Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!

บทที่ 3

พระคัมภีร์เป็นบทประพันธ์

หากท่านสนทนากับใคร แล้วต้องการให้เขาเข้าใจท่าน ท่านจะต้องคิดหาวิธีการบางอย่างเพื่อให้เขาเข้าใจ พูดอีกนัยหนึ่ง ต้องการให้สิ่งที่ท่านพูด และวิธีที่ท่านใช้เป็นผลสำเร็จ เปรียบเสมือนปาฐกถา บทความ หรือ ข้อเขียนที่มีประสิทธิภาพ หากผู้เขียนบรรยายแนวความคิดได้อย่างกระจ่างแจ้ง

ผู้เขียนพระคัมภีร์เลือกใช้ถ้อยคำของตัวเอง แล้วจัดเรียงใหม่ให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย เมื่อท่านศึกษาถึงการเลือกวิธีที่จะเสนอแนวความคิดของผู้เขียน ท่านจะเข้าใจยิ่งขึ้น เข้าใจคำว่า “เราเป็นเถาองุ่น และท่านทั้งหลายเป็นแขนง” นั้นหมายความว่าอะไร หากทราบรูปแบบและวิธีการเขียนของผู้เขียนนั้น ๆ อย่างแท้จริง

ในบทเรียนนี้ ท่านจะศึกษาเกี่ยวกับ

  • ภาษาที่แปลตรงตัว และภาษาที่แปลเปรียบเทียบ
  • การจัดเรียงความคิด
  • รูปแบบของการเขียน

ในบทเรียนนี้จะช่วยท่าน

  • อธิบายรูปแบบของความหมายบางประการของภาษาที่ในพระคัมภีร์
  • ทราบแนวความคิดหลัก และสาระที่บ่งบอกในพระคัมภีร์
  • เข้าใจวัตถุประสงค์ของผู้เขียน และทราบรูปแบบการเขียน

ภาษาที่แปลตรงตัว และภาษาเปรียบเทียบ

จุดประสงค์ : เพื่อรับทราบถึงความแตกต่างระหว่างภาษาที่แปลตรงตัวและภาษาเปรียบเทียบ

พระเจ้าพอพระทัยให้เราเข้าใจความจริง ซึ่งพระองค์ทรงสำแดงแก่เราทางพระวจนะ พระองค์มิทรงให้ผู้เขียนบอกเล่าในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง เขาเขียนล้วนแต่ความจริงทั้งสิ้น และบ่อยครั้งที่สุดที่เขาใช้ภาษาที่แปลตรงตัวได้เลย ดังนั้นเราก็เข้าใจได้ว่า พระคัมภีร์มีความหมายตามถ้อยคำที่ระบุไว้

เมื่อเราอ่านว่า “พระเยซูเสด็จไปที่ภูเขาเพื่ออธิษฐาน” (ลูกา 6:12) เราทราบได้เลยว่านั่นคือ ความจริงที่พระองค์ได้ทรงกระทำ เมื่ออ่านว่าพระองค์ “ทรงขนาบไข้” ไข้ก็หาย” (ลูกา 4:39) เราทราบได้เลยว่านี่เป็นความจริง

แต่เมื่อเราอ่านข้อความอื่น ๆ เช่น “ยอห์นเห็นพระเยซูกำลังเสด็จมาทางท่าน ท่านจึงกล่าวว่า จงดูพระเมษโปดกของพระเจ้า ผู้ทรงรับความผิดบาปของโลกไปเสีย” (ยอห์น 1:29) เราแปลความตรง ๆ ตามตัวอักษรไม่ได้เสียแล้ว เพราะพระองค์ไม่ใช่ลูกแกะ หรือสัตว์ พระองค์ถูกเปรียบเทียบเสมือนลูกแกะ ซึ่งสมัยของพระคัมภีร์เดิม ใช้เป็นเครื่องบูชาไถ่โทษบาป ดังนั้น ภาษาบางตอนของพระคัมภีร์เป็นภาษาเปรียบเทียบ เพื่อช่วยอธิบายความจริงให้กระจ่างแจ้ง

ภาษาเปรียบเทียบประกอบด้วยข้อมูลที่จะช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่เข้าใจยาก ซึ่งเกี่ยวข้องกับบางสิ่งที่เรารู้อยู่ก่อนแล้ว ยอห์นให้เราคิดถึงภาพของพระคริสต์เหมือนลูกแกะ ที่ถวายบนแท่นบูชาไถ่โทษบาป เพื่อให้เข้าใจจุดหมายที่พระคริสต์เสด็จมาในโลกได้

ภาษาเปรียบเทียบทำให้เราเข้าใจความหมายฝ่ายจิตวิญญาณ ซึ่งเราไม่อาจเห็นได้ด้วยสายตา ในบทเรียนที่ 1 บอกว่า พระเยซูทรงเปรียบเทียบพระองค์เป็นผู้ประทานน้ำแห่งชีวิต อาหาร แสงสว่าง ผู้เลี้ยงแกะ ครั้งหนึ่งพระองค์ตรัสว่า “นี่แนะ เราจะแอบย่องมาเหมือนขโมย” (วิวรณ์ 16:15) ตัวอย่างเหล่านี้ทำให้เห็นว่า เราไม่สามารถเปรียบพระเยซูกับสิ่งเหล่านั้นได้ตรง ๆ พระองค์เพียงแต่เหมือนสิ่งเหล่านี้บางประการ ภาษาที่ใช้เปรียบเทียบนี้เพียงเพื่อช่วยให้ทราบความจริงมากยิ่งขึ้น

พระเยซูคริสต์มักใช้ภาษาเปรียบเทียบสอนบรรดาสาวก พระองค์ใช้เรื่องราวง่าย ๆ เพื่อเขาจะเข้าใจ ในมัทธิว 18:10-14 พระคริสต์ได้เล่าเรื่องแกะหลงหาย ทรงเปรียบเทียบคริสเตียนเสมือนหนึ่งแกะ พระองค์ต้องการสอนเราว่า พระองค์เป็นห่วงเป็นใยเราทั้งหลายทุกคน เหมือนผู้เลี้ยงเป็นห่วงแกะที่หลงหาย

ภาษาเปรียบเทียบบางอย่างอาจเป็นสัญลักษณ์ สัญลักษณ์ คือ คำซึ่งทดแทนความจริงบางอย่าง เช่นคำว่า แสงสว่าง เกลือ เป็นสัญลักษณ์ของคริสเตียน เราเป็นเหมือนสิ่งเหล่านี้ แม้กระทั่งบางสิ่งบางอย่างที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ได้ด้วย ในพิธีมหาสนิทนั้น ขนมปัง และเหล้าองุ่น เป็นสัญลักษณ์ของพระกายและพระโลหิต ซึ่งทำให้เราระลึกถึงความตาย และการทนทุกข์ของพระคริสต์

การจัดเรียงความคิด

จุดประสงค์ : แนวทาง 6 ประการที่ผู้เขียนใช้ในการจัดลำดับความคิด

หากเราเขียนอะไรสักอย่าง เราต้องระมัดระวังในการใช้ความคิด เราจะเพียรพยายามนำแนวความคิดต่าง ๆ มามีส่วนสนับสนุนแนวความคิดหลัก ที่เหมาะสมกลมกลืน ในตอนนี้ เราจะอภิปรายวิธีการเขียนต่าง ๆ ที่เราใช้กันอยู่

  1. Repetition ผู้เขียนจะใช้คำซ้ำ ๆ เสมอ ๆ ใน 2 โครินธ์ 8 : 1-15 เรื่องเกี่ยวกับการให้ของคริสเตียน นำมาใช้ได้เพราะมีการทบทวนขึ้น “การให้ เป็นการช่วยเหลือคนของพระเจ้า มอบการรับใช้ด้วยชีวิตของเรา ใจกว้าง ยินดีที่จะช่วย ยอมตนให้ยากจน ทำงานให้เสร็จ ยินดีที่จะให้อย่างตรงไปตรงมา
  2. Progression ความก้าวหน้า ผู้เขียนมักจะเพิ่มรายละเอียดขยายเป็นช่วง ๆ ซึ่งก็เหมือนกับที่เราเล่าเรื่องหนึ่งในเนื้อเรื่องเกี่ยวกับฟิลิปในกิจการ 8:26-40 ชี้ให้เห็นเรื่องความก้าวหน้า พระวิญญาณตรัสให้ฟิลิปไปที่ถนนสายนั้น แล้วก็นำฟิลิปไปพบผู้หนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อแบ่งปันข่าวประเสริฐของพระพระเยซู เมื่อคนนั้นรับเชื่อพระคริสต์ และฟิลิปได้ให้บัพติศมาแก่เขา แล้วฟิลิปก็ถูกพระวิญญาณบริสุทธิ์รับไป
  3. Climax ประเด็นที่สำคัญ ผู้เขียนเล่ารายละเอียดต่าง ๆ ไปจนถึงประเด็นที่สำคัญที่สุด ในฟิลิปปี 3:10 เปาโลบอกว่าความชอบธรรมแท้จริงเป็นอย่างไร นั่นคือ “รู้จักพระองค์และได้รับประสบการณ์ในฤทธิ์เดช เนื่องในการที่พระองค์ทรงคืนพระชนม์นั้น” จากข้อ 1-9 เป็นประเด็นสำคัญในเรื่องนี้
  4. Contrast and Comparison ความแตกต่างและการเปรียบเทียบ ผู้เขียนย่อมนำผู้อ่านให้เห็นความตรงข้ามของสองสิ่ง เพื่อเน้นให้เรื่องของความดีและความชั่ว หรือ ความสว่างกับความมืด สดุดีบทที่ 1 แสดงความแตกต่างระหว่างคนที่มั่นคงในพระเจ้า เปรียบเหมือนต้นไม้ที่ปลูกตามริมธารน้ำ ที่เกิดผลและคนอธรรมเปรียบเหมือนแกลบที่ลมพัดกระจายปลิวฟุ้งไป ท่านจะสังเกตในเรื่องความแตกต่างซึ่งมีข้อเปรียบเทียบกันในที่นี้ “คนชั่ว ..เหมือนแกลบ” และสำหรับเรื่องการเปรียบเทียบกันนั้น ผู้เขียนก็จะนำของสองสิ่งมาเปรียบกันเพื่อจะได้เห็นสิ่งที่คล้ายคลึงกัน
  5. Main Points แนวความคิดหลัก ผู้เขียนใช้จุดหัวเลี้ยวหัวต่อของแนวความคิดในเนื้อเรื่อง ซึ่งจุดนั้นเป็นส่วนสำคัญที่จะเข้าใจท้องเรื่อง หรือไม่ก็มีใจความสำคัญ ในหนังสือเอสเธอร์ แนวความคิดหลักประการหนึ่งคือ นางเอสเธอร์ได้รับความโปรดปรานจากกษัตริย์ หากมิได้รับการโปรดปราณแล้ว แต่ก็ไม่สามารถที่จะทำตามแผนการณ์ที่จะช่วยเหลือประชากรของนางได้
  6. Reasons and Results เหตุผลและผลตอบสนอง ผู้เขียนจะจัดเรียงความคิด เพื่อแสดงส่วนที่สัมพันธ์กันระหว่างเหตุผล และผลตอบสนอง เขาอาจจะเริ่มต้นด้วยเหตุผล หรือผลตอบสนองก่อนก็ได้ ในโคโลสี 1:3 เปาโลบอกคริสตจักรในเรื่องที่ท่านได้ขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับคนเหล่านี้ นั่นเป็นผลตอบสนอง ตามข้อ 4 ท่านให้เหตุผลว่า “เพราะเราได้ยินถึงความเชื่อต่อธรรมิกชนทั้งปวง” แล้วท่านก็ได้ทบทวนแนวความคิดตามข้อ 8 และ 9 โดยการเริ่มต้นด้วยเหตุผล และจบลงด้วยผลตอบสนองอีก

บางครั้ง เรานำสองหัวข้อเข้ากัน หรืออาจเชื่อมต่อมากกว่านั้นก็ได้ ตาม 1 โครินธ์ 1:3, 4,8,9 เปาโลใช้เหตุผลและผลตอบสนอง และการทบทวนเพื่อที่จะทำให้เกิดความกระจ่างแก่เรา

รูปแบบของการเขียน

วัตถุประสงค์ : เพื่อจะทราบวิธีการเขียนในพระคัมภีร์

ประวัติศาสตร์

พระคัมภีร์เป็นประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าและมนุษย์ ดังนั้น พระคำจึงถูกเขียนขึ้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของบุคคลจริง ๆ ซึ่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงนำให้เขียนเกี่ยวกับคนนั้นคนนี้เฉพาะเจาะจง เพื่อแบ่งปันกับเราทั้งหลาย เมื่อเราได้อ่านแล้วจะทำให้ความสัมพันธ์ของเรากับพระเจ้าดีขึ้น เราจะได้รับการเสริมความเชื่อเมื่อเราได้เรียนรู้ถึงความยากลำบากและชัยชนะของบุคคลเหล่านี้

ยกตัวอย่าง เมื่อเราอ่านตอนที่พระเจ้าทรงเรียกกิเดโอนให้ทำการบางสิ่ง กิเดโอนต้องบากบั่นภายใต้ความกลัว เราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับที่พระเจ้าทรงนำและประทานชัยชนะให้ประชาชนเหนือความกลัว และความล้มเหลว (ดูในผู้วินิจฉัยบทที่ 6 และ 7) เรื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือเรื่องของพระคริสต์เอง โดยการเลียนแบบตัวอย่างของพระองค์ ทำให้เราสามามารถดำเนินอยู่ในความเชื่อพระเจ้าได้

เราพบเรื่องประวัติศาสตร์อยู่ทั่วไปในพระคัมภีร์ หนังสือเล่มที่ระบุเฉพาะว่าเป็นประวัติศาสตร์จริง ๆ คือ ตั้งแต่ โยชูวาไปจนถึงเอสเธอร์ ในพระคัมภีร์เดิม และมัทธิวไปจนถึงกิจการในพระคัมภีร์ใหม่ จากปฐมกาลถึงเฉลยธรรมบัญญัติเป็นส่วนผสมระหว่างประวัติศาสตร์และผู้เผยพระวจนะ

ผู้เผยพระวจนะ

ในประวัติศาสตร์พระคัมภีร์ พระเจ้าทรงใช้ผู้เผยพระวจนะพูดกับแก่ประชากรโดยตรง พวกเขาประกาศน้ำพระทัยและจุดมุ่งหมายของพระเจ้า คำเผยพระวจนะก็คือคำกล่าวของคนเหล่านั้นนั่นเอง คำของพวกเขานั้นเป็นความจริงซึ่งสัมฤทธิ์ผลได้ และเป็นการพยากรณ์ความจริงที่จะสำเร็จในอนาคตด้วย อาจมีคำเผยพระวจนะบางตอนยังไม่สำเร็จ พวกเขาพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นแม้ในยุคสุดท้ายด้วยเช่นกัน ในหนังสือเอเสเคียล ดาเนียล และวิวรณ์ ได้กล่าวถึงสิ่งเหล่านี้มากมาย

ท่านจะได้รับประโยชน์หากศึกษาคำพยากรณ์ที่สำเร็จแล้ว ตามที่อธิบายไว้ในพระคัมภีร์ใหม่ เช่น พระธรรมกิจการ ได้อ้างอิงถึงสิ่งที่พยากรณ์ในพระคัมภีร์เดิมหลายตอนที่สำเร็จแล้ว ในที่นี้หมายรวมถึงเรื่องการพระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จลงมา การทนทุกข์ของพระเจ้า และการที่พระองค์ถูกปฏิเสธ การตกเป็นทาสของอิสราเอลในประเทศอียิปต์ การเป็นขึ้นมาจากความตายของพระคริสต์ ความรอดที่มีไปยังคนต่างชาติ และใจแข็งกระด้างของมนุษย์ทั้งหลายที่มีต่อพระกิตติคุณ

บางครั้งอาจมีความหมายของคำพยากรณ์ที่ยากแก่การเข้าใจ เพราะเต็มไปด้วยสัญลักษณ์ แม้กระนั้นก็ตาม เรายังต้องศึกษาให้กระจ่าง เพื่อจะเห็นภาพแผนการณ์ของพระเจ้าสำหรับอย่างเด่นชัด ในพระคัมภีร์เดิม 17 เล่ม ตอนท้าย สดุดี และวิวรณ์ ประกอบด้วยข้อความที่เกี่ยวข้องกับคำพยากรณ์มากมาย

บทกวี

บทกวี เป็นข้อความที่เขียนเป็นบรรทัด และใช้คำคล้องจอง เพื่อแสดงความรู้สึกในส่วนลึกของอารมณ์ ในขณะที่ประวัติศาสตร์พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือ พูดถึงสิ่งที่มนุษย์ทำ บทกวีสำแดงในสิ่งที่มนุษย์คิดและรู้สึก อาจเป็นความสุข ความโศกเศร้า ความท้อแท้ใจ ความชื่นชมยินดี ในบทกวีนั้นได้ใช้ภาษาเปรียบเทียบต่าง ๆ มากมายซึ่งไม่อาจตีความหมายอย่างตรงตามตัวอักษรเหมือนกับพวกประวัติศาสตร์ ดังเช่น เมื่อเราอ่านหนังสือหรือบทกวีในสดุดี สุภาษิต ปัญญาจารย์ และเพลงซาโลมอน หรือบทกวีอื่น ๆ ที่พบในพระคำตอบอื่น ๆ เราจำต้องสังเกตภาษาเปรียบเทียบที่ผู้เขียนใช้นั้น

การเสนอถ้อยทำนองในข้อเขียนนั้น ผู้เขียนชาวฮีบรูมักจะประสาน 2 บรรทัดเพื่อเสนอความคิดควบคู่กันไป เราเรียกว่า คำขนาน สิ่งที่ประสานกันนั้น อาจอ่านตามกันไป ในสดุดี บทที่ 5 ความหมายของบรรทัดแรก “ข้าแต่พระเจ้า ขอทรงฟังเสียงเอียงพระโสตสดับถ้อยคำของข้าพระองค์ ขอทรงฟังเสียงคร่ำครวญของข้าพระองค์” ในบรรทัดต่อไปอีก 2 บรรทัด มีการทบทวนแต่ละบรรทัดในขั้นต้น และใช้วิธีนี้ตลอด

ใน 2 บรรทัดนั้นอาจเกี่ยวกับการเปรียบเทียบ “ความกระวนกระวายของคนถ่วงเขาลง แต่ถ้อยคำที่ดีกระทำให้เขาชื่นชม” (สุภาษิต 12:25) หรืออาจจะเป็น 2 บรรทัดที่มีการเพิ่มแนวความคิด ขยายความต่อเนื่องกันไป เพื่ออธิบายให้เข้าใจ วิธีนี้ใช้ในหนังสือโยบ 36:21 ซึ่งเริ่มต้นว่า “ระวังให้ดี อย่าหันไปหาความบาปผิด” ในประโยคต่อไปได้เพิ่มความกระจ่างขึ้นคือ เพราะท่านเลือกสิ่งนี้มากกว่าเลือกความทุกข์ใจ”

แนวความคิดในเรื่องบทกวีนี้ เกี่ยวข้องกับเรื่องอารมณ์ของชีวิต โยบอธิบายความทุกข์ทรมานของมนุษย์ สดุดีชี้แนะแนวทางในการนมัสการพระเจ้า สุภาษิตแสดงให้เห็นความต้องการด้านสติปัญญา เพื่อที่จะนำไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ปัญญาจารย์ทำให้เราเห็นชีวิตในแนวลบ น่าสงสัย เพลงซาโลมอนทำให้เราทราบเกี่ยวกับความรัก การแต่งงาน

จดหมาย

จดหมายนั้นสังเกตได้ง่าย เพราะเริ่มต้นด้วยคำทักทาย ปราศรัย มีเนื้อหาหลัก มีการลงท้าย ตัวเรื่องของจดหมายอาจเกี่ยวข้องกับการตอบคำถามต่าง ๆ ที่ได้กล่าวถึงในจดหมายของคนอื่น ๆ ดังนั้น เป็นการดีที่จะระลึกถึงว่าจดหมายเป็นการตอบสนองความต้องการเฉพาะ มิใช่จะมีคำสอนที่หมายรวมไปถึงเรื่องต่าง ๆ มากมาย

อัครทูตเปาโลได้เขียนจดหมาย 13 ฉบับในพระคัมภีร์ใหม่ เราเรียกว่าจดหมายฝากจากเปาโล ยังมีอีกหลายคนเขียนจดหมายฉบับอื่น ๆ อีก 8 ฉบับ หากเราศึกษาจดหมายเหล่านี้หมด แล้วเปรียบเทียบคำสอนต่าง ๆ เราจะได้รับแนวทางในด้านความเชื่อและชีวิตใหม่ในพระคริสต์

 ข้อทดสอบ

  1. ข้อความใดเป็นแบบภาษาที่แปลตรงตัว หรือภาษาเปรียบเทียบ

1) ภาษาที่แปลตรงตัว 2) ภาษาเปรียบเทียบ

_____ก. ในกรุงเยรูซาเล็ม ที่ริมประตูแกะมีสระอยู่สระหนึ่ง (ยอห์น 5:2)

_____ข. จงดูพระเมษโปดกของพระเจ้า (ยอห์น 1:29)

_____ค. เราเป็นประตูของแกะทั้งหลาย (ยอห์น 10:7)

_____ง. แกะอื่นซึ่งมิได้เป็นของคอกนี้เราก็มีอยู่ (ยอห์น 10:16)

2. อ่านเรื่องข้าวละมาน ในมัทธิว 13:24-30 และคำอธิบายในข้อ 36-43 เลือกข้อที่สัมพันธ์กัน

_________ก.

ผู้หว่าน

1. คนในแผ่นดินของพระเจ้า

_________ข.

ศัตรู

2. บุตรมนุษย์

_________ค.

เมล็ดที่ดี

3. มาร

_________ง.

ข้าวละมาน

4. ผู้เป็นฝ่ายมาร

_________จ.

ข้าวสาลีและข้าวละมานปนกัน

5. ยุคสุดท้าย

_________ฉ.

ข้าวสะมานรวมกัน

6. แผ่นดินสวรรค์

_________ช.

ข้าวสาลี

7. โลกตามแบบที่มันเป็นอยู่

  1. อ่านข้อพระคัมภีร์ที่กำหนดให้ และเลือกคำอธิบายด้านขวา (เลือกได้มากกว่า 1)

_________ก..

กาลาเทีย 6:7-9 เรื่องเกี่ยวกับการเกี่ยวสิ่งที่ได้ปลูกไว้

1. ใช้คำซ้ำซาก

_________ข.

เอเฟซัส 2:14-18 พระคริสต์ทรงทำให้ยิวและคนต่างชาติต่างก็มีความสันติสุข

2. เหตุผลและผลตอบสนอง

_________ค.

1 พงษ์กษัตริย์ 17:8-24 การเชื่อฟังของเอลิยาห์ ที่ทำให้เขาเป็นคนของพระเจ้า

3. เปรียบเทียบความแตกต่าง

_________ง.

ผู้วินิจฉัย 6:11-40 กิเดโอนตอบสนองการทรงเรียกของพระเจ้า ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง

4. ความก้าวหน้า

_________จ.

2 พงศาวดาร 1:7-12 เกี่ยวกับการที่กษัตริย์ซาโลมอนทำบางสิ่งที่พระเจ้าทรงกระทำบางสิ่ง

5. แนวความคิดหลัก

_________ฉ.

เอเฟซัส 4:7-32 เรื่องชีวิตใหม่ในพระคริสต์เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ด้วย

 

4. จับคู่ความสัมพันธ์

_________ก.

ฟิลิปปี 1:1-2

1. ประวัติศาสตร์

_________ข.

เศฟันยาห์ 1:14-18

2. ผู้เผยพระวจนะ

_________ค.

สดุดี 91

3. บทกวี

_________ง.

1 โครินธ์ 5:9-11

4. จดหมาย

_________จ.

2 ซามูเอล 7:18-28

 

_________ฉ.

โยบ 36:22-26

 

_________ช.

กิจการ 2:1-13

 

_________ซ.

วิวรณ์ 4:1-11

 

เฉลย

ข้อ 1.

ข้อ 2.

ข้อ 3.

ข้อ 4.

ก/1

ก/2

ก/3

ก/4

ข/2

ข/3

ข/1

ข/2

ค/2

ค/1

ค/4

ค/2,3

ง/2

ง/4

ง/5

ง/4

 

จ/7

จ/2

จ/7

 

ฉ/5

ฉ/3

ฉ/5

 

ช/6

 

ช/6

     

ซ/1

     

ฌ/2

GUEST BOOK / WEB BOARD / SHARE&CARE / KIDS CENTER / FAMILY / COMPOSITION / PRAY CENTER / BIBLE STUDY /ARTICLES / MALL CENTER / NEWS / PICTURES / CONTACT US / WEB LINKS /PRAISE&WORSHIP/ HOME

บทที่  4 >>