Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!
 
  บทที่ 4

เตรียมตัวในการศึกษาพระคัมภีร์

เมื่อเราได้ยกเหตุผลที่จะต้องศึกษาพระคัมภีร์ และอธิบายอย่างย่อ ๆ เกี่ยวกับพระคัมภีร์แล้ว ต่อไปจะศึกษาอะไรอีกบ้างในบทเรียนนี้ เราจะศึกษาเรื่องสิ่งที่ท่านต้องตรียมตัวในการศึกษาพระคัมภีร์ แล้วในบทต่อไปอีก 4 บท ก็จะเสนอแนะแนวทางการศึกษาพระคัมภีร์

บางคนคิดว่าการศึกษาพระคัมภีร์เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะต้องใช้หลายสิ่งหลายอย่าง และบางสิ่งก็เป็นเรื่องยากแก่การเข้าใจเสียด้วย ก็เหมือนการทำอะไรใหญ่ ๆ หากเราทราบวิธีที่จะทำ แล้วแบ่งมันออกเป็นชิ้น ส่วนเล็ก ๆ แล้ว ท่านก็จะทำให้สำเร็จได้

หนังสือ ศึกษาพระคัมภีร์อย่างไร” เล่มนี้ต้องใช้คนกว่า 20 คนในการจัดทำ ตามขั้นตอนต่าง ๆ 35 ขั้น มีหลายขั้นตอนที่ต้องอาศัยเวลาเป็นสัปดาห์กว่าที่จะทำได้ และบางวิธีต้องการการทบทวนหนังสือเล่มนี้เป็นเพียงเล่มเดียวในจำนวนหลาย ๆ เล่มที่ถูกเขียนขึ้น เพื่อช่วยเราในการเรียนรู้จักกับพระเจ้าและน้ำพระทัยของพระองค์ที่มีในชีวิตของเรา เมื่อหลายปีก่อนดูเหมือนว่าหนังสือประเภทนี้ไม่น่าจะออกมาได้ แต่ก็เป็นไปแล้ว ด้วยแผนการณ์ที่วางไว้เป็นขั้นเป็นตอน

ในบทเรียนนี้ ท่านจะได้เรียนเกี่ยวกับ

  • เครื่องมือขั้นพื้นฐานในการศึกษาพระคัมภีร์
  • กฎเกณฑ์พื้นฐานในการตีความหมายพระคัมภีร์
  • คำอธิษฐานขอการทรงนำ

บทเรียนนี้ จะช่วยท่าน

  • สามารถอธิบายเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาพระคัมภีร์
  • สามารถอธิบายกฎเกณฑ์พื้นฐานในการตีความหมาย ในสิ่งที่ผู้เขียนต้องการให้เราทราบ
  • บอกให้ทราบว่า เราต้องการการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่จะสอนเราในขณะที่ศึกษาพระคัมภีร์นั้น

เครื่องมือขั้นพื้นฐานในการศึกษาพระคัมภีร์

วัตถุประสงค์ : เพื่ออธิบายเครื่องมือพื้นฐาน 3 ประการ ที่จะทำให้การศึกษาพระคัมภีร์เป็นไปด้วยความเข้าใจ

วิธีที่จะเจริญเติบโตฝ่ายวิญญาณที่ดีที่สุด ก็คือการศึกษาพระคัมภีร์ ท่านไม่อาจที่จะหวังพึ่งการศึกษาหรือคำสอนของผู้อื่นเสมอไป การศึกษาพระคำของพระเจ้าเป็นเรื่องส่วนบุคคลและอาจเป็นเรื่องส่วนตัวที่สุดที่ท่านพึงจะต้องมีส่วนร่วม เพราะการทำเช่นนั้นจะมีผลกระทบทุกส่วนในชีวิตของท่าน ไม่ว่าท่านจะเป็นใคร และทำอะไรอยู่

โดยปกติ ท่านจะมีอิทธิพลต่อคนที่ใกล้ชิดกับท่าน ดังนั้น สิ่งที่ท่านได้เรียนในการศึกษาพระคัมภีร์ส่วนตัวจำต้องแบ่งบันให้ผู้อื่นด้วย เมื่อท่านได้เรียนรู้และจำเริญขึ้นในความรู้ของพระเจ้า ท่านควรจะสอนให้ชั้นรวีวารศึกษา แบ่งปันในกลุ่มศึกษาพระคัมภีร์ และ บอกกล่าวให้เพื่อนบ้านหรือเพื่อนของท่านให้ทราบเกี่ยวกับพระคริสต์

มีพระคัมภีร์เป็นของตัวเอง

เครื่องมือที่ใช้สำหรับการศึกษาพระคัมภีร์นั้นมีน้อย แน่นอนที่สุด ท่านต้องมีพระคัมภีร์เป็นของตัวเอง (หากมีฉบับที่แปลต่าง ๆ หลายฉบับก็จะช่วยให้รับทราบลักษณะการแปลที่แตกต่างกันออกไป) พระคัมภีร์นั้นได้สำแดงสิ่งที่พระเจ้าทรงสำแดงแก่มนุษย์ บอกเราให้ทราบในสิ่งที่เราต้องการ เรื่องของชีวิตใหม่ในพระคริสต์ และเรื่องชีวิตนิรันดร์ในแผ่นดินสวรรค์ ดังนั้น พระคัมภีร์เองจึงเป็นเครื่องมืออย่างดีที่จะใช้ในการตีความหมาย หากได้อ่านมากเท่าไหร่ก็จะเข้าใจความหมายมากขึ้นเท่านั้น

สายตาและความคิดเป็นเครื่องมืออันดับสองในการศึกษา เมื่อท่านใช้ตาในการอ่าน ท่านจะมีประสบการณ์หลายสิ่งหลายอย่าง ที่คนตาบอดไม่เคยมี แม้กระนั้น คนที่มีตามองเห็นอะไรได้ก็ยังไม่ค่อยระมัดระวัง ไม่เห็นในสิ่งที่ควรจะเห็น หรือมิได้รับประสบการณ์ในสิ่งที่ควรจะได้รับ แม้เขาจะได้ใช้สายตาของตนเอง และความสามารถในการคิดก็ตามที

อ่านและคิด

สายตาฝ่ายกายนั้นคล้ายกับสายตาฝ่ายวิญญาณจิต นั่นหมายถึง ความรู้ หรือสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในเป็นความจริงของพระเจ้า แท้ที่จริง พระคัมภีร์ได้ใช้ความหมายของคำว่า “มอง” ในรูปของ “รับทราบความจริงฝ่ายวิญญาณจิต” ตามที่กล่าวไว้ใน 2 โครินธ์ 4:4 คนเหล่านั้นซึ่งไม่เชื่อข่าวประเสริฐของพระคริสต์ ก็ถูกมารซาตานทำให้ตาของเขามองไม่เห็นความสว่างของพระเจ้า (มัทธิว 13:14-16) และ อิสยาห์ 44:18 กล่าวว่า “ตาของเขาถูกบิดเบือน เขาจึงเห็นอะไรไม่ได้ และจิตใจของเขาก็ถูกบิด เขาจึงเข้าใจไม่ได้ ในทางตรงกันข้าม สำหรับคนที่มีใจบริสุทธิ์ เขาจะเห็นพระเจ้า ตาม มัทธิว 5:8 ได้กล่าวไว้เช่นนั้น ยังมีคริสเตียนหลายคนที่รู้สึกตัวเป็นมลทินเพราะไม่ได้ศึกษาพระคำของพระเจ้า ตามที่เขาควรจะศึกษา เขาจึงไม่ “เห็น” หรือประสบการณ์กับความจริงเท่าที่จะเป็นไปได้

ท่านสามารถมีความคิดแบบพระคริสต์ (1 โครินธ์ 2:16) หากยอมให้พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงนำเพื่อให้พระคำกระจ่างในตัวท่าน การเจริญเติบโตในการศึกษาพระคำ ก็คือ การที่จะมีสายตาฝ่ายวิญญาณจิต ที่ท่านต้องการรับทราบความจริงของพระเจ้า และนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันของท่านในการตัดสินใจ

(1 โครินธ์ 2:13-16) เมื่อศึกษาอย่างจริงจัง ท่านจะได้รับความรู้จากพระคำ และรับทราบเรื่องของชีวิตใหม่ รับการเตรียมตัวกับคำสอนเทียมเท็จ ตามที่ท่านอัครสาวกเปาโลได้เตือนย้ำไปคริสตจักรที่ทิโมธี กำลังรับผิดชอบอยู่ ซึ่งเป็นคริสตจักรใหม่ ในการระมัดระวังคำสอนเทียมเท็จ พวกเขาจะพยายามนำพาให้คริสเตียนห่างไกลความจริง โดยทำให้เขาเชื่อในสิ่งที่ไม่ใช่มาจากพระคำของพระเจ้า (เอเฟซัส 4:14)

การเขียน

เครื่องมือชิ้นที่สาม คือ ปากกา เพื่อเขียนสิ่งที่อ่านพบในพระคำ การเขียนช่วยให้เราจดจำได้ ช่วยให้ “เห็น” ในแง่มุมต่าง ๆ เมื่อเขียน เท่ากับเป็นการทบทวน หรือ สิ่งที่ได้เขียนนั้น ทำให้เรา “เห็น” จริงตามที่ผู้เขียนพระคำได้กล่าวไว้ ให้เขียนข้ออ้างอิงที่พาดพิงไปถึงพระธรรมตอนอื่น ๆ เพื่อจะได้อ่านเปรียบเทียบกัน ขอให้เขียนคำถามต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในความคิดของเราทุกคำถามด้วยเช่นกัน ภายหลังเมื่อวกกลับมาอ่านอีก ท่านจะเข้าใจพระคัมภีร์ได้มากขึ้น และท่านจะตอบคำถามบางประการที่เขียนไว้นั้นด้วย

เครื่องมือทั้งสามชิ้น ไม่ว่าจะเป็น พระคัมภีร์ สายตาฝ่ายร่างกาย และปากกา จะช่วยเราในการศึกษาพระคำ ยังมีเครื่องมืออื่น ๆ อีกที่จะช่วยเราในการศึกษา ท่านอาจจะใช้หนังสือศัพท์สัมพันธ์ ซึ่งเรียงลำดับตัวอักษรของข้อพระธรรมต่าง ๆ อ้างอิงตลอดทั้งเล่ม ยกตัวอย่าง หากท่านต้องการทราบข้อความต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำว่า “ความเชื่อ” ท่านก็จะอ่านพบได้ในหนังสือเล่มนั้น ภายใต้คำว่า “ความเชื่อ” อาจมีพระธรรมบางเล่มที่มีศัพท์สัมพันธ์เล็ก ๆ ปะติดอยู่ด้านหลังของพระคัมภีร์ (เฉพาะพระคัมภีร์ภาษาอังกฤษ) ก็ได้ นอกจากนั้นก็ยังมี “ดัชนีเรื่องราว” ซึ่งเรียงลำดับ ชื่อ สถานที่ และเรื่องราวสำคัญๆ อ้างอิงไว้แม้จะไม่ได้แยกตามลำดับเป็นคำ ๆ ก็ตาม แต่ก็มีข้อพระคัมภีร์อ้างอิงไว้

ศัพทานุกรมพระคัมภีร์ ก็เป็นเครื่องมืออีกประเภทหนึ่ง ที่จะให้คำจำกัดความหมายของคำที่ยาก ๆ หรือให้ข้อมูลสมัยของพระคัมภีร์ สถานที่ วัฒนธรรม และผู้คนยังมีอีกประเภทหนึ่งก็คือ หนังสืออธิบายพระคัมภีร์หนังสือเหล่านี้ เขียนขึ้นโดยนักการศึกษาพระคัมภีร์ ซึ่งแบ่งปันความเข้าใจของเขาเอาไว้ในการศึกษาพระคัมภีร์ ที่เขาได้ทุ่มเทอย่างมากในชีวิตของเขา

หากท่านไม่มีเครื่องมือพิเศษตามที่ได้กล่าวมานี้แล้ว ก็อย่าวิตกเลย พระวิญญาณบริสุทธิ์จะทรงสำแดงความหมายของพระคำแก่ท่านเสมอในขณะที่ท่านกำลังศึกษา ให้ทูลขอการทรงนำของพระองค์ แล้วให้นำสิ่งที่เรียนรู้ในบทเรียนนี้มาปฏิบัติ

กฎเกณฑ์ฟื้นฐานในการตีความหมายพระคัมภีร์

วัตถุประสงค์ : เพื่อเข้าใจกฎเกณฑ์ 3 ประการในการใช้ตีความหมาย

ท่านคงจะสงสัยว่าจะเริ่มต้นศึกษาพระคัมภีร์อย่างไร จะเริ่มต้นจากหนังสือเล่มไหนก่อนดี วันหนึ่ง ๆ ต้องศึกษาพระคำกี่ข้อ

ท่านควรเริ่มต้นด้วยหนังสือที่เนื้อหาสั้น ๆ เช่น (โคโลสี บทที่ 5) และศึกษาประมาณ 20-25 ข้อต่อวัน ท่านอาจจะอ่านได้มากกว่านี้ แต่การศึกษาต้องใช้เวลามากกว่า ท่านควรศึกษาเรื่องราวสั้น ๆ ในแต่ละวัน เพื่อที่จะได้รับผลมากที่สุดในการศึกษาของท่าน

ไม่เพียงแต่จะมีคำถามว่า จะศึกษาอย่างไร ท่านอาจถามว่า ข้อความตอนนี้มีความหมายอะไรบ้างด้วยท่านจะตีความหมายหรืออธิบายความหมายนั้น ๆ อย่างไรได้ กฎเกณฑ์ข้อหนึ่งของการตีความหมายก็คือ ถามคำถามข้อพระธรรมแต่ละตอน ว่าผู้เขียนเป็นใครมีวัตถุประสงค์หลักอะไร เขียนถึงใคร ข้อความตอนนั้นพูดถึงอะไร และพูดถึงใคร มีอะไรบ้างที่เกิดขึ้นตอนนั้น เมื่อไหร่ ที่ไหน ข้อความนี้หมายถึงอะไร มีจุดประสงค์ในการที่กล่าวเช่นนั้นอะไรบ้าง ความจริงที่พบที่นั้นคืออะไร

เราจะลองใช้ โรม 8:26-27 เป็นตัวอย่างในการตีความหมายในที่นี้

“ในทำนองเดียวกัน พระวิญญาณก็ทรงช่วยเราเมื่ออ่อนกำลังด้วย เพราะเราไม่รู้ว่าเราควรจะอธิษฐานขอสิ่งใด อย่างใด แต่พระวิญญาณทรงช่วยขอแทนเรา ในเมื่อเราคร่ำครวญอธิษฐานไม่เป็นคำ และพระองค์ผู้ทรงชันสูตรใจมนุษย์ ก็ทรงทราบความหมายของพระวิญญาณเพราะว่า พระวิญญาณทรงอธิษฐานขอเพื่อธรรมิกชนตามที่ชอบพระทัยพระเจ้า”

เราไม่อาจตอบคำถามแรก 3 ข้อได้ แต่เราคงจะเห็นแล้วว่า ข้อพระธรรมเหล่านี้เกี่ยวกับอะไรบ้าง เป็นเรื่องเกี่ยวกับการอธิษฐาน ซึ่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงอธิษฐานเผื่อเราทั้งหลาย พระวิญญาณอธิษฐานอย่างไรนี่เป็นเรื่องที่มาจากส่วนลึกภายในเรา “ในใจของเรา” ซึ่งพระวิญญาณทรงสถิตอยู่ (ยอห์ 14:15-17) พระวิญญาณทรงอธิษฐานเมื่อเราไม่ทราบว่าเราควรจะอธิษฐาน พระวิญญาณทรงอธิษฐานเผื่อคนของพระเจ้า ที่ไหนที่พวกเขาอยู่ ข้อความนี้หมายความว่า เรามีผู้ช่วยผู้ใหญ่ยิ่ง พระองค์ไม่เพียงแต่อธิษฐานกับพระเจ้าเผื่อเรา แต่ยังทรงอธิษฐานเผื่อเราตามน้ำพระทัยพระเจ้า เรายังไม่เห็นเลยว่าข้อพระธรรมเหล่านี้ นำมาใช้เป็นวัตถุประสงค์หลักได้อย่างไรบ้าง แต่มันทำหน้าที่เสริมความเชื่อของเราให้เข้มแข็งได้ ยังมีอีกสิ่งหนึ่ง หากเราพยายามที่จะทำตามน้ำพระทัยของพระเจ้า พระวิญญาณบริสุทธิ์ที่ทรงชำระใจของเราใหม่ และแล้วเราก็จะอธิษฐานตามน้ำพระทัยของพระองค์ได้

ในการที่จะตอบคำถามอื่น เราต้องอ่านข้อพระธรรมรอบ ๆ พระธรรมตอนนั้น ข้อความรอบ ๆ นั้นเราเรียกว่า “ท้องเรื่อง” โดยการอ่านจากข้อ 1-25 เราจะพบว่าผู้เขียนกำลังพูดถึงชีวิตใหม่ในพระวิญญาณ (ข้อ 5-9) ในฐานะเป็นบุตรของพระเจ้า (ข้อ 14,17) ซึ่งมีความหวังในสง่าราศีในอนาคต ข้อ 18 ท้องเรื่องนี้ช่วยเราให้เข้าใจมากขึ้น ว่าเรามีฤทธิ์อำนาจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ ในการอธิษฐานของเรา ก็เพราะว่าเราเป็นคนที่อยู่ในพระคริสต์นั่นเอง

จากการอ่าน โรมบทที่ 1 เกี่ยวกับเปาโลผู้ซึ่งเป็นอัครสาวก (ข้อ 1) ได้เขียนจดหมายฉบับนี้ไปยังคริสตจักรที่กรุงโรม (ข้อ 7) หลังจากที่ได้ทักทายปราศรัยแล้ว ท่านก็เข้าไปยังวัตถุประสงค์หลักทันทีในข้อ 16 และข้อ 17 พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ สอนเรื่องความรอดโดยความเชื่อ มิใช่ด้วยสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น แล้วเราก็จะเห็นการเน้นของข้อ 26-27 ว่าเป็นชัยชนะของเราทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งได้สนับสนุนวัตถุประสงค์หลักตามที่ท่านเปาโลได้เขียนไว้ เปาโลสอนว่า ความเชื่อทำให้เกิดความรอด และสง่าราศีในสวรรค์ในอนาคต

กฎเกณฑ์ที่ 2 ของการตีความหมาย คือ การอธิบายความหมายของพระวจนะ ตามที่ได้เกี่ยวกันในท้องเรื่อง คำสอนผิดอาจเกิดขึ้นได้ หากมีการนำเอาเพียงข้อหนึ่งข้อใดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพระวจนะไปตีความนอกท้องเรื่อง บางคนพูดถึงพระสัญญาของพระเจ้า โดยมิได้คำนึงถึงเงื่อนไขที่ตามมา (ดูเงื่อนไขในมัทธิว 6:33) อาจมีบางคนใช้พระคำข้อเดียวในการสนับสนุนความเชื่อส่วนตัว โดยมิได้สนใจเรื่องความหมายตามที่มีอยู่ในท้องเรื่องที่ให้ไว้นั้น ยกตัวอย่างเช่น มีชายคนหนึ่งต้องการหย่ากับภรรยา ก็อาจจะอ้าง 1 โครินธ์ 7:1 นี้ข้อเดียว มิได้สนับสนุนความคิดของเขาได้พอ ความจริงแล้ว เมื่อเราได้อ่านความจริงเกี่ยวกับบทที่ 7 และในเอเฟซัส 5 และ 1 ทิโมธี 4:1-4 เราพบว่า การหย่าร้างมิได้เป็นที่ยอมรับของพระเจ้าแต่อย่างไรทั้งสิ้น

หากข้อความตอนนั้น ๆ นำไปใช้สอนอย่างจำกัด หรือรู้สึกมีข้อขัดแย้ง เราต้องศึกษาข้อความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นกฎเกณฑ์ที่ 3 น่าที่จะช่วยให้เข้าใจคำสอนที่สมดุลกับความเป็นจริงได้ ให้ดูที่ย่อหน้าของพระคัมภีร์ของท่าน เพื่อที่จะได้อ้างอิงไปยังพระธรรมตอนอื่น ๆอีก

กฎเกณฑ์ทั้ง 3 ประการนี้ท่านจะรู้สึกว่าง่าย หากได้ใช้มากขึ้นในการอ่านพระคัมภีร์

คำอธิษฐานขอการทรงนำ

วัตถุประสงค์ : ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างการอธิษฐานกับการศึกษาพระวจนะของพระเจ้า

เรามีพระวิญญาณบริสุทธิ์ ทรงนำเราให้ทราบน้ำพระทัยของพระเจ้า พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงสถิตในเราทั้งหลาย ต่อเนื่องกัน จะทรงนำเรา ตามที่ได้อธิบายใน 1 ยอห์น 2:27

และฝ่ายท่านทั้งหลาย การเจิมซึ่งท่านทั้งหลายได้รับจากพระองค์นั้นดำรงอยู่กับท่าน และไม่จำเป็นต้องมีใครสอนท่านทั้งหลาย เพราะว่า การเจิมนั้นได้สอนท่านให้รู้ทุกสิ่ง และเป็นความจริงและมิใช่ความเท็จ การเจิมนั้นสอนท่านทั้งหลายแล้วอย่างใด ท่านจงตั้งมั่นคงอยู่กับพระองค์อย่างนั้น”

จำไว้ว่า หากไม่มีพระวิญญาณของพระเจ้า จะไม่สามารถตีความหมายความจริงฝ่ายวิญญาณจิตตามพระคัมภีร์ได้ เราเองก็เช่นกันทำอะไรไม่ได้ เราต้องทูลขอพระวิญญาณบริสุทธิ์ให้ช่วยเหลือเรา พระองค์จะไม่บีบบังคับเราให้รับความจริง เราจำต้องอธิษฐานเพื่อความเข้าใจ เหมือนดาวิดได้อธิษฐานว่า

“ขอเบิกตาข้าพระองค์ เพื่อข้าพระองค์จะเห็นสิ่งมหัศจรรย์จากพระธรรมของพระองค์ ข้าพระองค์เป็นคนพเนจรบนแผ่นดินโลก ขออย่าทรงซ่อนพระบัญญัติของพระองค์จากข้าพระองค์เสีย จิตใจของข้าพระองค์เร่าร้อนด้วยคำนึงถึงกฎหมายของพระองค์ตลอดเวลา (สดุดี 199:18-19-20)

การศึกษาพระคัมภีร์อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับการอธิษฐาน การอธิษฐานแสดงว่าเราถ่อมใจ เราจริงใจและยอมขึ้นอยู่กับพระเจ้าโดยสัมพันธ์กับพระองค์ คำอธิษฐานจะช่วยเราให้สนใจศึกษาพระคำและตอบสนองบทเรียนที่ได้รับ คำอธิษฐานเปิดจิตเปิดใจของเราให้พร้อมที่จะรับความจริง

เหตุฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงเตรียมตัวเตรียมใจของท่านไว้ให้ดี และจงข่มใจตั้งความหวังให้เต็มเปี่ยมในพระคุณ คือ พระคุณซึ่งทรงโปรดประทานแก่ท่าน เมื่อพระเยซูคริสต์จะทรงสำแดงพระองค์ 1 เปโตร 1:13

เราจะอ่านพบอีกครั้งหนึ่ง ใน 2 ทิโมธี 3:16-17 ซึ่งกล่าวว่า

“พระคัมภีร์ทุกตอนได้รับการดลใจจากพระเจ้า และเป็นประโยชน์ในการสอน ในการตักเตือนว่ากล่าว การปรับปรุงแก้ไขคนให้ดี และการอบรมในทางธรรม เพื่อคนของพระเจ้าจะพรักพร้อมที่จะกระทำความดีทุกอย่าง”

ข้อความตอนนี้ ทำให้เราทราบว่า ทำไมเราจึงต้องศึกษาพระคำ ให้อธิษฐานว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์จะทรงช่วยเหลือเราในการเรียนรู้ ให้มากที่สุดเท่าที่เราจะสามารถตีความหมายของพระคำของพระเจ้า ในการที่เราศึกษาพระวจนะของพระองค์

ข้อทดสอบ

  1. ท่านสามารถพึ่งอาศัยเฉพาะพระคัมภีร์เท่านั้น ในการเรียนรู้เกี่ยวกับการสำแดงของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์ เพราะว่า
ก. หนังสือเกี่ยวกับศาสนาอื่นลอกเลียนแบบพระธรรมเล่มนี้

ข. ไม่มีหนังสืออื่นใดที่อภิปรายเรื่องการสำแดงของพระเจ้าแก่มนุษย์

ค. พระคัมภีร์สำแดงสิ่งที่พระเจ้าต้องการสำแดงแก่มนุษย์

 2.    เครื่องมือที่สำคัญที่สุดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์ คือ

ก. หนังสืออธิบายพระคัมภีร์ โดยนักเขียนที่มีความรู้ดี

ข. พระคัมภีร์ สายตา ปากกา

ค. หนังสือเกี่ยวกับสิ่งที่ทรงสำแดงใหม่ ๆ

 3.    ความสัมพันธ์ระหว่างตาฝ่ายร่างกาย และตาฝ่ายวิญญาณจิต เราจะพูดถึงในแง่ของ

ก. การมองเห็นความจริง

ข. เหตุการณ์แห่งความจริง

ค. แสงสว่างที่ส่องให้มองเห็น

4.    จุดมุ่งหมายของการเขียนโน้ตในขณะที่ศึกษาพระคัมภีร์ ก็เพื่อ

ก. เก็บรวบรวมสิ่งที่ได้ศึกษามา

ข. ช่วยบันทึกความจำในสิ่งที่ได้อ่านพบ

ค. เห็นข้อแตกต่างในสิ่งที่ได้ศึกษามา

5.     ให้เลือกคำตอบที่สมบูรณ์ที่สุด สำหรับข้อความต่อไปนี้

ก. หากท่านถามคำถามขึ้นมา ในขณะที่อ่านข้อพระธรรม ช่วยท่านได้ คือ

m ตีความหมายของข้อความ m หาดูว่าท่านรับทราบอะไรบ้างแล้ว

ข. หากท่านไม่สามารถตอบคำถามต่าง ๆ เกี่ยวกับพระคัมภีร์ตอนนั้น ๆ ท่านควรจะ

m พยายามหาบางสิ่งบางอย่างมาตอบ m อ่านท้องเรื่องเพื่อที่จะพบคำตอบมากขึ้น

ค. ข้ออ้างอิงที่ด้านข้างในพระคัมภีร์ของท่าน คือ

m สิ่งที่จะช่วยเราในการศึกษา m สำคัญเฉพาะสำหรับครูเท่านั้น

6. การใช้กฏเกณฑ์ในการตีความหมาย ช่วยเราในเรื่อง

m หาสิ่งที่สนับสนุนความคิดของเรา m หลีกเลี่ยงความคิดที่ผิด ๆ

7. อ่านโรม 14:4 และตีความหมายตามที่ท่านได้อ่าน

ก. ข้อพระธรรมนี้เกี่ยวกับอะไรบ้าง

ข. ให้อ่านท้องเรื่องในข้อ 1-6 มีอะไรที่ดูเหมือนจะก่อให้เกิดปัญหาในคริสตจักรที่กรุงโรม

ค. อ่านโคโลสี 2:16 ซึ่งเป็นตอนที่ให้อ้างอิงไว้ในโรม 14:1-6 และ 1 ทิโมธี 4:3 ข้อความที่เราอ้างอิงถึงในบทเรียนนั้น มีข้อความเหล่านี้บ่งบอกอะไรบ้าง

ง. อ่าน ยากอบ 4:11-12 ซึ่งมีคำสอนเกี่ยวพันธ์กัน เราได้พบความจริงเฉพาะในที่นี้ที่สอนไว้อย่างไรบ้าง

จ. อ่าน มัทธิว 7:1-5 และ ลูกา 6:37, 38,41,42 ซึ่งเป็นคำสอนของพระเยซูคริสต์ มีอะไรบ้างที่เน้นในที่นี้ ซึ่งเราควรมีต่อผู้อื่น ในลูกา 6:37-38

8. อ่านโรม 14 ทั้งบท เพื่อที่จะทราบคำสอนในข้อ 4 ท่านควรจะทำอะไรบ้างกับพี่น้องคริสเตียน ผู้เชื่อแตกต่างไปจากท่าน

วงกลมข้อความที่ถูกต้องสมบูรณ์ คำอธิษฐานจำเป็นต่อการศึกษาพระคัมภีร์อย่างมีประสิทธิภาพเพราะว่า

ก. พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็นครู

ข. เราจะทราบความต้องการของเรา เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการอธิษฐาน

ค. ทำให้เราเข้าใจความจริงและยอมรับ

ง. มันเป็นการลดภาระหนักของเรา เพื่อจะได้ไม่ต้องศึกษามาก

คำเฉลย

1. ค

5. ก ตีความหมายข้อความนั้น

 

2. ข

ข. ให้อ่านท้องเรื่อง

 

3. ก

ค. เป็นสิ่งที่ช่วยในการศึกษา

 

4. ค

ง. หลีกเลี่ยงความคิดเห็นผิด ๆ

 
     
     
  1. ก) เราจะต้องไม่พิพากษาพี่น้องในพระคริสต์ เจ้านายของเราคือพระคริสต์ พระองค์ทรงเป็นผู้พิพากษา
ข) ในที่นี้มีการทุ่มเถียงกันว่ามีอะไรที่ควรจะรับประทาน และไม่ควรรับประทาน หรือจะต้องแบ่งวันหนึ่งวันใดให้แตกต่างจากวันอื่น ๆ หรือไม่ หากท่านอ่านข้อ 7 ท่านจะทราบว่านี่ไม่ใช่เรื่องที่เราจะต้องไปสนใจมากมาย

ค.) เราจำต้องมองไปที่พระเจ้าเพื่อรับการทรงนำ มากกว่ามองมนุษย์ ดังนั้นพระเจ้าเท่านั้นที่จะพิพากษาเรา มิใช่มนุษย์

ง) การที่จะไปพิพากษาคนอื่น ๆ ทำให้เราพบว่า ไม่เชื่อฟัง เราจะต้องไม่แสดงบทเป็นพระเจ้าเสียเอง มิฉะนั้นแล้วเราจะต้องถูกพิพากษามากขึ้น

จ) ไม่เพียงแต่เราจะต้องไม่พิพากษาผู้อื่นเท่านั้น เรายังต้องยกโทษแก่เขา และรักเขา โดยแบ่งปันสิ่งต่าง ๆ ให้แก่เขา

ฉ) อย่าพิพากษาหรือกล่าวโทษเขา ตรงกันข้าม ให้ช่วยปกป้องเขา อย่าทำอะไรที่จะทำให้เขาอ่อนแอลงในความเชื่อ

8. ก) พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็นครูผู้สอน

ข. )เราจะทราบความต้องการของเรา เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการอธิษฐาน

ค) ทำให้เราเข้าใจความจริงและยอมรับ                                                            บทที่  5 >>

GUEST BOOK / WEB BOARD / SHARE&CARE / KIDS CENTER / FAMILY / COMPOSITION / PRAY CENTER / BIBLE STUDY /ARTICLES /MALL CENTER / NEWS / PICTURES / CONTACT US / WEB LINKS / PRAISE&WORSHIP/ HOME