขึ้น โดยอาศัยบุญบารมีของ "คารวียะ" (ในกรณีของมรณสักขี หรือผู้ที่ยอมพลีชีพเพื่อศาสนา ความตายของเขา ก็ถือว่าเป็นอัศจรรย์ที่ยิ่งใหญ่ สามารถใช้แทนอัศจรรย์สองประการที่กำหนดนี้ได้)

2. ขั้น"นักบุญ" (Canonization)
หลังจากได้รับสถาปนาเป็นบุญราศีแล้ว ก่อนที่จะประกาศแต่งตั้งเป็น "นักบุญ" จะต้องมีผู้ได้รับอัศจรรย์ โดยคำวิงวอนของท่านบุญราศีผู้นั้นอีก อย่างน้อย 2 ประการ ซึ่งการคอยอัศจรรย์ขั้นนี้ อาจจะยาวนานหลายปี บางรายกินเวลาเป็นศตวรรษก็มี

เมื่อผ่านขั้นตอนทุกอย่างแล้ว ก็จะมีพิธีการประกาศแต่งตั้งบุญราศีองค์นั้น ขึ้นเป็น "นักบุญ" โดยพระสันตะปาปา ที่มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ กรุงโรม เป็นพิธีที่สง่างามน่าประทับใจที่สุดพิธีหนึ่ง ที่ทางพระศาสนจักรจัดขึ้น เพราะการประกาศ สถาปนาบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นนักบุญ ย่อมหมายถึงเกียรติขั้นสูงสุด ที่คริสตชนคนหนึ่งพึงจะได้รับ โดยท่านผู้นั้น จะได้รับการประกาศ ชนิดที่พระศาสนจักรใช้เอกสิทธิ์ ความไม่รู้ผิดพลั้งของสมเด็จพระสันตะปาปา มาเป็นหลักประกันความจริง *่านจะเป็น*ี่เคารพนับถือของชาวคาทอลิกทั่วโลก และชื่อของท่านผู้นั้น ก็จะได้รับการบันทึกไว้ ในบัญชีสารบบนักบุญ ตลอดไปชั่วกาลนาน

Go Top
Back to home page




Ad Majorem Dei Gloriam /Catholic Home Page For the Highest Glory of God


นักบุญเปโตร และเปาโล

อัครสาวก
Apostles

นักบุญฐานะวันฉลอง
เปโตร, ปีเตอร์ (Peter)หัวหน้าอัครสาวก 29 มิถุนายน
เปาโล, ปอล (Paul)อัครสาวก29 มิถุนายน
อันเดร, อันดรูว์ (Andrew)อัครสาวก 30 พฤศจิกายน
ยาโกเบ, ยากอบ (Jacobe, James)อัครสาวก25 กรกฏาคม
ยวง, ยอห์น (John)ศิษย์รัก 27 ธันวาคม
โทมัส (Thomas)คนหัวดื้อ3 กรกฏาคม
ยาโกเบ, ยากอบ (เล็ก) (Jacob, James)อัครสาวก 3 พฤษภาคม
ฟีลิป (Philip)อัครสาวก3 พฤษภาคม
บาร์โทโลมิว (Bartholomew)อัครสาวก 24 สิงหาคม
มัททิว (Matthaew)คนเก็บภาษี 21 กันยายน
ซีมอน(Simon)อัครสาวก 28 ตุลาคม
ทัดเดว, ยูดา (Thaddaew, Juda)อัครสาวก28 ตุลาคม
มัทธีอาส (Mathias)แทนยูดาส14 พฤษภาคม
บาร์นาบัส(Barnabe)อัครสาวก11 มิถุนายน


Go Top
Back to home page




Ad Majorem Dei Gloriam /Catholic Home Page For the Highest Glory of God


นักบุญมัทธิว

ผู้นิพนธ์พระวรสาร
Evangelists

นักบุญฐานะวันฉลอง
ยวง, ยอห์น (John)อัครสาวก 27 ธันวาคม
มัททิว (Matthaew)อัครสาวก21 กันยายน
ลูกา(Luke)ผู้นิพนธ์พระวรสาร18 ตุลาคม
มาร์โก (Mark)ผู้นิพนธ์พระวรสาร25 เมษายน


Go Top
Back to home page



Ad Majorem Dei Gloriam /Catholic Home Page For the Highest Glory of God


Santa Anna

นักบุญไม่ธรรมดา

นักบุญ คือบุคคลที่พระศาสนจักรก็ได้ยกย่อง โดยถือว่าเป็นชีวิตคริสตชนตัวอย่าง ที่เราสามารถเลียนแบบได้ และถือว่าเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์

นักบุญต่อไปนี้ ถือว่าไม่ใช่นักบุญธรรมดา
เพราะเป็นเครือญาติของพระเยซู
นักบุญฐานะวันฉลอง
พระนางพรหมจารีมารีอาพระมารดามีหลายวัน
นักบุญยอแซฟบิดาเลี้ยง19 มี.ค.
นักบุญอันนาคุณยาย26 ก.ค.
นักบุญยออากิมคุณตา26 ก.ค.
นักบุญเอลิซาเบ็ธญาติ.
นักบุญยอห์น บัปติสต์ลูกพี่ลูกน้อง24 มิ.ย.



St. Michael

นักบุญต่อไปนี้ยิ่งไม่ธรรมดา เพราะท่านเป็นเทวดา ไม่ใช่มนุษย์ แถมไม่ใช่เทวดาธรรมดา แต่เป็นอัครเทวดาทีเดียว
นักบุญฐานะวันฉลอง
มีคาแอล, ไมเคิ้ลอัครเทวดา 29 มิ.ย.
คาเบรียลอัครเทวดา29 มิ.ย.
ราฟาแอลอัครเทวดา29 มิ.ย.


Go Top
Back to home page



Ad Majorem Dei Gloriam /Catholic Home Page For the Highest Glory of God


นักบุญสตีเฟน

มรณสักขี
Martyrs

มรณสักขี คือผู้ที่ได้พลีชีพเพื่อยืนยันความเชื่อของตน ได้ถูกจับไปประหารชีวิต เพราะเป็นคริสตชน หรือไม่ยอมทิ้งศาสนา
นักบุญฐานะ/อาชีพวันฉลอง
เฟเบียน (Fabian)พระสันตะปาปา20 ม.ค.
เซบาสเตียน (Sebastiane)ทหาร20 ม.ค.
อักเนส (Agnes)พรหมจารี21 ม.ค.
วินเซ็นต์ (Vincent)อนุสงฆ์22 ม.ค.
อากาทา (Agatha)พรหมจารี5 ก.พ.
เปาโล มีกิพระสงฆ์6 ก.พ.
โปลีการ์ปพระสังฆราช23 ก.พ.
แปร์เปตูอา7 มี.ค.
เฟลีชีตาส7 มี.ค.
ยอร์จ23 เม.ย.
อาดัลเบอร์ตพระสังฆราช23 เม.ย.
ฟิเดลิส แห่งมาริงเก็นพระสงฆ์24 เม.ย.
เปโตร ชาเนลพระสงฆ์28 เม.ย.
เนเรโอ อาคิลเล12 พ.ค.
ปังกลาซีโอ12 พ.ค.
ยอห์น *ี่ 1พระสันตะปาปา18 พ.ค.
ยุสติน1 มิ.ย.
มาร์แซลลิน2 มิ.ย.
เปโตร2 มิ.ย.
ชาลส์ ลวงก้า3 มิ.ย.
บอนีฟาสพระสังฆราช5 มิ.ย.
อีเรเนโอพระสังฆราช28 มิ.ย.
โทมัส โมร์22 มิ.ย.
มารีอา กอเรตตีพรหมจารี6 ก.ค.
ซิกซ์โต ที่ 2พระสันตะปาปา7 ส.ค.
ลอเร็นซ์ (Laurence)อนุสงฆ์10 ส.ค.
ฮิปโปลิตพระสงฆ์13 ส.ค.
มักซีมีเลียน มารย์ กอลเบพระสงฆ์14 ส.ค.
ซีเปรียนพระสังฆราช16 ก.ย.
ยาอูนารีโอพระสังฆราช19 ก.ย.
อัดรูว์ กิม เตก็อนพระสงฆ์20 ก.ย.
เปาโล จง ฮาซัง20 ก.ย.
คอสมา (Cosma)แพทย์26 ก.ย.
ดาเมียน (Damiane)แพทย์26 ก.ย.
เวนเชสเลาส์28 ก.ย.
ลอเรนซ์ รุยส์28 ก.ย.
ดีโอนีซีโอพระสังฆราช9 ต.ค.
กัลลิส ที่ 1พระสันตะปาปา14 ต.ค.
อิกญาซีโอพระสังฆราช17 ต.ค.
อิสอัค โยเกอ17 ต.ค.
โยซาฟัตพระสังฆราช12 พ.ย.
เคลเมนต์ที่ 1พระสันตะปาปา23 พ.ย.
เซซีลีอาพรหมจารี22 พ.ย.
อันดรูว์ ดุง-ลักพระสงฆ์23 พ.ย.
โทมัส เบ็กเก็ตพระสังฆราช29 ธ.ค.
สเตเฟน มรณสักขีองค์แรก 26 ธ.ค.


Go Top
Back to home page




Ad Majorem Dei Gloriam /Catholic Home Page For the Highest Glory of God


นักบุญฟรังซีส อัสซีซี

ธรรมสักขี
Confessors

การเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์หรือนักบุญ
ไม่จำเป็นว่าต้องตายเพื่อศาสนาเสมอไป แต่ชีวิตที่แสดงออกถึงความเชื่อ และดำเนินไปตามพระบัญญัติ ด้วยการปฏิบัติคุณงามความดีต่างๆ ก็น่าจะได้รับการยกย่อง ว่าเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์หรือนักบุญได้ด้วย บางคนเด่นในการบำเพ็ญพรตบำเพ็ญตบะ บางคนเด่นในการเผยแผ่พระศาสนา บางคนเด่นในด้านการมีความรอบรู้ ในพระสัจธรรม หรือเป็นนักปราชญ์ และบางคนก็เด่นในด้านมีเมตตาจิต อุทิศตนรับใช้เพื่อนมนุษย์ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ก็ได้รับยกย่องว่าเป็น
"ธรรมสักขี"

นักบุญฐานะวันฉลอง
อันตนอธิการ17 ม.ค.
ยอห์น บอสโกพระสงฆ์31 ม.ค.
ซีริลฤาษี14 ก.พ.
เมโทดิโอพระสังฆราช14 ก.พ.
ปาตริกพระสังฆราช17 มี.ค.
ปีโอ ที่ 5พระสันตะปาปา30 เม.ย.
เบอร์นาดีน ชาวซีอานาพระสงฆ์20 พ.ค.
เบดา ผู้น่าเคารพ25 พ.ค.
ออกัสติน แห่งคานเตอร์เบอรีพระสังฆราช25 พ.ค.
เบเนดิกต์อธิการ11 ก.ค.
อิกญาซีโอ แห่งโลโยลาพระสงฆ์31 ก.ค.
ยอห์น มารีย์ เวียนเนย์พระสงฆ์4 ส.ค.
ดอมีนิกพระสงฆ์8 ส.ค.
ปีโอ ที่ 10พระสันตะปาปา21 ส.ค.
หลุยส์ กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส25 ส.ค.
ยอแซฟ กาลาซานส์พระสงฆ์25 ส.ค.
เฮดวิกนักพรต16 ต.ค.
เปาโลแห่งไม้กางเขนพระสงฆ์19 ต.ค.
มาร์ติน เดอ ปอเรสนักบวช3 พ.ย.
ชาร์ลส์ โบโรเมโอพระสังราช พ.ย.
มาร์ติน แห่งตูร์พระสงฆ์11 พ.ย.
ฟรังซีสเซเวียร์พระสงฆ์3 ธ.ค.
ซิลเวสเตอร์พระสันตะปาปา31 ธ.ค.


Go Top
Back to home page




Ad Majorem Dei Gloriam /Catholic Home Page For the Highest Glory of God


นักบุญเทเรซา แห่งลีซีเออซ์

นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร
Doctors of the Church

เมื่อพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ประกาศแต่งตั้ง
นักบุญเ*เรซา แห่งลิซิเออซ์ เป็นนักปราชญ์ของพระศาสนจักร
เธอจึงเป็นนักปราชญ์ลำดับที่ 33
และเป็นนักปราชญ์สตรีลำดับที่ 3 ด้วย

นักบุญที่จะได้รับการประกาศ เป็นนักปราชญ์ของพระศาสนจักร จะต้องมีคุณสมบัติ 3 ประารตามข้อกำหนด ของพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 14 คือ มีผลงานเขียนในระดับสูง มีจุดเด่นด้านชีวิตศักดิ์สิทธิ์ และได้รับการประกาศโดยพระสันตะปาปา

นักบุญประกาศโดย
พระสันตะปาปา
วันที่ที่ประกาศ
1. เกรโกรี ผู้ยิ่งใหญ่บอนีฟาสที่ 820 ก.ย. 1295
2. เยโรมบอนีฟาสที่ 820 ก.ย. 1295
3. อัมโบรซีโอบอนีฟาสที่ 820 ก.ย. 1295
4. ออกัสตินบอนีฟาสที่ 820 ก.ย. 1295
5. โทมัส อไควนัสปีโอที่ 511 เม.ย. 1567
6. อาทานาซีอุส ปีโอที่ 51568
7. ยอห์น คริสซอสโตม ปีโอที่ 51568
8. บาซิล ผู้ยิ่งใหญ่ปีโอที่ 51568
9. เกรกอรี่ แห่งนาซีอันซุสปีโอที่ 51568
10.โบนาเวนตูราซิกซ์โตที่ 514 มี.ค. 1888
11. อังแซล์มเคลเมนต์ที่ 113 ก.พ. 1720
12. อิสิโดโร แห่งเซวิลเล อินโนเซนต์ที่ 1325 เม.ย. 1722
13. เปโตร คริโซโลโก เบเนดิกต์ที่ 1310 ก.พ. 1729
14. เลโอ ผู้ยิ่งใหญ่ เบเนดิกต์ที่ 1415 ต.ค. 1754
15. เปโตร ดามีอาโน เลโอที่ 1227 ก.ย. 1828
16. แบร์นาร์ด แคลร์วอซ์ ปีโอที่ 820 ส.ค.1830
17. ฮิแลร์ แห่งพอยเทียร์ ปีโอที่ 913 พ.ค. 1851
19. ฟรังซิส เดอเซลส์ ปีโอที่ 916 พ.ย. 1871
20. ซีริล แห่งอเล็กซานเดรีย เลโอที่ 1325 ก.ค. 1882
21. ซีริล แห่งเยรูซาเล็ม เลโอที่ 1325 ก.ค. 1882
22. ยอห์น ดามาซีน เลโอที่ 1319 ส.ค. 1890
23. เบดา ผู้น่าเคารพ เลโอที่ 1313 ต.ค. 1899
24. เอเฟรม แห่งซีเรียเบเนดิกต์ที่ 95 ต.ค. 1920
25. เปโตร คานีซีอุส ปีโอที่ 1121 พ.ค. 1925
26. ยอห์น แห่งไม้กางเขน ปีโอที่ 1124 ส.ค. 1926
27. โรเบิร์ต เบลลาร์มีน ปีโอที่ 1117 ก.ย. 1931
28. อัลเบิร์ต ผู้ยิ่งใหญ่ ปีโอที่ 1116 ธ.ค. 1931
29. อันตน แห่งปาดัว ปีโอที่ 1216 ม.ค. 1946
30. ลอเรนซ์ แห่งบรินดิซียอห์นที่ 2319 มี.ค. 1959
31. เทเรซา แห่งอาวีลา ปอลที่ 627 ก.ย. 1970
32. คาธารีนา แห่งซีเอนา ปอลที่ 64 ต.ค. 1970
33. เทเรซา แห่งลีซีเออซ์ยอห์นปอลที่ 219 ต.ค. 1997


Go Top
Back to home page




Ad Majorem Dei Gloriam /Catholic Home Page For the Highest Glory of God


นักบุญมอนีกา

นักบุญสตรี

นักบุญสตรีหลายท่านเป็นมรณสักขี มี 3 ท่าน ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นนักปราชญ์ และมีมากมายที่มีชีวิตศักสิทธิ์ไม่แพ้ผู้ชาย
นักบุญฐานะวันฉลอง
อังเยลา เมริชีพรหมจารี27 ม.ค.
สกอลาสติกาพรหมจารี10 ก.พ.
ฟรังซิสกา แห่งกรุงโรม9 มี.ค.
กาธารีนา แห่งซีอานาพรหมจารี29 เม.ย.
มารีอา มักดาลา เด ปัสซี25 พ.ค.
เอลิซาเบ็ธราชินีแห่งโปรตุเกส4 ก.ค.
มารีอา ชาวมักดาลา22 ก.ค.
บริยิตนักพรต23 ก.ค.
มาร์ธา29 ก.ค.
กลาราพรหมจารี11 ส.ค.
โรซา ชาวลีมาพรหมจารี23 ส.ค.
มอนีกาแม่ม่าย27 ส.ค.
ลูชีอา (Lucia)พรหมจารี12 กันยายน
เทเรซา แห่งพระกุมารเยซูพรหมจารี1 ต.ค.
เทเรซา แห่งอาวีลาพรหมจารี15 ต.ค.
มาร์การีตา มารีย์ อาลอก๊อกพรหมจารี16 ต.ค.
มาร์กาเร็ต แห่งสก๊อตแลนด์16 พ.ย.
เยอร์ทรุ๊ดพรหมจารี17 พ.ย.
เอลิซาเบธ แห่งฮังการีนักบวช17 พ.ย.
เจน ฟรังซิส เดอ ชังตาลนักบวช12 ธ.ค.
อานาสตาซีอา (Anastasia)


Go Top
Back to home page




Ad Majorem Dei Gloriam /Catholic Home Page For the Highest Glory of God


บุญราศรีทั้งเจ็ดแห่งประเทศไทย
ครูฟิลิป สีฟอง อ่อนพิทักษ์
ภคินีอักแนส พิลา (สุภีร์) ทิพย์สุข
ภคินีลูซีอา คำบาง (สีคำพอง)
นางอากาทา พุดทา ว่องไว
นางสาวเซซีลีอา บุดสี ว่องไว
นางสาวบีบีอานา คำไพ ว่องไว
เด็กหญิงมารีอา พร ว่องไว

พลิกปูมเส้นทางบุญราศี

  • ปี 2424 คุณพ่อกองสตังต์ ยัง บัปติสต์ โปรดม
    และคุณพ่อฟรังซิส มารี ซาเวียร์ เกโก รับคำสั่ง ให้เดินทางมาเผยแพร่ศาสนาในภาคอีสาน (มิสซังลาว) โดยพระคุณเจ้าเวย์ พระสังฆราชมิสซังไทย ในสมัยนั้น ผู้ออกคำสั่งได้กำหนดเอาจังหวัดอุบลราชธานี เป็นจุดหมายปลายทางของคณะธรรมฑูต
  • ปี 2430 ขุนอินทร์ (ขุนไทย) อพยพผู้คนมาตั้งหลักแหล่ง ทางตอนใต้ของแนวฝั่งโขง และตั้งหมู่บ้านสองคอน (ตามคำบอกเล่า คุณพ่อซาเวียร์ เกโก เข้ามาบุกเบิกศาสนาในปีนี้ด้วย)
  • ปี 2442 พระสันตะปาปาเลโอที่ 13 แต่งตั้งมิสซังลาว (รวมภาคอีสานของไทย และเขต ส่วนใหญ่ของประเทศลาว) และแต่งตั้ง ฯพณฯ มารี ยอแซฟ กืออาส เป็นประมุของค์แรก
  • ปี 2450 บ้านสองคอนมีคริสตังประมาณ 200 คน มีโรงสวดกลางหมู่บ้าน
  • ปี 2452-2490 อยู่ในช่วงที่พระคุณเจ้าเรอเน แปร์รอส ปกครองมิสซังไทย (อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน) สมัยนั้นประเทศไทยมี 2 มิสซัง และ 1 อนุมิสซัง คือ มิสซังไทย มิสซังอีสาน และอนุมิสซังราชบุรี
  • ปี 2467 นางสาวพิลา ทิพย์สุข (ซิสเตอร์อักแนส) เข้าอารามที่เชียงหวาง ประเทศลาว
  • ปี 2468 คุณพ่อเปาโล ฟิเก ชาวฝรั่งเศส ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส วัดแม่พระไถ่ทาส สองคอน สมัยนั้นพระคุณเจ้าแกว๊ง เป็นประมุขมิสซังลาว
  • ปี 2475 ซิสเตอร์อักแนส พิลา ทิพย์สุข มาประจำที่บ้านสองคอน
  • ปี 2481 ซิสเตอร์ลูซีอา คำบาง มาประจำที่บ้านสองคอน
  • เดือนสิงหาคม ปี 2483 พลตำรวจลือ เมืองโคตร และพรรคพวกรวม 6 คน มาประจำที่บ้านสองคอน
  • ปี 2482 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างฝ่ายอักษะ (เยอรมัน อิตาลี และญี่ปุ่น) กับฝ่ายสัมพันธมิตร (ฝรั่งเศส สหรัฐ อังกฤษ ออสเตรีย ฯลฯ รัฐบาลไทยในสมัยนั้น จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เข้ากับฝ่ายอักษะ)
  • 28 พฤศจิกายน 2483 เครื่องบินของฝรั่งเศสล่วงล้ำน่านฟ้าไทย และทิ้งระเบิดสถานีตำรวจ จังหวัดนครพนม พลตำรวจตรีอดุล เดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ มีคำสั่งให้ขับไล่ชาว ฝรั่งเศส ออกนอกอาณาจักรไทย
  • 29 พฤศจิกายน 2483 คุณพ่อเปาโล ฟิเก ถูกขับไล่ออกจากบ้านสองคอน ท่านเดินทางออกนอกประเทศโดยทางเรือ ไปขึ้นฝั่งที่ท่าแขกประเทศลาว

  • 16 ธันวาคม 2483 ตำรวจลือ ลวงครูสีฟอง อ่อนพิทักษ์ไปฆ่าที่ห้อยตุ้มนก บ้านพาลุกา ห่างจากบ้านสองคอนไปทางใต้ 15-17 กม.
  • ต่อมาไม่นาน มีคนมาส่งข่าวการตายของครูสีฟอง ให้ชาวบ้านทราบ หลังจากนั้น ชาวบ้าน หลายคนเริ่มท้อถอย เพราะขาดผู้นำ ไม่กล้าแสดงตนว่าเป็นคริสตัง แต่ยังมีชาวบ้านกลุ่มใหญ่ ยังคง ยืนหยัดในความเชื่อ ภายใต้การนำของซิสเตอร์อักแนส
  • บ่ายวันที่ 22 ธันวาคม 2483 ตำรวจลือเรียกซิสเตอร์ทั้งสองเข้าพบ ขู่ให้ละทิ้งศาสนา เมื่อไม่ได้ผล จึงหลอกให้ซิสเตอร์ถอดชุดนักบวช โดยสัญญาว่าจะเลิกเบียดเบียนศาสนา ซิสเตอร์ทั้งสองหลงเชื่อ ยอมถอดชุดนักบวช (ตำรวจลือเข้าใจว่าการถอดชุดนักบวชหมายถึงการสึก)
  • 23 ธันวาคม 2483 ตำรวจลือเรียกประชุมชาวบ้าน บริเวณหน้าวัด บังคับให้ทุกคนทิ้งศาสนา หากใครไม่ทิ้งจะถูกฆ่า
  • 24 ธันวาคม 2483 ชาวบ้านและซิสเตอร์เตรียมฉลองคริสต์มาส ซิสเตอร์ให้บุดสีและ สุวรรณ ไปเอาชุดนักบวช ซึ่งเอาไปซ่อนไว้ในยุ้งข้าวของนางเทพ (มารดาของบุดสี) กลับมาสวมอีกครั้ง เนื่องจากตำรวจไม่รักษาสัจจะ (ตำรวจลือสัญญาจะเลิกเบียดเบียน หากซิสเตอร์ยอมถอด ชุด)
  • 25 ธันวาคม 2483 ชาวบ้านฉลองคริสต์มาส ซิสเตอร์อักแนสให้ทุกคนจับฉลากรับความตาย และตกลงใจเขียนจดหมายถึงตำรวจลือ
  • ตอนเช้าของวันที่ 26 ธันวาคม 2483 บุดสีและนายจี อาสานำจดหมายไปให้ตำรวจลือ บ่ายวันเดียวกัน หลังรับจดหมายแล้ว ตำรวจลือเรียกซิสเตอร์และคณะ (มีซิสเตอร์อักแนส ซิสเตอร์ลูซีอา คำบาง แม่พุดทา บุดสี คำสอน พร และสุวรรณ รวม 8 คน) มาพบข้างวัด หวังจะสังหาร บริเวณริมแม่น้ำโขง เพื่อหาข้ออ้างว่า บุคคลทั้ง 8 จะหลบหนีไปฝั่งลาว แต่ซิสเตอร์อักแนส ขอเปลี่ยนสถานที่เป็นสุสาน ระหว่างทางจากวัดไปยังสุสาน (ประมาณ 500 เมตร) พ่อของสุวรรณ ได้มาฉุดตัวสุวรรณกลับบ้าน จึงเหลือเพียง 7 คน *ี่ไปคุกเข่าหน้าขอนไม้ในสุสาน ตำรวจลือยิงปืนใส่คน*ั้ง 7 มีผู้เสียชีวิตเพียง 6 คน ส่วนนางสอนไม่ถูกกระสุน เนื่องจากตกใจ จึงหนีกลับบ้าน
  • เดือนมิถุนายน 2484 มีการสับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ ตำรวจลือและพรรคพวก ถูกย้ายไปประจำที่ อ.มุกดาหาร (ปัจจุบันเป็นจังหวัดแล้ว) ตำรวจเหม็น บริบูรณ์ มาประจำการแทน
  • 9 มีนาคม 2486 พระคุณเจ้ากาเยตาโน ปาซอตตี ผู้รักษาการมิสซังตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) แห่งประเทศไทย มอบหมายให้คุณพ่อการ์โล กาเซตตา (สงฆ์คณะซาเลเซียน) ทำ การสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (26 ธันวาคม 2483) คุณพ่อการ์โลได้ทำการสอบสวนอย่างละเอียด และได้หลักฐานสำคัญคือ จดหมายที่ซิสเตอร์อักแนสเขียนถึงตำรวจลือ (นางพาดี ขาวดีเดช เก็บเอาไว้)
  • ปี 2490 พระคุณเจ้าเกลาดีโอ บาเยต์ (สมัยนั้นเป็นวีการีโอ อาโปสตอลีโก แห่งมิสซัง ลาว) ได้นำจดหมายของซิสเตอร์อักแนส ไปปรึกษาทนายความที่กรุงโรม ทนายความกล่าวว่าเป็น หลักฐานพิสูจน์ได้ อย่างไม่มีข้อสงสัย ต่อมาพระคุณเจ้าบาเยต์ ได้เริ่มกระบวนการในการสถาปนาขึ้น โดยมีพระสังฆราชรุ่นต่อมาทำการสานต่อ
  • ในปี 2502 คุณพ่อยัง เซน ขุดกระดูกครูสีฟอง มาฝังรวมกันที่สุสานบ้านสองคอน (ศพของครูสีฟอง ถูกฝังที่บ้านพาลุกา) และในปีเดียวกันนี้ มิสซังท่าแร่-หนองแสง ได้เลื่อนฐานะเป็นอัครสังฆมณฑล
  • ในปี 2503 พระคุณเจ้าเกี้ยน เสมอพิทักษ์ พระอัครสังฆราช แห่งอัครสังฆมณฑลท่าแร่- หนองแสง ได้รับอนุญาตจากทางกรุงโรม ให้ขุดศพทั้ง 3 หลุม (ตำรวจให้ฝังหลุมละ 2 คน) และได้พิสูจน์ศพทั้ง 6 โดยอาศัยพยานที่แน่นอน และนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • ต่อมาในสมัยของพระคุณเจ้าคายน์ แสนพลอ่อน *่านได้เสนอให้รวมกระบวนการของครูสีฟอง อ่อนพิทักษ์ เข้ากับกระบวนการของมรณสักขีทั้ง 6 ท่าน เป็นกระบวนการเดียว (แต่เดิม *างประเ*ศไ*ยเสนอรายชื่อไปเพียง 6 คน) และได้สานต่อเจตนารมณ์ของผู้ริเริ่มขั้น ตอนต่อไป
  • 1 กันยายน 2531 สมณกระทรวงเพื่อการแต่งตั้งนักบุญ ได้ดำเนินการกระบวนการอัคร สาวก (ต่อจากนั้นนำเรื่องเข้าเสนอสมเด็จพระสันตะปาปา)
  • 4 มีนาคม 2532 ทางวาติกัน มีจดหมายกำหนดวันสถาปนาบุญราศีทั้ง 7
  • ต่อมาพระศาสนจักรคาทอลิก โดยสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 ได้ประกาศเทิดเกียรติมรณสักขีทั้ง 7 ท่านนี้ ขึ้นเป็น "บุญราศี" อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2532 ที่มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ กรุงโรม
  • สภาพระสังฆราชแห่งประเทศไทย จึงได้กำหนดให้วันที่ 16 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันฉลองของบุญราศีทั้ง 7 ของประเทศไทย
Go Top
Back to home page




Ad Majorem Dei Gloriam /Catholic Home Page For the Highest Glory of God


คุณพ่อนิโคลาส
บุญเกิด กฤษบำรุง

คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง
บุญราศีองค์ต่อไป ...?

ภูมิหลัง
ตามที่ได้มีการกล่าวขวัญกันตลอดมา ถึงคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง ว่าเป็นพระสงฆ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ อุทิศตนทำงานประกาศความเชื่อ ในพระคริสตเจ้า ด้วยความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใด ๆ ทั้งสิ้น แม้จะต้องเผชิญกับความตาย ทั้งนี้เพื่อช่วยมนุษย์ ให้พบหนทางแห่งความรอด สภาสงฆ์แห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จึงพิจารณาขอให้มีการสืบประวัติ ของคุณพ่อ เพื่อเสนอขอแต่งตั้งเป็นบุญราศีต่อไป

ประวัติคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง
คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เกิดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1895 รับศีลล้างบาปวันที่ 5 มีนาคม 1895 ที่วัดนักบุญเปโตร สามพราน นครปฐม เมื่อเติบโตขึ้น ก็ได้รับการศึกษาและการฝึกอบรมมาอย่างดี ทั้งจากบ้านเณรเล็กที่บางช้าง จังหวัดสมุทรสงคราม และจากบ้านเณรใหญ่ที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย คุณพ่อจึงได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ เมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1926 ที่อาสนวิหารอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ และได้รับมอบหมาย ให้ปฎิบัติหน้าที่สงฆ์ ในหลายท้องที่
  • เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสที่วัดบางนกแขวก ระหว่าง ค.ศ. 1926 - 1928
  • เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสที่วัดพิษณุโลกระหว่าง ค.ศ. 1928-1930
  • ร่วมบุกเบิกงานแพร่ธรรมที่ลำปาง และเชียงใหม่ ระหว่าง ค.ศ. 1930-1936
  • เป็นผู้ดูแลวัดบางเชือกหนังเป็นเวลา 3 เดือน ในปี ค.ศ. 1933
  • เป็นเจ้าอาวาสวัดแม่พระเมืองลูร์ดโคราช ระหว่าง ค.ศ. 1937- 1938
  • เป็นเจ้าอาวาสวัดนักบุญเทเรซาโนนแก้ว ตั้งแต่ ค.ศ. 1938

ในระหว่างที่คุณพ่อเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่โนนแก้ว ก็เริ่มเหตุการณ์เบียดเบียนศาสนาคริสต์ จนถึงขั้นที่มีการจับกุม คุณพ่อและคริสตชนอีก 9 คนในปีค.ศ. 1941 ขณะที่ไปหาเพื่อนพระสงฆ์ ที่วัดบ้านหัน คุณพ่อถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 15 ปี ด้วยข้อหาแนวที่ห้า ขณะที่อยู่ในเรือนจำบางขวางนั้น คุณพ่อก็ยังได้*ำงานแพร่ธรรมอย่างแข็งขัน แม้ว่าจะเผชิญกับอุปสรรค และความยากลำบากต่างๆ ซึ่งที่สุด คุณพ่อก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ จนถึงวันรับอิสรภาพ คุณพ่อได้ถึงแก่มรณภาพเสียก่อนในปี ค.ศ. 1944

การดำเนินเรื่องแต่งตั้งคุณพ่อเป็นบุญราศี
ด้วยคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง มีชีวประวัติที่น่าสนใจมาก จึงสมควรที่จะค้นคว้าให้ลึกลงไปในรายละเอียด ทั้งนี้เพื่อนำมาเป็นตัวอย่างสำหรับคริสตชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระสงฆ์ ในการดำรงชีวิต และปฎิบัติหน้าที่ของตน ที่ยึดมั่นในความเชื่อศรัทธาต่อพระเป็นเจ้า อย่างไม่สั่นคลอน และในความรักปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์อย่างจริงใจ ขณะเดียวกัน ก็เพื่อนำมาเสนอขอดำเนินเรื่อง แต่งตั้งคุณพ่อเป็นบุญราศี ให้เป็นเกียรติและเป็นที่เคารพยกย่องกันต่อไป
เพื่อให้สำเร็จลุล่วงไปตามจุดมุ่งหมายดังกล่าว อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่ง ดำเนินการค้นคว้าหาพยาน และเอกสารต่างๆ เพื่อใช้เป็นหลักฐาน ประกอบการดำเนินเรื่อง และเสนอขอความเห็นจาก สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทยต่อไป

ขอข้อมูล
ขอประกาศมายังบรรดาพระสงฆ์ นักบวช และพี่น้องสัตบุรุษคริสตชน ให้ทราบโดยทั่วกันว่า หากมีใครที่สามารถให้ข้อมูลรายละเอียด เกี่ยวกับคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง ไม่ว่าจะเป็นความจริงด้านใดก็ตาม ขอให้ส่งมอบแก่คณะทำงานด้วย ทั้งนี้ เพื่อความชัดเจน และสมบูรณ์ของพยานหลักฐาน
อนึ่ง ในระหว่างที่ดำเนินเรื่อง ขอแต่ตั้งคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เป็นบุญราศีอยู่นี้ ห้ามมิให้ประกอบพิธีกรรมอย่างสาธารณะ ที่ยกย่องคุณพ่อประหนึ่งว่าเป็นบุญราศีแล้ว แต่ไม่ห้ามที่จะสวดภาวนาถึงคุณพ่อ ในแบบส่วนตัว

(ประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน 1994)

Go Top
Back to home page

ที่มาของข้อมูล : อุดมสาร, อุดมศานต์ ตุลาคม 1998, ปฏิทินคาทอลิก 1999