๑.
กำเนิดแห่งชีวิต
๒. อุดมคติแห่งชีวิต
๓. ปณิธานแห่งชีวิต
๔. ผลงานแห่งชีวิต
พุทธทาสรำลึก
โดย
อรศรี
งามวิทยาพงศ์
ก่อนกำเนิดสวนโมกข์
(๒๔๔๙-๒๔๗๔)
ตามรอยพระอรหันต์
(๒๔๗๕-๒๔๘๔)
ประกาศธรรมทุกทิศ
(๒๔๘๕-๒๕๐๔)
ประยุกต์ธรรมนำยุคสมัย
(๒๕๐๕-๒๕๒๔)
ธรรมะเพื่อสังคมและโลก(๒๕๒๕-๒๕๓๔)
สวนโมกข์วันนี้
สวนโมกข์ในอนาคต
พุทธทาสจักไม่ตาย
พุทธทาส จักอยู่ไป
ไม่มีตาย
แม้ร่างกายจะดับไปไม่ฟังเสียง
ร่างกายเป็น
ร่างกายไป ไม่ลำเอียง
นั่นเป็นเพียงสิ่งเปลี่ยนไปในเวลา
พุทธทาส คงอยู่ไป
ไม่มีตาย
ถึงดีร้ายก็จะอยู่คู่ศาสนา
สมกับมอบ กายใจ
รับใช้มา
ตามบัญชาองค์พระพุทธไม่หยุดเลย
พุทธทาส ยังอยู่ไป
ไม่มีตาย
อยู่รับใช้
เพื่อนมนุษย์ไม่หยุดเฉย
ด้วยธรรมโฆษณ์ตามที่วางไว้อย่างเคย
โอ้เพื่อนเอ๋ยมองเห็นไหมอะไรตายฯ
แม้ฉันตาย กายลับ
ไปหมดแล้ว
แต่เสียงสั่ง
ยังแจ้ว แว่วหูสหาย
ว่าเคยพลอดกันอย่างไรไม่เสื่อมคลาย
ก็เหมือนฉันไม่ตาย
กายธรรมยัง
ทำกับฉัน
อย่างกะฉัน นั้นไม่ตาย
ยังอยู่กับ
ท่านทั้งหลายอย่างหนหลัง
มีอะไรมาเขี่ยไค้
ให้กันฟัง
เหมือนฉันนั่ง
ร่วมด้วย ช่วยชี้แจง
ทำกับฉัน
อย่างกะฉัน ไม่ตายเถิด
ย่อมจะเกิด ผลสนอง
หลายแขนง
ทุกวันนัด สนทนา
อย่าเลิกแล้ง
ทำให้แจ้ง
ที่สุดได้ เลิกตายกันฯ
|
ประกาศธรรมทุกทิศ
(พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๕๐๕)
สำหรับในภาคอันเป็นบ้านเกิดนั้น
ท่านได้เคยตระเวณประกาศธรรมอย่างชนิดสมบุกสมบัน
โดยการเดินสายเทศน์ตาม
๑๔
จังหวัดภาคใต้
ใช้เวลานานถึงเดือนเศษ
เคยเดินทางตระเวณเทศน์ทั้งทางรถยนต์
เรือ รถไฟ
เรือบิน
บางครั้งที่รถไฟแน่นจนไม่มีที่นั่ง
ต้องขอนั่งไปในตู้บรรทุกสัตว์
และฉันอาหารในตู้ดังกล่าว
ท่านต้องแสดงธรรมทุกวันตลอดทั้งเดือน
และในบางครั้งต้องเทศน์ถึงวันละ
๕ ครั้ง
นอกจากการแสดงธรรมในเมืองไทยแล้ว
พุทธทาสภิกขุ
ยังเป็นตัวแทนของคณะสงฆ์ไทยไปปราศรัยแสดงธรรมในโอกาสฉัฎฐสังคายนา
ณ ประเทศพม่า
ด้วย ในปี
๒๔๗๙
ผลอันเกิดจากการมุ่งมั่นประกาศธรรม
โดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อยนี้
ได้ฝากผลงานที่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ชนร่วมสมัย
และแก่อนุชนรุ่นหลังไว้ด้วย
คือเกิดหนังสือเล่มสำคัญๆ
ที่ถอดเทปแล้วเรียบเรียงจากการปาฐกถาธรรมในที่ต่างๆ
หนังสือเหล่านี้บางเล่มเช่นหลักพุทธศาสนา
คู่มือมนุษย์
แก่นพุทธศาสน์
ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม
ฯลฯ
มีอิทธิพลถึงเปลี่ยนวิถีชีวิต
หรือแนวคิดของผู้อ่านไปอย่างน่าอัศจรรย์ทีเดียว
ดังที่ผู้เขียนเล่าอยู่หลายๆ
ครั้งในหนังสือต่างๆ
ช่วงเวลาเดียวกับการประกาศธรรมทุกทิศนี้
ฐานทัพแห่งธรรมที่สวนโมกข์
พุมเรียง
ก็โยกย้ายอยู่บริเวณใหม่ที่เรียกกันว่า
"ด่านน้ำไหล"
โดยเริ่มจากเนื้อที่
๙๐ ไร่
สถานที่ตั้งของสวนโมกข์แห่งใหม่นี้
ยังคงเป็นไปตามแนวคิดเดิม
คือใกล้ชิดกับธรรมชาติ
ให้ความรู้สึกอันสงบร่มรื่นแก่ผู้อาศัย
มีภูเขาพุทธทองอยู่ตรงกลาง
และอีกด้านติดเขานางเอ
อันอุดมด้วยต้นไม้และสัตว์นานาชนิด
นอกจากนี้ยังมีธารน้ำขนาดใหญ่ไหลผ่าน
จึงมีการตั้งชื่อครั้งจดทะเบียนอย่างเป็นทางการว่า
"วัดธารน้ำไหล"
แต่ชื่อที่ยังติดปากผู้คนไม่เสื่อมคลายคือ
"สวนโมกข์"
ผลจากการประกาศธรรมทุกทิศ
ทั้งโดยการเขียนและการพูด
ได้เชิญชวนให้ผู้คนสัมผัสแมกไม้ของป่า
และแสวงหากำลังแห่งการหลุดพ้นจากสถานที่แห่งนี้
จนต้องมีการขยายที่พักและจัดกิจกรรมต่างๆ
เพิ่มขึ้นด้วย
จากปีที่ย้ายมา
จนเวลาล่วงผ่านกึ่งพุทธกาล
(พ.ศ. ๒๕๐๐)
การเดินทางของผู้แสวงหาธรรมไม่เคยขาดสาย
เช่นเดียวกับการประกาศธรรม
ที่ยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
ตามปณิธานอันแรงกล้าของ
"พุทธทาสภิกขุ"
และตามคติของคณะธรรมทานที่ว่า
"การให้ธรรมเป็นทาน
ชนะการให้ทั้งปวง"
บทความ
โดย อรศรี
งามวิทยาพงศ์
จากหนังสืออนุทินภาพ
๖๐ ปี
สวนโมกข์ :
พฤษภาคม
๒๕๓๕
ลงตีพิมพ์ใหม่ในหนังสือ พุทธสาสนา
ปีที่ ๖๘ เล่ม ๒ พุทธศักราช
๒๕๔๓ |
|